ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุม กบง. ได้มีการพิจารณาวาระสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2559 พบว่า สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ระดับ 347 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 15 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในขณะที่ราคาต้นทุนในประเทศจากโรงแยกก๊าซฯ และ ปตท.สผ. อยู่ที่ 425 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน และ 428 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน หรือปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 11.94 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน และ 3.8964 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนเมษายนแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อน 0.1449 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ 35.2582 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.1196 บาท/กก. จากเดิม 14.0285 บาท/กก. เป็น 13.9089 บาท/กก.
อย่างไรก็ดี เนื่องจากราคาต้นทุนโดยรวมเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก และเพื่อลดภาระการชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ที่ประชุม กบง. จึงเห็นควรให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2559 ไว้ที่ 20.29 บาท/กก. โดยปรับลดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ลง 0.1196 บาท/กก. จากเดิมชดเชย 0.7095 บาท/กก. เป็นชดเชยอยู่ที่ 0.5899 บาท/กก. ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งผลจากการปรับลดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของก๊าซ LPG มีรายจ่ายอยู่ที่ 213 ล้านบาท/เดือน
นอกจากนี้ ที่ประชุม กบง. ยังได้มีการพิจารณาปรับแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง ในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Facilities) สำหรับนำมาใช้ภายในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดความล่าช้า ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน PDP 2015 ส่งผลให้ความต้องใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยที่ประชุม กบง. ได้เห็นชอบกรอบโครงการหลักภายใต้แผนฯ รวม 6 โครงการ โดย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายกำลังการแปรสภาพ LNG ของมาบตาพุด LNG Terminal และโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 ใน จ.ระยอง สำหรับรองรับการนำเข้า LNG ได้ปริมาณ 5 ล้านตัน/ปี วงเงินลงทุนรวมกว่า 37,000 ล้านบาท ให้นำเสนอต่อที่ประชุม กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป ส่วนที่เหลือ 4 โครงการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนก่อนนำกลับมาเสนอ กบง. และ กพช. อีกครั้ง
สำหรับท่านที่สนใจมติ กบง. ดังกล่าว สามารถ Download ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.eppo.go.th.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กบง. ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2559 ที่ 20.29 บาท/กก. พร้อมปรับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหาและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวเพิ่มขึ้น
ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุม กบง. ได้มีการพิจารณาวาระสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ โครงสร้างราคาก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2559 พบว่า สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) อยู่ที่ระดับ 347 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 15 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ในขณะที่ราคาต้นทุนในประเทศจากโรงแยกก๊าซฯ และ ปตท.สผ. อยู่ที่ 425 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน และ 428 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน หรือปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 11.94 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน และ 3.8964 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนเมษายนแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อน 0.1449 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ 35.2582 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (LPG Pool) ปรับลดลง 0.1196 บาท/กก. จากเดิม 14.0285 บาท/กก. เป็น 13.9089 บาท/กก.
อย่างไรก็ดี เนื่องจากราคาต้นทุนโดยรวมเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก และเพื่อลดภาระการชดเชยของกองทุนน้ำมันฯ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ที่ประชุม กบง. จึงเห็นควรให้คงราคาขายปลีกก๊าซ LPG เดือนพฤษภาคม 2559 ไว้ที่ 20.29 บาท/กก. โดยปรับลดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ลง 0.1196 บาท/กก. จากเดิมชดเชย 0.7095 บาท/กก. เป็นชดเชยอยู่ที่ 0.5899 บาท/กก. ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งผลจากการปรับลดอัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ดังกล่าว ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของก๊าซ LPG มีรายจ่ายอยู่ที่ 213 ล้านบาท/เดือน
นอกจากนี้ ที่ประชุม กบง. ยังได้มีการพิจารณาปรับแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง ในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหา/นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Facilities) สำหรับนำมาใช้ภายในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดความล่าช้า ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน PDP 2015 ส่งผลให้ความต้องใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยที่ประชุม กบง. ได้เห็นชอบกรอบโครงการหลักภายใต้แผนฯ รวม 6 โครงการ โดย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายกำลังการแปรสภาพ LNG ของมาบตาพุด LNG Terminal และโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 ใน จ.ระยอง สำหรับรองรับการนำเข้า LNG ได้ปริมาณ 5 ล้านตัน/ปี วงเงินลงทุนรวมกว่า 37,000 ล้านบาท ให้นำเสนอต่อที่ประชุม กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป ส่วนที่เหลือ 4 โครงการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนก่อนนำกลับมาเสนอ กบง. และ กพช. อีกครั้ง
สำหรับท่านที่สนใจมติ กบง. ดังกล่าว สามารถ Download ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.eppo.go.th.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024