ตามที่สภายุโรป (European Parliament) ได้ออกข้อมติเกี่ยวกับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 แสดงความห่วงใยในฐานะมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาช้านาน รวมทั้งในประเด็นพัฒนาการทางการเมืองและประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้น
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีความกังวลที่สภายุโรปอาจมิได้รับทราบข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านสิทธิมนุษยชนและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีพัฒนาการในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัดและได้ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ร.บ.การประมง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ร.บ.การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ (IVF/อุ้มบุญ) พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … (ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ร.บ.กองทุนเงินออมแห่งชาติ และ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่สำคัญและมีส่วนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป นับว่าเป็นรัฐบาลและรัฐสภาที่มีผลงานต่อเนื่องและเด่นชัดในด้านนี้กว่ายุคที่ผ่านมา
สำหรับพัฒนาการทางการเมืองนั้น รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงในเรื่องนี้มาโดยตลอด รวมทั้งในช่วงที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการตาม Roadmap ที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การลงประชามติโดยประชาชน การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งทั่วไป ฯลฯ
คณะกรรมาธิการรู้สึกขอบคุณที่สภายุโรปคำนึงถึงความสัมพันธ์อันยาวนานกับประเทศไทย และหวังว่าสภายุโรปและรัฐสภาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะไม่ลืมปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2556-2557 อีกทั้งมีความเข้าใจและสนับสนุนความพยายามของประเทศไทยที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง มีระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน บนหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล โปร่งใส และตอนสนอง (accountable) ต่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง.
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
แถลงการณ์คณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ตามที่สภายุโรป (European Parliament) ได้ออกข้อมติเกี่ยวกับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2558 แสดงความห่วงใยในฐานะมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาช้านาน รวมทั้งในประเด็นพัฒนาการทางการเมืองและประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้น
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีความกังวลที่สภายุโรปอาจมิได้รับทราบข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านสิทธิมนุษยชนและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีพัฒนาการในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัดและได้ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ร.บ.การประมง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ร.บ.การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ (IVF/อุ้มบุญ) พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … (ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ร.บ.กองทุนเงินออมแห่งชาติ และ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายที่สำคัญและมีส่วนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป นับว่าเป็นรัฐบาลและรัฐสภาที่มีผลงานต่อเนื่องและเด่นชัดในด้านนี้กว่ายุคที่ผ่านมา
สำหรับพัฒนาการทางการเมืองนั้น รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงในเรื่องนี้มาโดยตลอด รวมทั้งในช่วงที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการตาม Roadmap ที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การลงประชามติโดยประชาชน การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งทั่วไป ฯลฯ
คณะกรรมาธิการรู้สึกขอบคุณที่สภายุโรปคำนึงถึงความสัมพันธ์อันยาวนานกับประเทศไทย และหวังว่าสภายุโรปและรัฐสภาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะไม่ลืมปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2556-2557 อีกทั้งมีความเข้าใจและสนับสนุนความพยายามของประเทศไทยที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง มีระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน บนหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล โปร่งใส และตอนสนอง (accountable) ต่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024