เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 58 นายเพิก ไทยเหนือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบ้านสันป่าเป้า ม.10 ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า ที่ผ่านมา ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง รวมถึงพื้นที่นา แปลงที่ตนเองทำอยู่กว่า 24 ไร่ เป็นพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งกว่าน้ำจากแหล่งเก็บน้ำกว๊านพะเยา จะถูกปล่อยลงมาถึงที่นาของตนเองนั้น ก็แทบจะไม่เหลือน้ำเข้านา เนื่องจากถูกเจ้าของนาที่อยู่ทางต้น และกลางน้ำ สูบไปใช้เกือบหมด รวมถึงน้ำที่สูญเสียแห้งหายไปกับดินด้วย จึงมีแนวคิดเปลี่ยนวิธีการปลูกนาข้าวนาปี จากวิธีการดำนา (ใช้คนปลูก) มาเป็นการหยอดเมล็ดแทน โดยวิธีการหยอดข้าวดังกล่าว นอกจากจะใช้น้ำน้อยกว่าการดำนา และวิธีการหว่านแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย
“เฉพาะปีที่ผ่านมา นา 24 ไร่ ที่ใช้วิธีการปลูกต้องใช้ต้นทุนการผลิตราว 1 แสนบาท หรือตกราวไร่ละ 4,000 บาทเศษ แต่วิธีการหยอด จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ และค่าจ้างแรงงานลดลงเหลือราว 70,000 บาทเท่านั้น หรือเฉลี่ยไร่ละ ราว 3,000 บาท ซึ่งวิธีการหยอดข้าวดังกล่าว ตนเองทำเป็นครั้งแรก และในละแวกนี้ ตนเองถือเป็นเจ้าแรก ที่นำร่องทำแบบนี้ เพราะที่เหลือ ร้อยละ 80 ใช้วิธีการหว่านข้าว แต่จะประสบปัญหากับการกำจัดวัชพืช ไม่เหมือนการวิธีการหยอดข้าว ที่สามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ง่ายกว่า โดยตนเองเชื่อว่าวิธีการหยอดเมล็ดนี้ จะสามารถลดต้นทุนการผลิต และสู้กับภัยแล้งได้แน่นอน” เกษตรกรผู้ปลูกข้าว บ้านสันป่าเป้า กล่าว
ด้านนายปาโมกข์ ปิงเมือง หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ และปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานพะเยา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพะเยาว่า ปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำในจังหวัดพะเยา ขณะนี้ มีทั้งสิ้นประมาณ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 53 ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยเมื่อปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณน้ำราว 78 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 58 ถึงแม้ทางจังหวัดไม่มีการประกาศภัยแล้ง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการเตรียมแผนรับมือทั้งระบบ มีการวางแผนการใช้น้ำ การประชุมแกนนำกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการกว่า 1.39 ล้านไร่ เพื่อจัดสรรน้ำให้เพียงพอ และเหมาะสมกับทุกพื้นที่ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ปริมาณน้ำกว่า 71 ล้านลูกบาศก์เมตร กับการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้ ก็จะไม่มีปัญหา หรือผลกระทบจากภัยแล้งเกิดขึ้น แต่หากฝนเกิดทิ้งช่วง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาอย่างแน่นอน.
ภาพ/ข่าว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ประจำจังหวัดพะเยา
April 13, 2025
April 12, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบ้านสันป่าเป้า จ.พะเยา หนีภัยแล้งเปลี่ยนรูปแบบการทำนาจากการดำมาเป็นหยอดเมล็ด เพราะใช้น้ำน้อยกว่า แถมลดต้นทุนการผลิต เพราะลดค่าแรง และเมล็ดพันธุ์ข้าว
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 58 นายเพิก ไทยเหนือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบ้านสันป่าเป้า ม.10 ต.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา กล่าวว่า ที่ผ่านมา ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง รวมถึงพื้นที่นา แปลงที่ตนเองทำอยู่กว่า 24 ไร่ เป็นพื้นที่ปลายน้ำ ซึ่งกว่าน้ำจากแหล่งเก็บน้ำกว๊านพะเยา จะถูกปล่อยลงมาถึงที่นาของตนเองนั้น ก็แทบจะไม่เหลือน้ำเข้านา เนื่องจากถูกเจ้าของนาที่อยู่ทางต้น และกลางน้ำ สูบไปใช้เกือบหมด รวมถึงน้ำที่สูญเสียแห้งหายไปกับดินด้วย จึงมีแนวคิดเปลี่ยนวิธีการปลูกนาข้าวนาปี จากวิธีการดำนา (ใช้คนปลูก) มาเป็นการหยอดเมล็ดแทน โดยวิธีการหยอดข้าวดังกล่าว นอกจากจะใช้น้ำน้อยกว่าการดำนา และวิธีการหว่านแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย
“เฉพาะปีที่ผ่านมา นา 24 ไร่ ที่ใช้วิธีการปลูกต้องใช้ต้นทุนการผลิตราว 1 แสนบาท หรือตกราวไร่ละ 4,000 บาทเศษ แต่วิธีการหยอด จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ และค่าจ้างแรงงานลดลงเหลือราว 70,000 บาทเท่านั้น หรือเฉลี่ยไร่ละ ราว 3,000 บาท ซึ่งวิธีการหยอดข้าวดังกล่าว ตนเองทำเป็นครั้งแรก และในละแวกนี้ ตนเองถือเป็นเจ้าแรก ที่นำร่องทำแบบนี้ เพราะที่เหลือ ร้อยละ 80 ใช้วิธีการหว่านข้าว แต่จะประสบปัญหากับการกำจัดวัชพืช ไม่เหมือนการวิธีการหยอดข้าว ที่สามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ง่ายกว่า โดยตนเองเชื่อว่าวิธีการหยอดเมล็ดนี้ จะสามารถลดต้นทุนการผลิต และสู้กับภัยแล้งได้แน่นอน” เกษตรกรผู้ปลูกข้าว บ้านสันป่าเป้า กล่าว
ด้านนายปาโมกข์ ปิงเมือง หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ และปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานพะเยา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพะเยาว่า ปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำในจังหวัดพะเยา ขณะนี้ มีทั้งสิ้นประมาณ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 53 ลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยเมื่อปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกันมีปริมาณน้ำราว 78 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 58 ถึงแม้ทางจังหวัดไม่มีการประกาศภัยแล้ง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการเตรียมแผนรับมือทั้งระบบ มีการวางแผนการใช้น้ำ การประชุมแกนนำกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการกว่า 1.39 ล้านไร่ เพื่อจัดสรรน้ำให้เพียงพอ และเหมาะสมกับทุกพื้นที่ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ปริมาณน้ำกว่า 71 ล้านลูกบาศก์เมตร กับการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้ ก็จะไม่มีปัญหา หรือผลกระทบจากภัยแล้งเกิดขึ้น แต่หากฝนเกิดทิ้งช่วง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาอย่างแน่นอน.
ภาพ/ข่าว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ประจำจังหวัดพะเยา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประธานเปิดงาน “มวยดีวิถีไทย สัญจรนครหาดใหญ่” สนับสนุนสงขลาเมืองกีฬา เดินหน้าพัฒนากีฬามวยไทยจังหวัดสงขลาให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
April 13, 2025
“รมช.เดชอิศม์” ตรวจเยี่ยมจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์
April 13, 2025
มวยดีวิถีไทย สัญจรนครหาดใหญ่ 13 เมษามหาสงกรานต์
April 13, 2025
อบจ.สงขลา ร่วมมอบรางวัลในพิธีปิดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด Volleyball World Beach Pro Tour ...
April 12, 2025