วันนี้ที่ห้องประชุมวิเศษชัยชาญ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อ.เมือง จ.อ่างทอง นายขจรชัย วัฒนาประยูร รอง ผวจ.อ่างทอง พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหาแนวทางการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทั้งด้านการเกษตรกรรมและการอุปโภค-บริโภค โดยได้ทำแผนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้ 5 ด้านประกอบไปด้วยการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภค การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร การป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดในฤดูแล้ง การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า การจัดการสถานการณ์ช่วงฤดูแล้ง
สถานการณ์น้ำเพื่อการเกษตร ด้วยจากปัญหาภัยแล้งในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ซึ่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมของจังหวัดอ่างทอง เริ่มเกิดความขาดแคลนเนื่องจากไม่มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาในพื้นที่ และจากแผนการจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของกรมชลประทานที่ได้วางไว้ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรที่ใช้น้ำมาก และได้มีการประชาสัมพันธ์ขอให้เกษตรกรเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทน วางแผนการใช้น้ำทั้งสำหรับการอุปโภค-บริโภค และใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่าให้มากที่สุด การสร้างรายได้จากอาชีพอื่นนอกจากการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร โดยในปัจจุบันจังหวัดอ่างทองมีการเพาะปลูกข้าวที่ยังยืนต้นอยู่ พื้นที่ประมาณ 21,490 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.75% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในจังหวัดอ่างทอง (373,482 ไร่) ทั้งนี้ โดยเกษตรกรได้ใช้น้ำจากบ่อบาดาล และแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่ต้นข้าวจะยืนต้นตายได้ เพราะมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น
ส่วนการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรกรรม เสร็จแล้ว 108 บ่อ และบ่อบาดาลอยู่ในระหว่างดำเนินการอีก 199 บ่อ พร้อมกันนั้นยังสำรวจถึงความต้องการบ่อบาดาลเพิ่มอีก 157 บ่อ
สถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค แบ่งเป็นพื้นที่การให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอ่างทอง ทั้งหมด 15,930 ครัวเรือน และพื้นที่ไม่มีบริการน้ำประปาส่วนภูมิภาค(ระบบประปาหมู่บ้านจากแหล่งน้ำบ่อบาดาล)ทั้งสิ้น 47,636 ครัวเรือน ส่วนประชาชนที่อยู่นอกเขตของประปาส่วนภูมิภาคและห่างไกลจากประปาหมู่บ้าน การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอ่างทอง ได้สนับสนุนน้ำประปาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปแจกจ่ายประชาชนตามที่ร้องขอแล้ว 20,298,000 ลิตร
นายขจรชัย กล่าวว่าวันนี้เป็นครั้งแรกของการเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดอ่างทอง เป็นครั้งแรกโดยระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน ที่ขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรกรรมและการอุปโภค-บริโภค พร้อมสั่งการในที่ประชุมให้สำรวจบ่อน้ำบาดาลเก่าที่ไม่ได้ใช้ทำการเป่าล้างเพื่อนำน้ำใต้ดินออกมาใช้อีกด้วย.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
จังหวัดอ่างทองเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
วันนี้ที่ห้องประชุมวิเศษชัยชาญ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อ.เมือง จ.อ่างทอง นายขจรชัย วัฒนาประยูร รอง ผวจ.อ่างทอง พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหาแนวทางการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทั้งด้านการเกษตรกรรมและการอุปโภค-บริโภค โดยได้ทำแผนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้ 5 ด้านประกอบไปด้วยการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภค การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร การป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดในฤดูแล้ง การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า การจัดการสถานการณ์ช่วงฤดูแล้ง
สถานการณ์น้ำเพื่อการเกษตร ด้วยจากปัญหาภัยแล้งในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ซึ่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมของจังหวัดอ่างทอง เริ่มเกิดความขาดแคลนเนื่องจากไม่มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาในพื้นที่ และจากแผนการจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของกรมชลประทานที่ได้วางไว้ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรที่ใช้น้ำมาก และได้มีการประชาสัมพันธ์ขอให้เกษตรกรเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทน วางแผนการใช้น้ำทั้งสำหรับการอุปโภค-บริโภค และใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่าให้มากที่สุด การสร้างรายได้จากอาชีพอื่นนอกจากการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร โดยในปัจจุบันจังหวัดอ่างทองมีการเพาะปลูกข้าวที่ยังยืนต้นอยู่ พื้นที่ประมาณ 21,490 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.75% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในจังหวัดอ่างทอง (373,482 ไร่) ทั้งนี้ โดยเกษตรกรได้ใช้น้ำจากบ่อบาดาล และแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่ต้นข้าวจะยืนต้นตายได้ เพราะมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น
ส่วนการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรกรรม เสร็จแล้ว 108 บ่อ และบ่อบาดาลอยู่ในระหว่างดำเนินการอีก 199 บ่อ พร้อมกันนั้นยังสำรวจถึงความต้องการบ่อบาดาลเพิ่มอีก 157 บ่อ
สถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค แบ่งเป็นพื้นที่การให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอ่างทอง ทั้งหมด 15,930 ครัวเรือน และพื้นที่ไม่มีบริการน้ำประปาส่วนภูมิภาค(ระบบประปาหมู่บ้านจากแหล่งน้ำบ่อบาดาล)ทั้งสิ้น 47,636 ครัวเรือน ส่วนประชาชนที่อยู่นอกเขตของประปาส่วนภูมิภาคและห่างไกลจากประปาหมู่บ้าน การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอ่างทอง ได้สนับสนุนน้ำประปาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปแจกจ่ายประชาชนตามที่ร้องขอแล้ว 20,298,000 ลิตร
นายขจรชัย กล่าวว่าวันนี้เป็นครั้งแรกของการเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดอ่างทอง เป็นครั้งแรกโดยระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน ที่ขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรกรรมและการอุปโภค-บริโภค พร้อมสั่งการในที่ประชุมให้สำรวจบ่อน้ำบาดาลเก่าที่ไม่ได้ใช้ทำการเป่าล้างเพื่อนำน้ำใต้ดินออกมาใช้อีกด้วย.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024