สุดเจ๋ง นักศึกษาพัฒนาชุมชน มรภ.สงขลา โชว์ลีลานายหนังรุ่นใหม่ ชนะเลิศประกวดหนังตะลุงรณรงค์ป้องกันและแก้ไขยาเสพติด คว้าถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ นายจิตติกรณ์ บัวเพชร หรือ “ป้อ” นักศึกษาปี 3 โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วยคณะนักดนตรีในคณะหนังตะลุง ชายป้อ ประทุมศิลป์ คว้ารางวัลชนะเลิศประกวดหนังตะลุงรณรงค์ป้องกันและแก้ไขยาเสพติด ชิงถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ พร้อมรับเงินรางวัลกว่า 22,000 บาท จาก ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ณ วัดสว่างอารมณ์ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
นายจิตติกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2558 ตนได้รับรางวัลรองชนะเลิศประกวดหนังตะลุงจากรายการเดียวกัน และได้ลงประชันหนังตะลุงอีกครั้งในปีนี้ การแข่งขันแบ่งเป็นสองรอบ คือรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ จับฉลากว่าใครเล่นก่อนหลัง โดยมีนายหนังตะลุงเข้าร่วมแข่งขัน 4 คณะ ได้แก่ 1. หนังชายน้อย สุนทรศิลป์ จาก มรส. 2. หนังแบงค์ อ้ายลูกหมี จาก มรภ.นครศรีธรรมราช 3. หนังชายป้อ ประทุมศิลป์ จาก มรภ.สงขลา และ 4. หนังบูม พสุธา จาก ม.วลัยลักษณ์ ผลปรากฏว่านายหนังตะลุงที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ คือ หนังชายป้อและหนังแบงค์ ตนทำการแสดงหนังตะลุงในเรื่องเด็กเสเพล เป็นนิยายชีวิตของลูกผู้ชายคนหนึ่งที่เกิดมาในตระกูลอันสูงศักดิ์ แต่โชคชะตากลับเล่นตลกผลักดันให้ต้องพบกับความลำบากแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ต้องต่อสู้ดิ้นรนทุกรูปแบบเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ โดยตนได้พยายามสอดแทรกสิ่งที่อยู่ในเกณฑ์ของกรรมการทุกอย่าง
นายจิตติกรณ์ กล่าวว่า หลังจากแสดงเสร็จก็รอผลการตัดสิน เมื่อกรรมการโทรมาบอกว่าได้รับรางวัลชนะเลิศก็รู้สึกดีใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะทั้งชีวิตพยายามฝึกฝีมืออย่างหนักจนมีวันนี้ ถ้วยพระราชทานที่ได้มามีค่าสูงสุด และเป็นสิ่งเพิ่มกำลังใจให้แก่นายหนังตะลุงอย่างตน ซึ่งรางวัลที่ได้มาเป็นของทุกคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ หากไม่มีพ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ตนคงไม่มีวันนี้ ทุกคนคือผู้มีพระคุณ ซึ่งหลังจากเรียนจบปริญญาตรี คิดว่าจะยึดหนังตะลุงเป็นอาชีพรอง ไม่ทิ้งไปเด็ดขาด ต้องรักษาเอาไว้ สำหรับตนหนังตะลุงได้เข้าไปอยู่ในสายเลือด แม้ไม่ได้แสดงแต่ขอให้ได้จับตัวหนัง ได้ฟังหนังตะลุงก็มีความสุขแล้ว และหากมีผู้สนใจตนก็พร้อมจะถ่ายทอดหนังตะลุงให้ เพราะถือว่าได้มาอย่างไรก็ต้องถ่ายทอดอย่างนั้น
