กฟผ.ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน ในการทบทวนร่างรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ก่อนนำความเห็นประชาชนประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินการของ กฟผ.
วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 นายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.3) โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ทั้งนี้การรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวแบ่งเป็น 2 วัน ได้แก่วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 เป็นการรับฟังความคิดเห็นฯ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าเทพา และวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 เป็นการรับฟังความคิดเห็นฯ เกี่ยวกับท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ภายในงานมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมประชาชนผู้สนใจร่วมรับฟังความคิดเห็นกว่า 10,000 คน
นายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก กฟผ. ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบพัฒนาโครงการได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด รวมทั้งมีการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จนนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันในขั้นตอนการออกแบบโรงไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นมิติที่ดีในการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินธรรมชาติ และชุมชนในระยะยาว ทั้งนี้ ขอให้ กฟผ. รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาพิจารณาประกอบการก่อสร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้าต่อไป
นายพล คงเสือ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 3 เปิดเผยว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทบทวนร่วงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.3ป โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา จัดขึ้นอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการจัดทำรายงาน EHIA และเปิดรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.00 น.
โครงการโรงไฟฟ้าเทพา มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1,100 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง ใช้ถ่านหินคุณภาพดีนำเข้าจากต่างประเทศ ประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้แบบ Pulvertizedcoal Combustion Technology (PC) ระดับ Ultra-supercritical Boiler ซึ่งเป็นเทคโนโยลีที่มีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรการควบคุมการปล่อยมลสารให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าค่ามาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อาทิ เครื่องกำจัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน อุปกรณ์ดักจับไอปรอท เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต และเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยน้ำทะเล
นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมมลสารให้ดีขึ้น อาทิ การระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 50 ส่วนในล้านส่วน จากค่ามาตรฐาน 80 ส่วนในล้านส่วน ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 50 ส่วนในล้านส่วน จากค่ามาตรฐาน 200 ส่วนในล้านส่วน และฝุ่นละอองแขวนลอยรวม (TSP) จากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร จากค่ามาตรฐาน 80 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น โดยโรงไฟฟ้าเทพาจะมีการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแบบ Real-Time ผ่านระบบออนไลน์ ส่งให้กรมควบคุมมลพิษตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด (COT) ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและจัดทำรายงาน EHIA ได้จัดทำร่างรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์ และฉบับย่อที่เป็นการสรุปประเด็นสำคัญซึ่งประชาชนสามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไปกว่า 1,500 ฉบับ
“ประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอศึกษาเอกสารฉบับหลักได้ที่หน่วยงานราชการในจังหวัดสงขลา ได้แก่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ประชาชนร่วมรับทราบข้อมูล และติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของ กฟผ. ว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรการที่เสนอไว้ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโรงไฟฟ้าเทพา คือโรงไฟฟ้าเพื่อชุมชน มิติใหม่ของคนเทพา” นายพล คงเสือ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 3 กล่าวในที่สุด.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ.จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ก่อนนำความเห็นประชาชนประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์
กฟผ.ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน ในการทบทวนร่างรายงาน EHIA โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ก่อนนำความเห็นประชาชนประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินการของ กฟผ.
วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 นายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.3) โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ทั้งนี้การรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวแบ่งเป็น 2 วัน ได้แก่วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 เป็นการรับฟังความคิดเห็นฯ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าเทพา และวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 เป็นการรับฟังความคิดเห็นฯ เกี่ยวกับท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา ภายในงานมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมประชาชนผู้สนใจร่วมรับฟังความคิดเห็นกว่า 10,000 คน
นายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก กฟผ. ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบพัฒนาโครงการได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด รวมทั้งมีการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จนนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันในขั้นตอนการออกแบบโรงไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นมิติที่ดีในการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินธรรมชาติ และชุมชนในระยะยาว ทั้งนี้ ขอให้ กฟผ. รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาพิจารณาประกอบการก่อสร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้าต่อไป
นายพล คงเสือ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 3 เปิดเผยว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทบทวนร่วงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.3ป โครงการโรงไฟฟ้าเทพา และท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าเทพา จัดขึ้นอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการจัดทำรายงาน EHIA และเปิดรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.00 น.
โครงการโรงไฟฟ้าเทพา มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1,100 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง ใช้ถ่านหินคุณภาพดีนำเข้าจากต่างประเทศ ประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้แบบ Pulvertizedcoal Combustion Technology (PC) ระดับ Ultra-supercritical Boiler ซึ่งเป็นเทคโนโยลีที่มีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรการควบคุมการปล่อยมลสารให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าค่ามาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อาทิ เครื่องกำจัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน อุปกรณ์ดักจับไอปรอท เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต และเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยน้ำทะเล
นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมมลสารให้ดีขึ้น อาทิ การระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 50 ส่วนในล้านส่วน จากค่ามาตรฐาน 80 ส่วนในล้านส่วน ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 50 ส่วนในล้านส่วน จากค่ามาตรฐาน 200 ส่วนในล้านส่วน และฝุ่นละอองแขวนลอยรวม (TSP) จากปล่องโรงไฟฟ้าไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร จากค่ามาตรฐาน 80 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น โดยโรงไฟฟ้าเทพาจะมีการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแบบ Real-Time ผ่านระบบออนไลน์ ส่งให้กรมควบคุมมลพิษตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด (COT) ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและจัดทำรายงาน EHIA ได้จัดทำร่างรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์ และฉบับย่อที่เป็นการสรุปประเด็นสำคัญซึ่งประชาชนสามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไปกว่า 1,500 ฉบับ
“ประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอศึกษาเอกสารฉบับหลักได้ที่หน่วยงานราชการในจังหวัดสงขลา ได้แก่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ประชาชนร่วมรับทราบข้อมูล และติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของ กฟผ. ว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรการที่เสนอไว้ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโรงไฟฟ้าเทพา คือโรงไฟฟ้าเพื่อชุมชน มิติใหม่ของคนเทพา” นายพล คงเสือ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 3 กล่าวในที่สุด.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024