ขณะที่นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการแก้ไขร่างข้อมติในหัวข้อ ประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล การคุกคามความเป็นส่วนตัวและสิทธิของปัจเจกบุคคล (Democracy in the digital era and the threat to privacy and individual freedoms) โดยประเทศไทยได้เสนอแก้ไขในส่วนของอารัมภบทที่ 9 ทั้งนี้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 23 ต่อ 1 (แก้ไขอารัมภบทที่ 9 คือ ให้เพิ่มถ้อยคำว่า “สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” (national human rights institution)เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติที่ถือว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทการดำเนินงานที่เป็นอิสระที่ส่งเสริมและควบคุมให้เกิดมาตรฐานในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนจากมาตรฐานสากล ลงไปสู่ระดับชาติ และยังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับจากประชาคมโลก ซึ่งไทยเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ จะมีบทบาทอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับภาครัฐสภาในการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในยุคดิจิทัล).
รัฐสภาไทยแสดงจุดยืนในเวที IPU หนุนต้านก่อการร้าย ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน
วันที่ 18 ตุลาคม 2558 ในระหว่างเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 133 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการสามัญของสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในประเด็นปัญหาการก่อการร้าย โดยกล่าวว่าในฐานะที่เคยเป็นเหยื่อของการวางระเบิด เห็นว่าประชาคมโลกควรกำหนดนิยามของคำว่า “การก่อการร้าย” ในขณะที่ปัญหาการจู่โจมในลักษณะการก่อการร้ายทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นในหลายประเทศ และปัญหารากเหง้าของการก่อร้าย อาทิ ความยากจน และความไม่เท่าเทียมในสังคมควรได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติไทยได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายแล้ว อาทิ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พร้อมยืนยันไทยจะยึดมั่นในการร่วมมือกับประชาคมโลกในการต่อต้านการก่อการร้าย และเชื่อว่าเป้าหมายการแก้ไขปัญหานี้ กับการธำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย ควรกำหนดไว้ต่างกัน
ขณะที่นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการแก้ไขร่างข้อมติในหัวข้อ ประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล การคุกคามความเป็นส่วนตัวและสิทธิของปัจเจกบุคคล (Democracy in the digital era and the threat to privacy and individual freedoms) โดยประเทศไทยได้เสนอแก้ไขในส่วนของอารัมภบทที่ 9 ทั้งนี้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 23 ต่อ 1 (แก้ไขอารัมภบทที่ 9 คือ ให้เพิ่มถ้อยคำว่า “สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” (national human rights institution)เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของสหประชาชาติที่ถือว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทการดำเนินงานที่เป็นอิสระที่ส่งเสริมและควบคุมให้เกิดมาตรฐานในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนจากมาตรฐานสากล ลงไปสู่ระดับชาติ และยังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับจากประชาคมโลก ซึ่งไทยเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ จะมีบทบาทอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับภาครัฐสภาในการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในยุคดิจิทัล).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024