สำหรับเส้นทางการเข้าสู่วงการหนังตะลุง นายจิตติกรณ์ เริ่มหัดหนังตะลุงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ พ่อกับแม่พาไปเที่ยวงานวัด และทางวัดได้รับหนังตะลุงมาแสดง ในขณะที่เด็กคนอื่นอยากได้ของเล่น แต่เขากลับวิ่งไปดูหนังตะลุงอย่างเดียว พยายามทุกอย่างเพื่อจะดูหนังตะลุงให้ได้ เมื่อพ่อแม่พากลับบ้านก็ร้องจนหมดเสียงจนถึงบ้าน หลังจากนั้นเวลาพ่อพาไปไหนหากพบเห็นร้านขายรูปหนังตะลุง ก็รบเร้าจะซื้อให้ได้ ท่านก็เริ่มเดาออกว่าชอบหนังตะลุง และให้การสนับสนุนเรื่อยมา ซึ่งปกติการหัดหนังตะลุงต้องเริ่มจากครอบครัวมีเชื้อสายนายหนัง หรือคนในตระกูลเล่นหนังตะลุง แต่ครอบครัว นายจิตติกรณ์ ไม่มีใครเล่นหนังตะลุงเลย เมื่อพ่อเห็นว่าสนใจจริงจังจึงนำไปฝากกับศูนย์การเรียนรู้หนังตะลุงกลุ่มศรีวิชัย บ้านต้นตอ อ.ควนเนียง จ.สงขลา เป็นผู้เรียนที่อายุน้อยที่สุดในกลุ่ม และได้เริ่มหัดหนังตะลุงโดยมี หนังเศียร ตะลุงศิลป์ เป็นครูคนแรก หลังจากนั้นจึงหัดอย่างเอาจริงเอาจังกับ หนังวัน ควนเนียง และต่อมาได้ไปฝากตัวกับ หนังแต๋ว ศ.นครินทร์ ได้เรียนรู้จากท่านหลายอย่าง จนได้พบกับ หนังลูกหมี วงศ์ชู และได้ฝากตัวเป็นศิษย์
นายจิตติกรณ์ เริ่มแสดงหนังตะลุงสู่สายตาสาธารณชนเมื่อปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน โดยมีทีมงานลูกคู่อยู่เบื้องหลังคอยให้ความช่วยเหลือตลอดมา ผู้นำทีมงานคือ น้าโชว์ (นายประโชว์ บุญรอง) และลูกคู่เยาวชนคนควนเนียง ผ่านการแสดงมาหลายงาน แข่งขันมาหลายสนาม ไม่เคยชนะเลยสักครั้ง แต่ก็ไม่เคยท้อถอย ยังคงให้ความศรัทธากับคู่แข่งทุกคนว่าคือครูชั้นยอด ที่ช่วยขัดเกลาในสิ่งที่ผิดพลาดให้เด่นชัด ถึงแม้จะไม่บอกโดยตรง แต่สามารถเห็นข้อผิดพลาดได้ ทั้งอาจารย์หนัง ผู้ชมที่คอยเตือน คอยสอนทุกอย่าง จนตนมีวันนี้ได้ก็ด้วยท่านเหล่านี้ชี้แนะ.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นศ. มรภ.สงขลา ชนะเลิศประกวดหนังตะลุง คว้าถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ
สุดเจ๋ง นักศึกษาพัฒนาชุมชน มรภ.สงขลา โชว์ลีลานายหนังรุ่นใหม่ ชนะเลิศประกวดหนังตะลุงรณรงค์ป้องกันและแก้ไขยาเสพติด คว้าถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ นายจิตติกรณ์ บัวเพชร หรือ “ป้อ” นักศึกษาปี 3 โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วยคณะนักดนตรีในคณะหนังตะลุง ชายป้อ ประทุมศิลป์ คว้ารางวัลชนะเลิศประกวดหนังตะลุงรณรงค์ป้องกันและแก้ไขยาเสพติด ชิงถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ พร้อมรับเงินรางวัลกว่า 22,000 บาท จาก ผศ.ดร.ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ณ วัดสว่างอารมณ์ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
นายจิตติกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2558 ตนได้รับรางวัลรองชนะเลิศประกวดหนังตะลุงจากรายการเดียวกัน และได้ลงประชันหนังตะลุงอีกครั้งในปีนี้ การแข่งขันแบ่งเป็นสองรอบ คือรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ จับฉลากว่าใครเล่นก่อนหลัง โดยมีนายหนังตะลุงเข้าร่วมแข่งขัน 4 คณะ ได้แก่ 1. หนังชายน้อย สุนทรศิลป์ จาก มรส. 2. หนังแบงค์ อ้ายลูกหมี จาก มรภ.นครศรีธรรมราช 3. หนังชายป้อ ประทุมศิลป์ จาก มรภ.สงขลา และ 4. หนังบูม พสุธา จาก ม.วลัยลักษณ์ ผลปรากฏว่านายหนังตะลุงที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ คือ หนังชายป้อและหนังแบงค์ ตนทำการแสดงหนังตะลุงในเรื่องเด็กเสเพล เป็นนิยายชีวิตของลูกผู้ชายคนหนึ่งที่เกิดมาในตระกูลอันสูงศักดิ์ แต่โชคชะตากลับเล่นตลกผลักดันให้ต้องพบกับความลำบากแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ต้องต่อสู้ดิ้นรนทุกรูปแบบเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ โดยตนได้พยายามสอดแทรกสิ่งที่อยู่ในเกณฑ์ของกรรมการทุกอย่าง
