1. สภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงในปัจจุบัน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีพื้นที่ปฏิบัติการ 2 แห่ง คือ 1. พื้นที่ตำบลบ้านพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ประมาณ 2,900 ไร่ มีคณะหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน 4 คณะได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน และคณะนิติศาสตร์ มีนักศึกษาทั้งหมด 2,932 คน และบุคลลากรทั้งหมดประมาณ 395 คน (ข้อมูลปี 2558) หน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ได้แก่ สำนักหอสมุด สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มีหน่วยงานสนับสนุนบริหาร ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิทยาเขตพัทลุง ฝ่ายกิจการนิสิตวิทยาเขตพัทลุง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา ฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน และฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล ทั้ง 3 ฝ่ายนี้ มีพื้นที่ทำการอยู่ทั้ง 2 วิทยาเขต
2. พื้นที่ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 185 ไร่ ปัจจุบันได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งสร้างกระบวนทัศน์ในการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาชุมชน บูรณาการด้วยองค์ความรู้หลากหลายเพื่อเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้โดยให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
2 สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยทักฺษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2.1) การขอใช้พื้นที่ กรณีถูกคืนพื้นที่ให้กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เมื่อนำไปออกเอกสารสิทธิ์ ส.ปก. 4-01 ให้กับราษฎร์ผู้ครอบครองเดิม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ก่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชนไปแล้ว ต่อมามหาวิทยาลัยได้ไปทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวตามหนังสือขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค และกิจการอื่น ๆ ในเขตปฏิรูปที่ดินตามเลขที่ 50/2555 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องรื้อถอนออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งมอบที่ดินให้กับผู้ครอบครองเดิม ในขณะนี้มหาวิทยาลัยยังไม่ได้รื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพราะยังไม่สามารถหาที่ดินที่จะปลูกสร้างใหม่ได้
ในกรณีนี้มีปัญหาว่าตอนที่ก่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการตรวจสอบเขตที่ดินกับสำนักงานที่ดินจังหวัดพัทลุง หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุงหรือไม่ เมื่อมีการตรวจสอบแล้วและเกิดปัญหาดังกล่าว ถามว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบและงบประมาณแผ่นดินที่ลงทุนก่อสร้างไป เกิดการสูญเปล่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบและมีข้อสังเกตว่า มีบุคคลภายในมหาวิทยาลัยเอง มีผลประโยชน์ร่วมหรือไม่ เพราะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่กันไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของหมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนา ต้องกลายเป็นพื้นที่ได้รับการออกเอกสารสิทธิ์ด้วย ดังรูปที่ 1-6
รูปที่ 2 บริเวณโรงเรือนปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 3 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 4 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 5 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 6 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
2.2 ปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทักษิณในวิทยาเขตพัทลุง มีปัญหามาตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ที่เห็นว่ามีปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดมีดังนี้ 1) ภายในมหาวิทยาลัยเกิดหลุมบ่อขึ้นตามอาคารเกือบทุกอาคาร การขุดสระน้ำเหล่านี้เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างถมที่ทับซ้อนกับสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารต่าง ๆหรือไม่หรือมีการทำสัญญาใหม่ขึ้นมาหรือไม่ การยินยอมให้ผู้รับเหมาใช้ดินบริเวณใกล้อาคารหรือใช้ดินภายในมหาวิทยาลัยมาถมที่บริเวณก่อสร้างใครเป็นผู้อนุญาต ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์และสัญญางานถมที่ทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยจัดจ้างสูงเกินจริงหรือไม่ เพราะทั้งหมดไม่เคยซื้อดินจากภายนอกเลย ใช้ขุดดินในมหาวิทยาลัยตลอด ดังรูปที่ 7-12
รูปที่ 7 สระน้ำบริเวณใกล้หอพักบุคลากร
รูปที่ 8 สระน้ำบริเวณหลังหอพักนิสิตหญิง
รูปที่ 9 สระน้ำบริเวณระหว่างหอพักบุคลากรกับหอพักนิสิตหญิง
