คณะวิทย์ฯ มรภ.สงขลา รับลูกศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พัฒนาหลักสูตร งานวิจัย เพิ่มมูลค่ายางพาราครบวงจร
ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้จัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 2 ฉลอง 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาของคณะฯ โดยได้เชิญ ผศ.ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง ทิศทางการวิจัยยางพาราในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ และเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ในฐานะคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่กล่าวมาโดยตรง มีความจำเป็นต้องให้นักศึกษาได้เรียนรู้และตระหนักถึงบทบาทสาขาวิชาที่ตนเองเรียนอยู่กับการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ยางพารา ประกอบกับทางคณะฯ เปิดรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ซึ่งมีการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำยาง ยางแห้ง นอกจากนั้น ทางด้านชีววิทยา หรือแม้แต่เกษตร ก็สามารถดูแลเรื่องพันธุ์ยางได้
ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ได้แก่ การศึกษาสารตัวเติมในยาง การทำโฟมจากน้ำยาง การทำถุงมือยาง ซึ่งที่ผ่านมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ไปในระดับนานาชาติ คือการวิจัยวัสดุยืดหยุ่นแบบเทอร์มอพลาสติกที่ทำจากยางพารา และการวิจัยอิพ็อกซีเรซิน ผสมยางอิพ็อกไซด์ (ENR) รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยงข้องทางอ้อม คือทำไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา นอกจากนั้น ปัจจุบันมีอาจารย์ในโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราโดยนำมาผสมกับเทอร์มอพลาสติก
ด้าน ผศ.ดร.กฤษฎา กล่าวว่า ยางพาราเป็นวัสดุที่ได้จากพืช ดังนั้นการทำงานวิจัยด้านยางพารา จึงไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะวัสดุศาสตร์อย่างเดียว การทำงานวิจัยควรครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนาพันธุ์ยางพารา น้ำยางพารา ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ฟองน้ำยางพารา ยางแห้ง เช่น อะไหล่รถยนต์ ล้อรถยนต์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากไม้ยาง เช่น ไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านยางพารา รวมทั้งห่วงโซ่การสร้างมูลค่าเพิ่มจากยางพารา สำหรับในด้านนโยบายการวิจัยด้านยางพารา ขณะนี้หน่วยงานวิจัยและแหล่งทุนวิจัยหลายแห่ง เช่น สกว. วช. สวทช. กำลังพัฒนาการบริหารงานวิจัยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินการวิจัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ในการพัฒนาด้านยางพาราอย่างครบวงจร.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา เพิ่มมูลค่ายางพารา ศูนย์เทคโนโลยีโลหะฯ ชี้ทิศทางวิจัย
คณะวิทย์ฯ มรภ.สงขลา รับลูกศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พัฒนาหลักสูตร งานวิจัย เพิ่มมูลค่ายางพาราครบวงจร
ผศ.ดร.พลพัฒน์ รวมเจริญ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา ทางคณะฯ ได้จัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 2 ฉลอง 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาของคณะฯ โดยได้เชิญ ผศ.ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง ทิศทางการวิจัยยางพาราในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ และเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ในฐานะคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่กล่าวมาโดยตรง มีความจำเป็นต้องให้นักศึกษาได้เรียนรู้และตระหนักถึงบทบาทสาขาวิชาที่ตนเองเรียนอยู่กับการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ยางพารา ประกอบกับทางคณะฯ เปิดรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ซึ่งมีการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำยาง ยางแห้ง นอกจากนั้น ทางด้านชีววิทยา หรือแม้แต่เกษตร ก็สามารถดูแลเรื่องพันธุ์ยางได้
ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ได้แก่ การศึกษาสารตัวเติมในยาง การทำโฟมจากน้ำยาง การทำถุงมือยาง ซึ่งที่ผ่านมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ไปในระดับนานาชาติ คือการวิจัยวัสดุยืดหยุ่นแบบเทอร์มอพลาสติกที่ทำจากยางพารา และการวิจัยอิพ็อกซีเรซิน ผสมยางอิพ็อกไซด์ (ENR) รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยงข้องทางอ้อม คือทำไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา นอกจากนั้น ปัจจุบันมีอาจารย์ในโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราโดยนำมาผสมกับเทอร์มอพลาสติก
ด้าน ผศ.ดร.กฤษฎา กล่าวว่า ยางพาราเป็นวัสดุที่ได้จากพืช ดังนั้นการทำงานวิจัยด้านยางพารา จึงไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะวัสดุศาสตร์อย่างเดียว การทำงานวิจัยควรครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนาพันธุ์ยางพารา น้ำยางพารา ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ฟองน้ำยางพารา ยางแห้ง เช่น อะไหล่รถยนต์ ล้อรถยนต์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากไม้ยาง เช่น ไม้เทียมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ตลอดจนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านยางพารา รวมทั้งห่วงโซ่การสร้างมูลค่าเพิ่มจากยางพารา สำหรับในด้านนโยบายการวิจัยด้านยางพารา ขณะนี้หน่วยงานวิจัยและแหล่งทุนวิจัยหลายแห่ง เช่น สกว. วช. สวทช. กำลังพัฒนาการบริหารงานวิจัยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินการวิจัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ในการพัฒนาด้านยางพาราอย่างครบวงจร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024