จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่มีแนวชายฝั่งยาวติดด้านอ่าวไทยทางตอนใต้ของประเทศ ชายฝั่งบางพื้นที่ประสบปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายฝั่งทางด้านทิศเหนือของปากร่องน้ำทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ปากทะเลสาบสงขลาตอนล่าง บริเวณตั้งแต่เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ ซึ่งก่องสร้างขึ้นโดยกรมเจ้าท่า เพื่อกันคลื่นลมและป้องกันทรายมิให้ตกทับถมในร่องน้ำทางเดินเรือเข้า – ออก ท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ช่วยลดปริมาณการขุดลอกร่องน้ำ และรักษาแนวของร่องน้ำทางเดินเรือไว้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นอย่างรุนแรงไปทางทิศเหนือ เรื่อยไปถึงสำนักสงฆ์ธรรมสถานหาดทรายแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร ตลอดจนถึงหาดทรายแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลชิงโค ซึ่งบริเวณหาดทรายแก้ว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา ซึ่งในปัจจุบันนี้บริเวณแห่งนี้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงเรื่อยมาตั้งแต่ในอดีต อาคารสำนักสงฆ์ธรรมสถานหาดทรายถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนพังทลาย คาดการณ์กันว่าพื้นที่ของสำนักสงฆ์หายไปจากการที่นำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง เมื่อเทียบกับในอดีตเกือบ 50 ไร่ ได้มีความพยามยามแก้ไขปัญหาโดยทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยการนำหินใหญ่มาทิ้งริมชายฝั่ง นำท่อคอนกรีตเสริมเหล็กมาทิ้งกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถบรรเทาปัญหาได้ การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป โดยมีอัตราการกัดเซาะสูงมากกว่า 5 เมตรต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาวางแผนแม่บทเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณบริเวณอ่าวไทยตอนล่างของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ระบุว่าชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวอยู่ในพื้นที่วิกฤต ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เปิดเวทีรับฟังการประชุมสัมมนาโครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลชิงโค ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จ.สงขลา ณ ห้องประชุมไทรงาม โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท อ.สิงหนคร โดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดเวทีสัมมนา ซึ่งมี ประชาชนในพื้นที่ผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก เพื่อเสนอแนวทางและหาทางแก้ไขร่วมกันต่อไป.
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กรมเจ้าท่าเปิดรับฟังความคิดเห็นการศึกษาสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริหารหาดทรายแก้ว บริเวณ ต.ชิงโค และ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ครั้งที่ 3 ภายหลังคลื่นกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงจนอาคารสำนักสงฆ์ธรรมสถานหาดทรายแก้วพังทลาย
จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่มีแนวชายฝั่งยาวติดด้านอ่าวไทยทางตอนใต้ของประเทศ ชายฝั่งบางพื้นที่ประสบปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายฝั่งทางด้านทิศเหนือของปากร่องน้ำทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ปากทะเลสาบสงขลาตอนล่าง บริเวณตั้งแต่เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ ซึ่งก่องสร้างขึ้นโดยกรมเจ้าท่า เพื่อกันคลื่นลมและป้องกันทรายมิให้ตกทับถมในร่องน้ำทางเดินเรือเข้า – ออก ท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ช่วยลดปริมาณการขุดลอกร่องน้ำ และรักษาแนวของร่องน้ำทางเดินเรือไว้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นอย่างรุนแรงไปทางทิศเหนือ เรื่อยไปถึงสำนักสงฆ์ธรรมสถานหาดทรายแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร ตลอดจนถึงหาดทรายแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลชิงโค ซึ่งบริเวณหาดทรายแก้ว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา ซึ่งในปัจจุบันนี้บริเวณแห่งนี้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงเรื่อยมาตั้งแต่ในอดีต อาคารสำนักสงฆ์ธรรมสถานหาดทรายถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนพังทลาย คาดการณ์กันว่าพื้นที่ของสำนักสงฆ์หายไปจากการที่นำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง เมื่อเทียบกับในอดีตเกือบ 50 ไร่ ได้มีความพยามยามแก้ไขปัญหาโดยทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยการนำหินใหญ่มาทิ้งริมชายฝั่ง นำท่อคอนกรีตเสริมเหล็กมาทิ้งกันคลื่น แต่ก็ไม่สามารถบรรเทาปัญหาได้ การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป โดยมีอัตราการกัดเซาะสูงมากกว่า 5 เมตรต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาวางแผนแม่บทเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณบริเวณอ่าวไทยตอนล่างของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ระบุว่าชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าวอยู่ในพื้นที่วิกฤต ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เปิดเวทีรับฟังการประชุมสัมมนาโครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลชิงโค ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จ.สงขลา ณ ห้องประชุมไทรงาม โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท อ.สิงหนคร โดยมี นายเอกรัฐ หลีเส็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดเวทีสัมมนา ซึ่งมี ประชาชนในพื้นที่ผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก เพื่อเสนอแนวทางและหาทางแก้ไขร่วมกันต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024