นายจิตติกรณ์ กล่าวว่า หลังจากแสดงเสร็จก็รอผลการตัดสิน เมื่อกรรมการโทรมาบอกว่าได้รับรางวัลชนะเลิศก็รู้สึกดีใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะทั้งชีวิตพยายามฝึกฝีมืออย่างหนักจนมีวันนี้ ถ้วยพระราชทานที่ได้มามีค่าสูงสุด และเป็นสิ่งเพิ่มกำลังใจให้แก่นายหนังตะลุงอย่างตน ซึ่งรางวัลที่ได้มาเป็นของทุกคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ หากไม่มีพ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ตนคงไม่มีวันนี้ ทุกคนคือผู้มีพระคุณ ซึ่งหลังจากเรียนจบปริญญาตรี คิดว่าจะยึดหนังตะลุงเป็นอาชีพรอง ไม่ทิ้งไปเด็ดขาด ต้องรักษาเอาไว้ สำหรับตนหนังตะลุงได้เข้าไปอยู่ในสายเลือด แม้ไม่ได้แสดงแต่ขอให้ได้จับตัวหนัง ได้ฟังหนังตะลุงก็มีความสุขแล้ว และหากมีผู้สนใจตนก็พร้อมจะถ่ายทอดหนังตะลุงให้ เพราะถือว่าได้มาอย่างไรก็ต้องถ่ายทอดอย่างนั้น
สำหรับเส้นทางการเข้าสู่วงการหนังตะลุง นายจิตติกรณ์ เริ่มหัดหนังตะลุงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ พ่อกับแม่พาไปเที่ยวงานวัด และทางวัดได้รับหนังตะลุงมาแสดง ในขณะที่เด็กคนอื่นอยากได้ของเล่น แต่เขากลับวิ่งไปดูหนังตะลุงอย่างเดียว พยายามทุกอย่างเพื่อจะดูหนังตะลุงให้ได้ เมื่อพ่อแม่พากลับบ้านก็ร้องจนหมดเสียงจนถึงบ้าน หลังจากนั้นเวลาพ่อพาไปไหนหากพบเห็นร้านขายรูปหนังตะลุง ก็รบเร้าจะซื้อให้ได้ ท่านก็เริ่มเดาออกว่าชอบหนังตะลุง และให้การสนับสนุนเรื่อยมา ซึ่งปกติการหัดหนังตะลุงต้องเริ่มจากครอบครัวมีเชื้อสายนายหนัง หรือคนในตระกูลเล่นหนังตะลุง แต่ครอบครัว นายจิตติกรณ์ ไม่มีใครเล่นหนังตะลุงเลย เมื่อพ่อเห็นว่าสนใจจริงจังจึงนำไปฝากกับศูนย์การเรียนรู้หนังตะลุงกลุ่มศรีวิชัย บ้านต้นตอ อ.ควนเนียง จ.สงขลา เป็นผู้เรียนที่อายุน้อยที่สุดในกลุ่ม และได้เริ่มหัดหนังตะลุงโดยมี หนังเศียร ตะลุงศิลป์ เป็นครูคนแรก หลังจากนั้นจึงหัดอย่างเอาจริงเอาจังกับ หนังวัน ควนเนียง และต่อมาได้ไปฝากตัวกับ หนังแต๋ว ศ.นครินทร์ ได้เรียนรู้จากท่านหลายอย่าง จนได้พบกับ หนังลูกหมี วงศ์ชู และได้ฝากตัวเป็นศิษย์
นายจิตติกรณ์ เริ่มแสดงหนังตะลุงสู่สายตาสาธารณชนเมื่อปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน โดยมีทีมงานลูกคู่อยู่เบื้องหลังคอยให้ความช่วยเหลือตลอดมา ผู้นำทีมงานคือ น้าโชว์ (นายประโชว์ บุญรอง) และลูกคู่เยาวชนคนควนเนียง ผ่านการแสดงมาหลายงาน แข่งขันมาหลายสนาม ไม่เคยชนะเลยสักครั้ง แต่ก็ไม่เคยท้อถอย ยังคงให้ความศรัทธากับคู่แข่งทุกคนว่าคือครูชั้นยอด ที่ช่วยขัดเกลาในสิ่งที่ผิดพลาดให้เด่นชัด ถึงแม้จะไม่บอกโดยตรง แต่สามารถเห็นข้อผิดพลาดได้ ทั้งอาจารย์หนัง ผู้ชมที่คอยเตือน คอยสอนทุกอย่าง จนตนมีวันนี้ได้ก็ด้วยท่านเหล่านี้ชี้แนะ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024