เมื่อระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2559 ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดโครงการเพิ่มมูลค่ายางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยมีทั้งกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achieve Motivation Training : AMT) ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม/วิสาหกิจชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญ, กิจกรรม “การสร้างเครือข่ายกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา และการหารือเพื่อสร้างเครือข่ายในพื้นที่” และการบรรยายพิเศษ นวัตกรรมยาง : สร้างได้อย่างไร จากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากยางพารา พร้อมทั้งยังมีการแถลงข่าวความคืบหน้าของการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อให้สาธารณะชนได้รับรู้ และลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ ระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอีกด้วย พิธีเปิดงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าว โดยมี รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ
นายสุรชัย กลางพระเนตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราต้นแบบ การพัฒนาบุคลากร และสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ได้ดำเนินโครงการร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี และยะลา ภายใต้โครงการดังกล่าวมีกิจกรรมย่อยจำนวน 28 กิจการ แยกเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 14 กิจการ และวิสาหกิจชุมชน 14 กิจการ เป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราต้นแบบที่สามารถต่อยอดผลิตเชิงพาณิชย์ได้ สามารถลดต้นทุน หรือลดของเสีย หรือเพิ่มยอดขาย รวมทั้งเกิดเครือข่ายอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางที่เข้มแข็งในพื้นที่ สามารถขยายผลเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายางพาราของประเทศในพื้นที่อื่น ๆ ได้ต่อไปในอนาคต
การจัดงานดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานจากผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดต่าง ๆ อุตสาหกรรมจังหวัดต่าง ๆ ผู้บริหารหน่วยงาน/สมาคมต่าง ๆ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางในพื้นที่ เป็นต้น.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินโครงการการเพิ่มมูลค่ายางและผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายางพาราของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล”
เมื่อระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2559 ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดโครงการเพิ่มมูลค่ายางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยมีทั้งกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achieve Motivation Training : AMT) ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม/วิสาหกิจชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญ, กิจกรรม “การสร้างเครือข่ายกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา และการหารือเพื่อสร้างเครือข่ายในพื้นที่” และการบรรยายพิเศษ นวัตกรรมยาง : สร้างได้อย่างไร จากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากยางพารา พร้อมทั้งยังมีการแถลงข่าวความคืบหน้าของการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อให้สาธารณะชนได้รับรู้ และลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ ระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอีกด้วย พิธีเปิดงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าว โดยมี รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ
นายสุรชัย กลางพระเนตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราต้นแบบ การพัฒนาบุคลากร และสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ได้ดำเนินโครงการร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี และยะลา ภายใต้โครงการดังกล่าวมีกิจกรรมย่อยจำนวน 28 กิจการ แยกเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 14 กิจการ และวิสาหกิจชุมชน 14 กิจการ เป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราต้นแบบที่สามารถต่อยอดผลิตเชิงพาณิชย์ได้ สามารถลดต้นทุน หรือลดของเสีย หรือเพิ่มยอดขาย รวมทั้งเกิดเครือข่ายอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางที่เข้มแข็งในพื้นที่ สามารถขยายผลเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายางพาราของประเทศในพื้นที่อื่น ๆ ได้ต่อไปในอนาคต
การจัดงานดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานจากผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดต่าง ๆ อุตสาหกรรมจังหวัดต่าง ๆ ผู้บริหารหน่วยงาน/สมาคมต่าง ๆ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางในพื้นที่ เป็นต้น.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024