วันที่ 20 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณ นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีปิดโครงการครั้งนี้
สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จัดทำโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันของสหกรณ์โรงรมยาง” ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เพื่อสู้วิกฤตราคายางพาราตกต่ำ โดยการเพิ่มศักยภาพในการผลิตยางแผ่นรมควัน และลดต้นทุนการผลิตลง เช่น การนำเทคโนโลยีเตาอบยางที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถควบคุมอุณหภูมิในห้องอบยางได้ดีขึ้น ผลิตยางแผ่นรมควันที่มีคุณภาพสูงขึ้นในเวลาที่สั้นลง การพัฒนาระบบการเผาไหม้ไม้ฟืนเพื่อให้ความร้อน รวมทั้งการปรับปรุงการกระจายความร้อนในห้องรมยาง และเทคโนโลยีโรงตากยางแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรมควัน ทำให้สามารถประหยัดพลังงานลงได้ ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการจนเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเป็นที่เรียบร้อย จึงได้จัดพิธีปิดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการ โดยมีสหกรณ์กองทุนสวนยาง (สกย.) ที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 1.สกย.ควนกาหลง 2 จำกัด 2.สกย.อุไดเจริญ 1 จำกัด 3.สกย.นิคมพัฒนา 1 จำกัด 4.สกย.วังใหม่พัฒนา จำกัด 5.สกย.บ้านทรายขาว จำกัด 6.สกย.บ้านเก่าร้าง จำกัด 7.สกย.นาประดู่ จำกัด และ 8.สกย.บ้านบ่อน้ำร้อน จำกัด
การดำเนินโครงการมีขอบเขตการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงห้องรมยาง การพัฒนาห้องรมยางใหม่และการพัฒนาโรงตากยางแสงอาทิตย์ โดยทีมที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลการดำเนินงานพบว่า ในแต่ละด้านสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี การปรับปรุงห้องรมยางสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณร้อยละ 10 การพัฒนาห้องรมยางใหม่ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณร้อยละ 30 และการพัฒนาโรงตากยางแสงอาทิตย์ สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ประมาณร้อยละ 20 ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และกลุ่มสหกรณ์มีความเข้มแข็งและยั่งยืน อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่ร่วมโครงการได้เข้าถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มอ.จัดพิธีปิดโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันของสหกรณ์โรงรมยาง
วันที่ 20 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณ นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีปิดโครงการครั้งนี้
สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จัดทำโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันของสหกรณ์โรงรมยาง” ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เพื่อสู้วิกฤตราคายางพาราตกต่ำ โดยการเพิ่มศักยภาพในการผลิตยางแผ่นรมควัน และลดต้นทุนการผลิตลง เช่น การนำเทคโนโลยีเตาอบยางที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถควบคุมอุณหภูมิในห้องอบยางได้ดีขึ้น ผลิตยางแผ่นรมควันที่มีคุณภาพสูงขึ้นในเวลาที่สั้นลง การพัฒนาระบบการเผาไหม้ไม้ฟืนเพื่อให้ความร้อน รวมทั้งการปรับปรุงการกระจายความร้อนในห้องรมยาง และเทคโนโลยีโรงตากยางแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรมควัน ทำให้สามารถประหยัดพลังงานลงได้ ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการจนเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเป็นที่เรียบร้อย จึงได้จัดพิธีปิดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการ โดยมีสหกรณ์กองทุนสวนยาง (สกย.) ที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 1.สกย.ควนกาหลง 2 จำกัด 2.สกย.อุไดเจริญ 1 จำกัด 3.สกย.นิคมพัฒนา 1 จำกัด 4.สกย.วังใหม่พัฒนา จำกัด 5.สกย.บ้านทรายขาว จำกัด 6.สกย.บ้านเก่าร้าง จำกัด 7.สกย.นาประดู่ จำกัด และ 8.สกย.บ้านบ่อน้ำร้อน จำกัด
การดำเนินโครงการมีขอบเขตการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงห้องรมยาง การพัฒนาห้องรมยางใหม่และการพัฒนาโรงตากยางแสงอาทิตย์ โดยทีมที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลการดำเนินงานพบว่า ในแต่ละด้านสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี การปรับปรุงห้องรมยางสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณร้อยละ 10 การพัฒนาห้องรมยางใหม่ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณร้อยละ 30 และการพัฒนาโรงตากยางแสงอาทิตย์ สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ประมาณร้อยละ 20 ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และกลุ่มสหกรณ์มีความเข้มแข็งและยั่งยืน อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่ร่วมโครงการได้เข้าถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024