รูปที่ 10 สระน้ำบริเวณหลังหอพักนิสิตชาย
รูปที่ 11 สระน้ำบริเวณหลังอาคารหอประชุมกลาง
รูปที่ 12 สระน้ำบริเวณข้างอาคารบริหารกลาง
2) มีสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 3 รายการ นับตั้งแต่ก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบันที่ไม่สามารถใช้งานได้เลยหรือไม่ได้ใช้งาน คือ 1. บ้านพักอธิการบดีและรองอธิการบดี 2. เครื่องบำบัดน้ำเสีย 3. รั้วบริเวณหน้ามหาวิทยาลัย ไม่ทราบว่ามีความผิดในขั้นตอนการออกแบบ หรือตอนตรวจรับงานหรือยังไม่จำเป็นต้องใช้งาน หรือมีปัญหาบางประการก็ไม่ทราบ ดังรูปที่ 13-15
รูปที่ 13 บ้านพักอธิการบดีและรองอธิการบดี
รูปที่ 14 เครื่องบำบัดน้ำเสีย
รูปที่ 15 รั้วหน้าบริเวณมหาวิทยาลัย
3) เรื่องผู้รับเหมาละทิ้งงาน ในขณะนี้ผู้รับเหมาละทิ้งงานอยู่ 1 รายการ คือ อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชนซึ่งดำเนินการก่อสร้างมาประมาณ7-8 ปีแล้ว ปัญหาการละทิ้งงานไม่ทราบว่าเกิดการเบิกจ่ายเงินงวดให้ผู้รับเหมาล่าช้าหรือไม่ การตรวจรับงานแต่ละงวดมีปัญหาหรือไม่ ล่าช้าหรือเปล่า หรือระบบการควบคุมงานจ้างมีปัญหากับผู้รับจ้างหรือไม่ ดังรูปที่ 16-17
รูปที่ 16 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน (ด้านหน้า)
รูปที่ 17 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ด้านข้าง)
4) ปัญหาการก่อสร้างอาคารที่ล่าช้ากว่ากำหนดคือ อาคารสัมมนาคาร ซึ่งก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี แล้ว ก่อสร้างยังไม่เสร็จตามกำหนดมีการหยุดการก่อสร้างระยะหนึ่ง(รูปที่ 18)ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุผลใด ตอนหลังมีการต่อเติมอาคารใหม่ (รูปที่ 19) แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จดังรูป 18-19
รูปที่ 18 อาคารสัมมนาคาร
รูปที่ 19 อาคารสัมมนาคาร
3. แนวทางการแก้ปัญหา
1) มีการยื่นร้องเรียนความผิดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ(รศ.ดร. สมเกียรติ สายธนู )ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สาขาสงขลา (ป.ป.ช.สงขลา) เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 ผลปรากฏว่า ป.ป.ช.สงขลายังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการมายังผู้ร้องเรียนแต่ประการใดจนถึงปัจจุบันนี้ 2. มีการยื่นร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงว่าการศึกษาธิการ(นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556 ข้อร้องเรียนดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องการขอใช้ที่ดิน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 2. พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องคณะกรรมการประจำวิทยาเขต โดยขอให้มีคณะกรรมการประจำวิทยาเขตประเภทผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดพัทลุงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง 3. ให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการสรรหาคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ 4. พิจารณาการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ และคณะพยาบาล รวมทั้งคณะวิชาอื่นๆตามความจำเป็น 5. พิจารณายกร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง แยกมาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 6. พิจาณาความผิดของสภามหาวิทยาลัยทักษิณและอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ (รศ.ดร. สมเกียรติ สายธนู)
ผลปรากฏว่ากระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการอย่างเป็นทางการมายังผู้ร้องแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน 3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยมี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึง ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ให้ช่วยติดตามเรื่องที่ร้องเรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ) ปรากฏว่าทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวทราบว่าทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และเมื่อ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ร้องเรียนได้มีหนังสือไปยังปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (มล. ปนัดดา ดิศกุล) ขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียน ผลปรากฏว่ายังไม่ได้รับการชี้แจงจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่ประการใดจนถึงปัจจุบันและเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 ได้มีหนังสือไปยัง ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียน ผลปรากฏว่ายังไม่ได้รับการชี้แจงจากเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ นายกรัฐมนตรีแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน.
