คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เทียบเชิญนักวิชาการจากอเมริกา บินตรงให้ความรู้เรื่องนาโนฯ เพื่อเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม ชี้ตลาดต่างประเทศเปิดกว้าง คณบดีรับลูกเตรียมต่อยอดสู่งานวิจัย
ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะฯ ได้เชิญ Dr.Eakalak Khan ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัย North Dakota ประเทศสหรัฐอเมริกา มาบรรยายเรื่อง นาโนเทคโนโลยีสำหรับเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม ให้แก่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของคณะฯ ได้รับฟัง เพื่อเติมเต็มความรู้ในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากนาโนเทคโนโลยีเป็นวิทยาการแขนงใหม่ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ วัสดุนาโนยังถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของสินค้าชนิดต่างๆ แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีใครตระหนักถึงการปนเปื้อนของวัสดุนาโนสู่สิ่งแวดล้อม เพราะวัสดุนาโนไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรงในระยะเวลาสั้นๆ แต่การปนเปื้อนของวัสดุนาโนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน อาจทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศน์ ทั้งที่อาศัยอยู่ในดิน ในน้ำและในอากาศ ได้รับผลกระทบจากวัสดุนาโนทีละน้อย และต้องใช้ระยะเวลาในการที่จะเห็นผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจน
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยถึงผลของอนุภาคนาโนต่อระบบนิเวศน์ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์ของอนุภาคนาโนไทเนียมไดออกไซด์ ซิลิกาและซิงก์ออกไซด์ ในสภาพที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ปัจจัยที่มีผลของอนุภาคนาโนต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่มีอนุภาคนาโนเป็นองค์ประกอบที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งานแล้วนั้น ยังไม่ได้มีการควบคุมว่าจะจัดการอย่างไร เพื่อไม่ให้อนุภาคนาโนแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น แบคทีเรียทั้งที่มีประโยชน์และมีโทษ ดังนั้น เราคงต้องตระหนักว่าความเจริญด้านเทคโนโลยีอาจเป็นความเสื่อมของคุณภาพชีวิต เมื่ออากาศ อาหาร ดินและน้ำ เต็มไปด้วยสิ่งปนเปื้อน ดังนั้น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงเน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการลดมลพิษ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการบำบัดมลพิษจากการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุนาโน ซึ่งทางคณะฯ มีแผนที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับนาโนในอนาคตอันใกล้
ด้าน Dr.Eakalak Khan กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดนาโนโดยเฉพาะในต่างประเทศ ถือว่าค่อนข้างกว้างมาก สินค้าหลายชนิดมีการนำวัสดุนาโนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เสื้อผ้านาโน แต่ที่ตนสนใจคือเรื่องแบคทีเรียหรือจุลชีพในนาโน การใช้วัสดุนาโนบำบัดสารพิษในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จึงนับเป็นเรื่องดีที่ มรภ.สงขลา สนใจจะทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับนาโน เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความหลากหลายในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น.
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา เตรียมทำวิจัยนาโน นักวิชาการอเมริกาชี้ตลาดเปิดกว้าง
คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เทียบเชิญนักวิชาการจากอเมริกา บินตรงให้ความรู้เรื่องนาโนฯ เพื่อเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม ชี้ตลาดต่างประเทศเปิดกว้าง คณบดีรับลูกเตรียมต่อยอดสู่งานวิจัย
ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะฯ ได้เชิญ Dr.Eakalak Khan ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัย North Dakota ประเทศสหรัฐอเมริกา มาบรรยายเรื่อง นาโนเทคโนโลยีสำหรับเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม ให้แก่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของคณะฯ ได้รับฟัง เพื่อเติมเต็มความรู้ในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากนาโนเทคโนโลยีเป็นวิทยาการแขนงใหม่ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ วัสดุนาโนยังถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของสินค้าชนิดต่างๆ แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีใครตระหนักถึงการปนเปื้อนของวัสดุนาโนสู่สิ่งแวดล้อม เพราะวัสดุนาโนไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรงในระยะเวลาสั้นๆ แต่การปนเปื้อนของวัสดุนาโนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน อาจทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศน์ ทั้งที่อาศัยอยู่ในดิน ในน้ำและในอากาศ ได้รับผลกระทบจากวัสดุนาโนทีละน้อย และต้องใช้ระยะเวลาในการที่จะเห็นผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจน
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยถึงผลของอนุภาคนาโนต่อระบบนิเวศน์ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์ของอนุภาคนาโนไทเนียมไดออกไซด์ ซิลิกาและซิงก์ออกไซด์ ในสภาพที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ปัจจัยที่มีผลของอนุภาคนาโนต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่มีอนุภาคนาโนเป็นองค์ประกอบที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งานแล้วนั้น ยังไม่ได้มีการควบคุมว่าจะจัดการอย่างไร เพื่อไม่ให้อนุภาคนาโนแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น แบคทีเรียทั้งที่มีประโยชน์และมีโทษ ดังนั้น เราคงต้องตระหนักว่าความเจริญด้านเทคโนโลยีอาจเป็นความเสื่อมของคุณภาพชีวิต เมื่ออากาศ อาหาร ดินและน้ำ เต็มไปด้วยสิ่งปนเปื้อน ดังนั้น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงเน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการลดมลพิษ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการบำบัดมลพิษจากการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุนาโน ซึ่งทางคณะฯ มีแผนที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับนาโนในอนาคตอันใกล้
ด้าน Dr.Eakalak Khan กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดนาโนโดยเฉพาะในต่างประเทศ ถือว่าค่อนข้างกว้างมาก สินค้าหลายชนิดมีการนำวัสดุนาโนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เสื้อผ้านาโน แต่ที่ตนสนใจคือเรื่องแบคทีเรียหรือจุลชีพในนาโน การใช้วัสดุนาโนบำบัดสารพิษในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จึงนับเป็นเรื่องดีที่ มรภ.สงขลา สนใจจะทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับนาโน เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความหลากหลายในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.