สถาบันฯสิ่งทอ เดินหน้าโครงการมุสลิมปี 59 พาผู้ประกอบการเยือนแดนอาทิตย์อุทัย หาเทคนิคใหม่ แนวทางต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่อาเซียน
เมื่อวันที่ 16 – 22 พฤศจิกายน 2558 ณ ประเทศญี่ปุ่น สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Thailand Textile Institute) เดินหน้าโครงการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2559 นำผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เยี่ยมชม แหล่งผลิต ย้อม แปรรูป และตลาดผ้าที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น หวังผู้ประกอบการเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ พร้อมดึงความโดดเด่นจากพลังของการดีไซน์และการสร้างสรรค์แบบญี่ปุ่น นำกลับมาประยุกต์ใช้และพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมให้เกิดความแตกต่างเป็นที่ตองการของตลาดในอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการดูงานครั้งนี้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้นำตัวแทนผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เข้าเยี่ยมชมโรงงาน Sangetsu และ โรงงานย้อมสีผ้า โรงงาน Kitayama Dyeing Honzome พร้อมรับฟังการบรรยายจาก Mr. Komatsu ช่างฝีมือโรงงาน Kyowa และ Mr. Fukuda เจ้าหน้าที่ สมาคมทอผ้าและย้อมสี จังหวัด Osaka ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้เห็นถึงเทคนิคและกรรมวิธีในการทอ มัด ย้อม ตามแบบฉบับญี่ปุ่น ที่มีประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ในการผลิตผ้าชั้นดีมาตั้งแต่ กิโมโน รวมไปถึงเทคนิคต่างๆที่สั่งสมกันมา นับ100 ปี ทำให้ผืนผ้าที่ได้มีความเป็นเอกลักษณ์และแฝงไปด้วยคุณภาพมาอย่างยาวนานทั้งยังโดดเด่นและโด่งดังไปทั่วโลก
นอกจากนี้สถาบันฯสิ่งทอ ยังได้นำตัวแทนผู้ประกอบการในโครงการฯ ร่วมศึกษาดูตัวอย่างสินค้า วัตถุดิบ ในการนำมาประยุกต์ใช้กับ Collection ใหม่ ของ Lawa@THTI 2016 ณ ย่าน Nippori เมืองโตเกียว ซึ่งถือเป็นแหล่งจำหน่ายผ้า และของตกแต่ง ขึ้นชื่อของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
การจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นการขับเคลื่อนโครงการมุสลิมปี 59 อย่างเข้มข้นอีกหนึ่งกิจกรรม พร้อมกันนี้ทางสถาบันฯ ยังได้ประเดิมจัดสัมมนา “แนวทางต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่อาเซียน” เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่ามา ณ โรงแรม ซี เอส อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมสู่ตลาดอาเซียน” นอกจากนี้ภายในงานสัมนา ยังมีการบรรยายที่เต็มไปด้วยข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประกอบไปด้วย “ถอดรหัสแนวโน้มแฟชั่นภายใต้ แนวคิด Well Being 2016/2017 (แนวโน้มเทรนด์ สีแนวทางการออกแบบ Inspiration) โดย คุณวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, “มาตรฐานสินค้าสู่ตลาดอาเซียน” โดย คุณสนั่น บุญลา ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ Co-design แนวโน้มการออกแบบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC โดย นายวิชรวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบมืออาชีพ ซึ่งการสัมมนาที่จัดขึ้นได้รับการตอบจับจากกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนใต้กว่า 105 ท่าน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สถาบันฯสิ่งทอ พาผู้ประกอบการเยือนแดนอาทิตย์อุทัย ค้นหาแรงบันดาลใจการอุตสาหกรรมสิ่งทอญี่ปุ่น
สถาบันฯสิ่งทอ เดินหน้าโครงการมุสลิมปี 59 พาผู้ประกอบการเยือนแดนอาทิตย์อุทัย หาเทคนิคใหม่ แนวทางต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่อาเซียน
เมื่อวันที่ 16 – 22 พฤศจิกายน 2558 ณ ประเทศญี่ปุ่น สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Thailand Textile Institute) เดินหน้าโครงการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2559 นำผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เยี่ยมชม แหล่งผลิต ย้อม แปรรูป และตลาดผ้าที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น หวังผู้ประกอบการเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ พร้อมดึงความโดดเด่นจากพลังของการดีไซน์และการสร้างสรรค์แบบญี่ปุ่น นำกลับมาประยุกต์ใช้และพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมให้เกิดความแตกต่างเป็นที่ตองการของตลาดในอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการดูงานครั้งนี้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้นำตัวแทนผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เข้าเยี่ยมชมโรงงาน Sangetsu และ โรงงานย้อมสีผ้า โรงงาน Kitayama Dyeing Honzome พร้อมรับฟังการบรรยายจาก Mr. Komatsu ช่างฝีมือโรงงาน Kyowa และ Mr. Fukuda เจ้าหน้าที่ สมาคมทอผ้าและย้อมสี จังหวัด Osaka ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้เห็นถึงเทคนิคและกรรมวิธีในการทอ มัด ย้อม ตามแบบฉบับญี่ปุ่น ที่มีประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ในการผลิตผ้าชั้นดีมาตั้งแต่ กิโมโน รวมไปถึงเทคนิคต่างๆที่สั่งสมกันมา นับ100 ปี ทำให้ผืนผ้าที่ได้มีความเป็นเอกลักษณ์และแฝงไปด้วยคุณภาพมาอย่างยาวนานทั้งยังโดดเด่นและโด่งดังไปทั่วโลก
นอกจากนี้สถาบันฯสิ่งทอ ยังได้นำตัวแทนผู้ประกอบการในโครงการฯ ร่วมศึกษาดูตัวอย่างสินค้า วัตถุดิบ ในการนำมาประยุกต์ใช้กับ Collection ใหม่ ของ Lawa@THTI 2016 ณ ย่าน Nippori เมืองโตเกียว ซึ่งถือเป็นแหล่งจำหน่ายผ้า และของตกแต่ง ขึ้นชื่อของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
การจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นการขับเคลื่อนโครงการมุสลิมปี 59 อย่างเข้มข้นอีกหนึ่งกิจกรรม พร้อมกันนี้ทางสถาบันฯ ยังได้ประเดิมจัดสัมมนา “แนวทางต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่อาเซียน” เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่ามา ณ โรงแรม ซี เอส อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมสู่ตลาดอาเซียน” นอกจากนี้ภายในงานสัมนา ยังมีการบรรยายที่เต็มไปด้วยข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประกอบไปด้วย “ถอดรหัสแนวโน้มแฟชั่นภายใต้ แนวคิด Well Being 2016/2017 (แนวโน้มเทรนด์ สีแนวทางการออกแบบ Inspiration) โดย คุณวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, “มาตรฐานสินค้าสู่ตลาดอาเซียน” โดย คุณสนั่น บุญลา ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ Co-design แนวโน้มการออกแบบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC โดย นายวิชรวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบมืออาชีพ ซึ่งการสัมมนาที่จัดขึ้นได้รับการตอบจับจากกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมใน 5 จังหวัดชายแดนใต้กว่า 105 ท่าน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024