หาดใหญ่ – สถาบันสิ่งทอฯ รุกสร้างองค์ความรู้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดสัมมนาถอดแนวคิดการออกแบบ “จากกูรูสู่ผู้ประกอบการ” หวังตอบโจทย์การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องของตลาดแฟชั่นมุสลิมคู่ขนานยุทธศาสตร์เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน
นายวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า โครงโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งนี้เป็นระยะที่ 4 ช่วงไตรมาส 3 มุ่งหวังพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถ คิดเองและทำเป็น โดยยึดหลักโคดีไซน์ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ผ่านการผสานความร่วมือระหว่างนักออกแบบชาวไทย มาเลเซีย และผู้ประกอบการในพื้นที่นำศักยภาพทั้งด้านการออกแบบและผลิต มาผสมผสานจนเกิดคอลเล็คชั่นใหม่ครั้งนี้
สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของผู้ประกอบการสิ่งทอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เห็นได้ชัดคือ ทักษะที่มีมากขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลถึงมั่นใจในตัวผลิตภัณท์ที่ผลิตว่าจะตรงใจและตรงต่อความต้องการของตลาด นำไปสู่การขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากนี้สถาบันฯเตรียมผลักดันผลิตภัณฑ์เหล่านี้บุกตลาดอาเซียนตามเป้าประสงค์ของโครงการ และยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคง สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน
นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบไทยระดับแนวหน้าของประเทศ ที่ชนะเลิศรางวัลยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดแฟชั่นระดับโลก MANGO Fashion Awards ณ ประเทศสเปน ปี 2012 เผยถึงทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นมุสลิมภายใต้แบรนด์ Lawa คอลเล็คชั่นใหม่ว่า การนำเสนอการออกแบบในเซ็ตนี้ใช้ชื่อว่า “REFLECTION OF THE SEA” ใช้แรงบันดาลใจจากการตกกระทบของแสงบนคลื่นทะเลในยามเย็น นำมาประยุกต์เข้ากับเทคนิคการมัดย้อม และการเขียนบาติก ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลวยลายสวยงาม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เน้นการโคดีไซน์ผ่านการทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริง จนถึงกระบวนการผลิตออกมาเป็นชิ้นงาน อีกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการเองจะต้องมีความกล้าที่จะลองผิดลองถูกด้วยการค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ที่ท้าทายมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นประตูไปสู่การผลิตสินค้าที่มีจุดเด่นไม่เหมือนใครในตลาด ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับการแข่งขันในกลุ่มอาเซียน ผู้ประกอบการของไทยถือได้ว่ามีความพร้อม แต่จำเป็นจะต้องดูทิศทางของตลาด เพื่อนำมากำหนดทิศทางการออกแบบและการผลิตให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นผสมผสานกับความมีอัตลักษ์ของท้องถิ่น สร้างความแตกต่าง และเป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป
ด้านนายศักดิ์จิระ เวียงเก่า หนึ่งในนักออกแบบสิ่งทอไทยที่ประสบความสำเร็จด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยด้วยว่า แรงบันดาลใจในการออกแบบเซ็ตนี้มาจาก “ลายลูกน้ำ” หรือ “ Paisley“ ซึ่งเป็นลายที่มีต้นกำเนินมาจากประเทศอินเดีย ดึงอัตลักษ์และความเชื่อจากผลมะม่วง ที่สะท้อนถึงความเจริญงอกงาม จากนั้นลาย เพรสลี่ ได้แพร่หลายไปสู่หลายประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่เอเชียเองก็นำลายเพรสลี่มาประยุกต์เข้ากับงานดีไซน์ ทำให้ทิศทางการออกแบบครั้งนี้ ได้นำลายเพรสลี่มากใช้โดยการผสมผสานกับเทคนิคหลากหลายรูปแบบที่ได้ฝึกอบรมและถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งเทคนิคแฮนด์เพนท์ บาติก และมัดย้อม ส่วนสีที่ใช้ในเซ็ตนี้เน้นความเรียบง่ายด้วยโทน “อินดิโก้” น้ำเงิน คราม ตัดกับสีขาวของผ้า สะท้อนถึงความสุภาพเรียบร้อย เข้าได้กับทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของทุกคน นอกจากนี้ในส่วนของวัตถุดิบยังเลือกใช้ ผ้าฝ้ายผสมไหม เพื่อให้เข้ากับคอลเล็คชั่นนี้ที่ต้องการให้ออกมาดูลำรอง ใส่แล้วรูสึกสบายนั่นเอง
“สิ่งสำคัญที่สถาบันฯมุ่งเน้นคือการออกแบบที่มีการผสมกลมกลืนระหว่างแนวคิดการออกแบบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสวยงามของธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สัมผัสกับนักออกแบบนานาชาติ สามารถเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านการทำงานและการออกแบบ นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น”
สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมฯ ได้ที่สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 พระโขนง คลองเตย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ 400 หรือเข้าไปที่ www.muslim-thti.org, www.thaitextile.org/muslim
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจัดสัมมนาถอดแนวคิดการออกแบบ “จากกูรูสู่ผู้ประกอบการ” ภายใต้โครงการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
