กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง ASEAN – US Cooperation Project on KCS ระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมโกลเด้นบีช อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงพัฒนาร่างแผนระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน 18 ด้าน ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัยน่าอยู่ รู้รับ ปรับตัว ฟื้นกลับจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว
นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก การจัดการในภาวะฉุกเฉินที่เป็นระบบและมีเอกภาพถือเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยปกป้องชีวิต และลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ขับเคลื่อนกลไกการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2559 โดยจัดตั้งองค์กรปฏิบัติการตามระดับการจัดการสาธารณภัย และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกด้าน ในการนี้ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) เพื่อเปนเวทีในการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน และเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปฏิบัติให้สามารถรองรับสาธารณภัยได้ตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมทุกประเภทภัยและทุกระดับการจัดการ เพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัย น่าอยู่ รู้รับ ปรับตัว ฟื้นกลับจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565 “ประเทศไทยมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ประชาคมยั่งยืน”
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ได้กำหนดแนวทางการสร้างมาตรฐานการจัดการภาวะในภาวะฉุกเฉิน โดยจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) และขนาดร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ 4) รวมถึงกำหนดให้พัฒนาระบบและเครื่องมือสนับสนุนการเผชิญเหตุ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน : สปฉ. (Emergency Support Function : ESF) ดังนั้นกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) ระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2559 ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง ASEAN – US Cooperation Project on KCS ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศนำร่องที่นำระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการสาธารณภัย โดยผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำนวน 36 หน่วยงาน บุคลากรในสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ การประชุมฯ ดังกล่าวมุ่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน ทั้งการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน และระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงพัฒนาร่างแผนระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน 18 ด้าน ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนวาระสำคัญของรัฐบาล “ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thalland)”.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ปภ.พัฒนาระบบการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) สร้างประเทศไทยปลอดภัยยั่งยืน
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง ASEAN – US Cooperation Project on KCS ระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมโกลเด้นบีช อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงพัฒนาร่างแผนระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน 18 ด้าน ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัยน่าอยู่ รู้รับ ปรับตัว ฟื้นกลับจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว
นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก การจัดการในภาวะฉุกเฉินที่เป็นระบบและมีเอกภาพถือเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยปกป้องชีวิต และลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ขับเคลื่อนกลไกการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2559 โดยจัดตั้งองค์กรปฏิบัติการตามระดับการจัดการสาธารณภัย และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกด้าน ในการนี้ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) เพื่อเปนเวทีในการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน และเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปฏิบัติให้สามารถรองรับสาธารณภัยได้ตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมทุกประเภทภัยและทุกระดับการจัดการ เพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัย น่าอยู่ รู้รับ ปรับตัว ฟื้นกลับจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565 “ประเทศไทยมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ประชาคมยั่งยืน”
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ได้กำหนดแนวทางการสร้างมาตรฐานการจัดการภาวะในภาวะฉุกเฉิน โดยจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) และขนาดร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ 4) รวมถึงกำหนดให้พัฒนาระบบและเครื่องมือสนับสนุนการเผชิญเหตุ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน : สปฉ. (Emergency Support Function : ESF) ดังนั้นกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) ระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2559 ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง ASEAN – US Cooperation Project on KCS ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศนำร่องที่นำระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) มาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการสาธารณภัย โดยผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำนวน 36 หน่วยงาน บุคลากรในสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ การประชุมฯ ดังกล่าวมุ่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน ทั้งการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน และระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงพัฒนาร่างแผนระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน 18 ด้าน ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนวาระสำคัญของรัฐบาล “ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thalland)”.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024