May 25, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สรุปปัญหามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
1. สภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงในปัจจุบัน
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีพื้นที่ปฏิบัติการ 2 แห่ง คือ
1. พื้นที่ตำบลบ้านพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ประมาณ 2,900 ไร่ มีคณะหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน 4 คณะได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน และคณะนิติศาสตร์ มีนักศึกษาทั้งหมด 2,932 คน และบุคลลากรทั้งหมดประมาณ 395 คน (ข้อมูลปี 2558) หน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ได้แก่ สำนักหอสมุด สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มีหน่วยงานสนับสนุนบริหาร ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิทยาเขตพัทลุง ฝ่ายกิจการนิสิตวิทยาเขตพัทลุง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา ฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน และฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล ทั้ง 3 ฝ่ายนี้ มีพื้นที่ทำการอยู่ทั้ง 2 วิทยาเขต
2. พื้นที่ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 185 ไร่ ปัจจุบันได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งสร้างกระบวนทัศน์ในการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาชุมชน บูรณาการด้วยองค์ความรู้หลากหลายเพื่อเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้โดยให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
2 สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยทักฺษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2.1) การขอใช้พื้นที่
กรณีถูกคืนพื้นที่ให้กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เมื่อนำไปออกเอกสารสิทธิ์ ส.ปก. 4-01 ให้กับราษฎร์ผู้ครอบครองเดิม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ก่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชนไปแล้ว ต่อมามหาวิทยาลัยได้ไปทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวตามหนังสือขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค และกิจการอื่น ๆ ในเขตปฏิรูปที่ดินตามเลขที่ 50/2555 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องรื้อถอนออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งมอบที่ดินให้กับผู้ครอบครองเดิม ในขณะนี้มหาวิทยาลัยยังไม่ได้รื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพราะยังไม่สามารถหาที่ดินที่จะปลูกสร้างใหม่ได้
ในกรณีนี้มีปัญหาว่าตอนที่ก่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการตรวจสอบเขตที่ดินกับสำนักงานที่ดินจังหวัดพัทลุง หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุงหรือไม่ เมื่อมีการตรวจสอบแล้วและเกิดปัญหาดังกล่าว ถามว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบและงบประมาณแผ่นดินที่ลงทุนก่อสร้างไป เกิดการสูญเปล่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบและมีข้อสังเกตว่า มีบุคคลภายในมหาวิทยาลัยเอง มีผลประโยชน์ร่วมหรือไม่ เพราะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่กันไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของหมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนา ต้องกลายเป็นพื้นที่ได้รับการออกเอกสารสิทธิ์ด้วย ดังรูปที่ 1-6
รูปที่ 2 บริเวณโรงเรือนปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 3 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 4 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 5 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 6 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
2.2 ปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทักษิณในวิทยาเขตพัทลุง มีปัญหามาตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ที่เห็นว่ามีปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดมีดังนี้
1) ภายในมหาวิทยาลัยเกิดหลุมบ่อขึ้นตามอาคารเกือบทุกอาคาร การขุดสระน้ำเหล่านี้เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างถมที่ทับซ้อนกับสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารต่าง ๆหรือไม่หรือมีการทำสัญญาใหม่ขึ้นมาหรือไม่ การยินยอมให้ผู้รับเหมาใช้ดินบริเวณใกล้อาคารหรือใช้ดินภายในมหาวิทยาลัยมาถมที่บริเวณก่อสร้างใครเป็นผู้อนุญาต ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์และสัญญางานถมที่ทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยจัดจ้างสูงเกินจริงหรือไม่ เพราะทั้งหมดไม่เคยซื้อดินจากภายนอกเลย ใช้ขุดดินในมหาวิทยาลัยตลอด ดังรูปที่ 7-12
รูปที่ 7 สระน้ำบริเวณใกล้หอพักบุคลากร
รูปที่ 8 สระน้ำบริเวณหลังหอพักนิสิตหญิง
รูปที่ 9 สระน้ำบริเวณระหว่างหอพักบุคลากรกับหอพักนิสิตหญิง
รูปที่ 10 สระน้ำบริเวณหลังหอพักนิสิตชาย
รูปที่ 11 สระน้ำบริเวณหลังอาคารหอประชุมกลาง
รูปที่ 12 สระน้ำบริเวณข้างอาคารบริหารกลาง
2) มีสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 3 รายการ นับตั้งแต่ก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบันที่ไม่สามารถใช้งานได้เลยหรือไม่ได้ใช้งาน คือ 1. บ้านพักอธิการบดีและรองอธิการบดี 2. เครื่องบำบัดน้ำเสีย 3. รั้วบริเวณหน้ามหาวิทยาลัย ไม่ทราบว่ามีความผิดในขั้นตอนการออกแบบ หรือตอนตรวจรับงานหรือยังไม่จำเป็นต้องใช้งาน หรือมีปัญหาบางประการก็ไม่ทราบ ดังรูปที่ 13-15
รูปที่ 13 บ้านพักอธิการบดีและรองอธิการบดี
รูปที่ 14 เครื่องบำบัดน้ำเสีย
รูปที่ 15 รั้วหน้าบริเวณมหาวิทยาลัย
3) เรื่องผู้รับเหมาละทิ้งงาน ในขณะนี้ผู้รับเหมาละทิ้งงานอยู่ 1 รายการ คือ อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชนซึ่งดำเนินการก่อสร้างมาประมาณ7-8 ปีแล้ว ปัญหาการละทิ้งงานไม่ทราบว่าเกิดการเบิกจ่ายเงินงวดให้ผู้รับเหมาล่าช้าหรือไม่ การตรวจรับงานแต่ละงวดมีปัญหาหรือไม่ ล่าช้าหรือเปล่า หรือระบบการควบคุมงานจ้างมีปัญหากับผู้รับจ้างหรือไม่ ดังรูปที่ 16-17
รูปที่ 16 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน (ด้านหน้า)
รูปที่ 17 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ด้านข้าง)
4) ปัญหาการก่อสร้างอาคารที่ล่าช้ากว่ากำหนดคือ อาคารสัมมนาคาร ซึ่งก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี แล้ว ก่อสร้างยังไม่เสร็จตามกำหนดมีการหยุดการก่อสร้างระยะหนึ่ง(รูปที่ 18)ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุผลใด ตอนหลังมีการต่อเติมอาคารใหม่ (รูปที่ 19) แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จดังรูป 18-19
รูปที่ 18 อาคารสัมมนาคาร
รูปที่ 19 อาคารสัมมนาคาร
3. แนวทางการแก้ปัญหา
1) มีการยื่นร้องเรียนความผิดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ(รศ.ดร. สมเกียรติ สายธนู )ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สาขาสงขลา (ป.ป.ช.สงขลา) เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
ผลปรากฏว่า ป.ป.ช.สงขลายังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการมายังผู้ร้องเรียนแต่ประการใดจนถึงปัจจุบันนี้
2. มีการยื่นร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงว่าการศึกษาธิการ(นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
ข้อร้องเรียนดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องการขอใช้ที่ดิน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2. พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องคณะกรรมการประจำวิทยาเขต โดยขอให้มีคณะกรรมการประจำวิทยาเขตประเภทผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดพัทลุงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
3. ให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการสรรหาคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
4. พิจารณาการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ และคณะพยาบาล รวมทั้งคณะวิชาอื่นๆตามความจำเป็น
5. พิจารณายกร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง แยกมาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
6. พิจาณาความผิดของสภามหาวิทยาลัยทักษิณและอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ (รศ.ดร. สมเกียรติ สายธนู)
ผลปรากฏว่ากระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการอย่างเป็นทางการมายังผู้ร้องแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน
3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยมี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึง ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ให้ช่วยติดตามเรื่องที่ร้องเรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ) ปรากฏว่าทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวทราบว่าทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และเมื่อ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ร้องเรียนได้มีหนังสือไปยังปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (มล. ปนัดดา ดิศกุล) ขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียน ผลปรากฏว่ายังไม่ได้รับการชี้แจงจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่ประการใดจนถึงปัจจุบันและเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 ได้มีหนังสือไปยัง ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียน ผลปรากฏว่ายังไม่ได้รับการชี้แจงจากเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ นายกรัฐมนตรีแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มรภ.สงขลา ส่ง นศ.-บุคลากร เข้าค่าย “ผู้นำเยาวชน คนราชภัฏ 2025 ...
May 25, 2025
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ รพ.กรุงเทพหาดใหญ่ ให้บริการทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ
May 25, 2025
มรภ.สงขลา บันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
May 25, 2025
“เกษตร” มรภ.สงขลา จัดอบรมผลิตผักยกแคร่อินทรีย์ครบวงจร ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาน้ำท่วมแปลงผัก ต่อยอดสร้างรายได้ ขยายผลสู่ชุมชน
May 25, 2025