2 พฤศจิกายน 2555 ณ สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.สนง.ภาคใต้) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.สนง.ภาคใต้ เป็นประธานการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาส ที่ 3 ปี 2555 และแนวโน้ม โดยมีสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมงานกว่า 70 คน
นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.สนง.ภาคใต้ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวตามแรงขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวจากแรงสนับสนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ สินเชื่อที่ขยายตัว และรายได้การท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้รายได้เกษตรกรจะลดลงตามสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวก็ตาม ส่วนด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารทะเลแปรรูป และถุงมือยางซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น ส่วนการผลิตยางแปรรูปยังคงลดลงตามความต้องการของตลาดโลก
สำหรับการลงทุนขยายตัวสูงขึ้น โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่อนุญาตก่อสร้างทุกประเภท รวมทั้งยอดจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลและมูลค่านำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 2.6 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เพิ่มจากมาตรการภาครัฐ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติขยายตัวร้อยละ 7.1 ตามการขยายตัวของการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีน รัสเซีย และเยอรมัน เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการเพิ่มเที่ยวบินและเปิดเส้นทางบินจากต่างประเทศมายังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนี้การท่องเที่ยวของชายแดนภาคใต้ฟื้นตัวดีขึ้นมีนักท่องเที่ยวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองภาคใต้ จำนวน 1,422,714 คน ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมปรับตัวดีกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อน สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ด้านราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องร้อยละ 29.9 ตามราคายางที่ลดลง เนื่องจากปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโลก วิกฤตหนี้ของสหภาพยุโรป รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.0 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะอาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตลาดตะวันออกกลาง เอเชีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งถุงมือยาง เพิ่มขึ้นตามการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขณะที่ไม้ยางพาราแปรรูปลดลงตามความต้องการซื้อของประเทศจีนที่ลดลง และยางแปรรูปลดลงจากตลาดญี่ปุ่น สหรัฐเมริกา และยุโรป.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ : สุทธิดา พฤกษ์อุดม
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
แบงค์ชาติภาคใต้ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาส ที่ 3 ปี 2555 และแนวโน้ม
2 พฤศจิกายน 2555 ณ สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.สนง.ภาคใต้) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.สนง.ภาคใต้ เป็นประธานการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาส ที่ 3 ปี 2555 และแนวโน้ม โดยมีสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมงานกว่า 70 คน
นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.สนง.ภาคใต้ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวตามแรงขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวจากแรงสนับสนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ สินเชื่อที่ขยายตัว และรายได้การท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้รายได้เกษตรกรจะลดลงตามสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวก็ตาม ส่วนด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารทะเลแปรรูป และถุงมือยางซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น ส่วนการผลิตยางแปรรูปยังคงลดลงตามความต้องการของตลาดโลก
สำหรับการลงทุนขยายตัวสูงขึ้น โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่อนุญาตก่อสร้างทุกประเภท รวมทั้งยอดจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลและมูลค่านำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 2.6 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เพิ่มจากมาตรการภาครัฐ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติขยายตัวร้อยละ 7.1 ตามการขยายตัวของการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและอ่าวไทย เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีน รัสเซีย และเยอรมัน เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการเพิ่มเที่ยวบินและเปิดเส้นทางบินจากต่างประเทศมายังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนี้การท่องเที่ยวของชายแดนภาคใต้ฟื้นตัวดีขึ้นมีนักท่องเที่ยวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองภาคใต้ จำนวน 1,422,714 คน ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมปรับตัวดีกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อน สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ด้านราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องร้อยละ 29.9 ตามราคายางที่ลดลง เนื่องจากปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโลก วิกฤตหนี้ของสหภาพยุโรป รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.0 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะอาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตลาดตะวันออกกลาง เอเชีย และแอฟริกาใต้ รวมทั้งถุงมือยาง เพิ่มขึ้นตามการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ขณะที่ไม้ยางพาราแปรรูปลดลงตามความต้องการซื้อของประเทศจีนที่ลดลง และยางแปรรูปลดลงจากตลาดญี่ปุ่น สหรัฐเมริกา และยุโรป.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ : สุทธิดา พฤกษ์อุดม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.