หาดใหญ่ – สถาบันสิ่งทอฯ รุกสร้างองค์ความรู้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดสัมมนาถอดแนวคิดการออกแบบ “จากกูรูสู่ผู้ประกอบการ” หวังตอบโจทย์การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องของตลาดแฟชั่นมุสลิมคู่ขนานยุทธศาสตร์เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน
นายวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า โครงโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งนี้เป็นระยะที่ 4 ช่วงไตรมาส 3 มุ่งหวังพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถ คิดเองและทำเป็น โดยยึดหลักโคดีไซน์ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ผ่านการผสานความร่วมือระหว่างนักออกแบบชาวไทย มาเลเซีย และผู้ประกอบการในพื้นที่นำศักยภาพทั้งด้านการออกแบบและผลิต มาผสมผสานจนเกิดคอลเล็คชั่นใหม่ครั้งนี้
สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของผู้ประกอบการสิ่งทอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เห็นได้ชัดคือ ทักษะที่มีมากขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลถึงมั่นใจในตัวผลิตภัณท์ที่ผลิตว่าจะตรงใจและตรงต่อความต้องการของตลาด นำไปสู่การขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากนี้สถาบันฯเตรียมผลักดันผลิตภัณฑ์เหล่านี้บุกตลาดอาเซียนตามเป้าประสงค์ของโครงการ และยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคง สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน
นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบไทยระดับแนวหน้าของประเทศ ที่ชนะเลิศรางวัลยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดแฟชั่นระดับโลก MANGO Fashion Awards ณ ประเทศสเปน ปี 2012 เผยถึงทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นมุสลิมภายใต้แบรนด์ Lawa คอลเล็คชั่นใหม่ว่า การนำเสนอการออกแบบในเซ็ตนี้ใช้ชื่อว่า “REFLECTION OF THE SEA” ใช้แรงบันดาลใจจากการตกกระทบของแสงบนคลื่นทะเลในยามเย็น นำมาประยุกต์เข้ากับเทคนิคการมัดย้อม และการเขียนบาติก ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลวยลายสวยงาม โดยการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เน้นการโคดีไซน์ผ่านการทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้จริง จนถึงกระบวนการผลิตออกมาเป็นชิ้นงาน อีกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการเองจะต้องมีความกล้าที่จะลองผิดลองถูกด้วยการค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ที่ท้าทายมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นประตูไปสู่การผลิตสินค้าที่มีจุดเด่นไม่เหมือนใครในตลาด ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับการแข่งขันในกลุ่มอาเซียน ผู้ประกอบการของไทยถือได้ว่ามีความพร้อม แต่จำเป็นจะต้องดูทิศทางของตลาด เพื่อนำมากำหนดทิศทางการออกแบบและการผลิตให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นผสมผสานกับความมีอัตลักษ์ของท้องถิ่น สร้างความแตกต่าง และเป็นที่ต้องการของตลาดต่อไป
ด้านนายศักดิ์จิระ เวียงเก่า หนึ่งในนักออกแบบสิ่งทอไทยที่ประสบความสำเร็จด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยด้วยว่า แรงบันดาลใจในการออกแบบเซ็ตนี้มาจาก “ลายลูกน้ำ” หรือ “ Paisley“ ซึ่งเป็นลายที่มีต้นกำเนินมาจากประเทศอินเดีย ดึงอัตลักษ์และความเชื่อจากผลมะม่วง ที่สะท้อนถึงความเจริญงอกงาม จากนั้นลาย เพรสลี่ ได้แพร่หลายไปสู่หลายประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่เอเชียเองก็นำลายเพรสลี่มาประยุกต์เข้ากับงานดีไซน์ ทำให้ทิศทางการออกแบบครั้งนี้ ได้นำลายเพรสลี่มากใช้โดยการผสมผสานกับเทคนิคหลากหลายรูปแบบที่ได้ฝึกอบรมและถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งเทคนิคแฮนด์เพนท์ บาติก และมัดย้อม ส่วนสีที่ใช้ในเซ็ตนี้เน้นความเรียบง่ายด้วยโทน “อินดิโก้” น้ำเงิน คราม ตัดกับสีขาวของผ้า สะท้อนถึงความสุภาพเรียบร้อย เข้าได้กับทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของทุกคน นอกจากนี้ในส่วนของวัตถุดิบยังเลือกใช้ ผ้าฝ้ายผสมไหม เพื่อให้เข้ากับคอลเล็คชั่นนี้ที่ต้องการให้ออกมาดูลำรอง ใส่แล้วรูสึกสบายนั่นเอง
“สิ่งสำคัญที่สถาบันฯมุ่งเน้นคือการออกแบบที่มีการผสมกลมกลืนระหว่างแนวคิดการออกแบบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสวยงามของธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สัมผัสกับนักออกแบบนานาชาติ สามารถเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านการทำงานและการออกแบบ นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น”
สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมฯ ได้ที่สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 พระโขนง คลองเตย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2713 5492 – 9 ต่อ 400 หรือเข้าไปที่ www.muslim-thti.org, www.thaitextile.org/muslim
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024