5 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “นโยบายภาษาแห่งชาติ” ซึ่งจัดโดยราชบัณฑิตยสถาน มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 100 คน จากพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย จ.สงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำนโยบายแห่งชาติ เพื่อเป็นแผนแม่บทของประเทศในการพัฒนาและกำหนดแนวทางการศึกษาภาษาต่างๆ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงและเกิดเอกภาพภายใต้ความหลากหลายของกลุ่มประชาชนที่ใช้ภาษต่างกันในสังคมไทย และยังช่วยสืบสานภาษาต่างๆที่มีใช้อยู่ในประเทศให้มีความมั่นคงยั่งยืน โดยเฉพาะภาษาถิ่นต่างๆ เช่น ภาษามลายูของพื้นที่ หรือ จะเป็นภาษาตระกูลไทยและตระกูลอื่นๆ ซึ่งเอื้อต่อการใช้ภาษาเป็นสื่อในการศึกษาเบื้องต้นและเชื่อมโยงสู่ภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติ จึงอยากให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทย โดยเฉพาะพี่น้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกันรักษาภาษามลายู ภาษามลายูถิ่นให้คงอยู่สืบไป และอีกเรื่องที่สำคัญ คือ นโยบายสำหรับการแปลและล่ามแปลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารกับประเทศต่างๆในการสร้างความเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตรงกัน จึงถือว่าการแปลและการล่ามเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดอุปสรรคความแตกต่างทางภาษาได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอื่นๆที่มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนควบคู่กันไปด้วย
สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชนทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโครงการนโยบายภาษาแห่งชาติเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชนทั่วไป โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาหลายท่าน อาทิ รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการนโยบายภาษาแห่งชาติ , ศ.ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ , ดร.นิตยา กญจนะวรรณ เป็นต้น.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ : สุทธิดา พฤกษ์อุดม
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ราชบัณฑิตยสถาน จัดเสวนาทางวิชาการ “นโยบายภาษาแห่งชาติ” เพื่อรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์โครงการให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างได้รับทราบ
5 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “นโยบายภาษาแห่งชาติ” ซึ่งจัดโดยราชบัณฑิตยสถาน มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 100 คน จากพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย จ.สงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำนโยบายแห่งชาติ เพื่อเป็นแผนแม่บทของประเทศในการพัฒนาและกำหนดแนวทางการศึกษาภาษาต่างๆ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงและเกิดเอกภาพภายใต้ความหลากหลายของกลุ่มประชาชนที่ใช้ภาษต่างกันในสังคมไทย และยังช่วยสืบสานภาษาต่างๆที่มีใช้อยู่ในประเทศให้มีความมั่นคงยั่งยืน โดยเฉพาะภาษาถิ่นต่างๆ เช่น ภาษามลายูของพื้นที่ หรือ จะเป็นภาษาตระกูลไทยและตระกูลอื่นๆ ซึ่งเอื้อต่อการใช้ภาษาเป็นสื่อในการศึกษาเบื้องต้นและเชื่อมโยงสู่ภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติ จึงอยากให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทย โดยเฉพาะพี่น้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกันรักษาภาษามลายู ภาษามลายูถิ่นให้คงอยู่สืบไป และอีกเรื่องที่สำคัญ คือ นโยบายสำหรับการแปลและล่ามแปลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารกับประเทศต่างๆในการสร้างความเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตรงกัน จึงถือว่าการแปลและการล่ามเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดอุปสรรคความแตกต่างทางภาษาได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอื่นๆที่มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนควบคู่กันไปด้วย
สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชนทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโครงการนโยบายภาษาแห่งชาติเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้เป็นที่รู้จักและสร้างความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชนทั่วไป โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาหลายท่าน อาทิ รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการนโยบายภาษาแห่งชาติ , ศ.ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ , ดร.นิตยา กญจนะวรรณ เป็นต้น.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ : สุทธิดา พฤกษ์อุดม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.