พุทธศาสนาจะมีลักษณะ เป็นพวกที่มองในแง่ร้าย หรือพวกที่มองในแง่ดีโดยส่วนเดียวนั้นไม่ได้ด้วยกันทั้ง 2 อย่าง ซึ่งอาจจะกล่าวได้โดยง่าย ๆ ว่าเป็นพวกที่อยู่ตรงกลาง โดยที่สามารถมองเห็น สิ่งทุกสิ่งประกอบอยู่ด้วยคุณและโทษ แล้วแต่ว่าเราจะมองมันในแง่ไหน ที่ไหนหรือเวลาใด แต่แล้วก็จะไม่ยึดถือจนเกิดเป็นความดีใจขึ้น ในสิ่งที่เป็นคุณ และเกิดความเสียใจหรือทุกข์ใจขึ้นในสิ่งที่เป็นโทษ แต่จักเป็นผู้มีจิตว่าง หรือวางเฉยอยู่ได้ ในทุกสิ่งและทุกกรณี ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการที่มองโลก เห็นเป็นแง่ดีหรือแง่ร้ายไปโดยส่วนเดียวนั้น ต้องจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรืออย่างดีที่สุด ก็เป็นการมองอย่างเด็กอมมือ คือเห็นอะไรเท่าที่ตัวเห็น แล้วก็ว่ามันเป็นอย่างนั้นไปหมด รวมทั้งสิ่งที่ตัวยังไม่เคยเห็นอีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่ให้ความเป็นธรรมแก่พุทธศาสนา อย่าได้กล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นพวกที่มองสิ่งทั้งปวง ในแง่ร้าย หรือในแง่ดีโดยส่วนเดียว แต่ประการใดเลย แต่พึงเข้าใจว่า พุทธศาสนามองสิ่งทั้งปวง ตามที่มันเป็นจริงอยู่อย่างไร ทั้งด้านนอกด้านใน และด้านลึกที่สุด ซึ่งเป็นนามธรรม ให้เข้าใจตามที่เป็นจริง แล้วเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นเท่าที่ควรจะเกี่ยวข้อง และในลักษณะที่ไม่เป็นทุกข์ แต่ประการใดเลยเท่านั้น ไม่มีอาการที่เรียกว่าติดในความดี หรืออึดอัดขัดใจเพราะความชั่วดังนี้เป็นต้น แต่ประการใดเลย ซึ่งจะปฏิบัติได้อย่างไรนั้นจะได้วินิจฉัยกันโดยละเอียดข้างหน้า และพึงถือว่า นั่นแหละคือตัวหลักแห่งการปฏิบัติ ที่แท้จริงของพุทธศาสนา
สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นว่า พุทธศาสนามีรูปเป็น Positive หรือ Negative นั้น ก็มีหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ คล้ายกันอีกกับข้อที่ว่า พุทธศาสนาเป็น Pessimistic หรือ Optimistic ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง พุทธศาสนาไม่ใช่พวก Negative คือไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มี แต่ยอมรับว่าทุก ๆ อย่างมี เพียงแต่ว่าทุก ๆ อย่างนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น โดยความเป็นตัวเราหรือของเรา ที่ปฏิเสธว่าไม่มีอะไรเป็นตัวเราหรือของเรานั้น มิได้หมายความว่าเราไม่มีอะไรหรือไม่รับอะไร ไม่ใช้สอยบริโภคสิ่งใด เราคงมีอะไร หรือรับอะไร หรือบริโภคใช้สอยสิ่งใด ไปตามที่ควรจะมีจะเป็น แต่ว่าในภายในใจนั้น ไม่มีการยึดถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวตนของมัน หรือของใครเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ได้รับสิ่งอีกสิ่งหนึ่ง คือความเย็นอกเย็นใจ เบากาย เบาใจ โดยประการทั้งปวงตลอดเวลาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง เรียกว่าเรารับมันไว้เพื่อมาเป็นบ่าวเป็นทาสเรา เพื่ออำนวยความสะดวกสบายเท่าที่จำเป็น ไม่ยอมรับรู้อะไรมากไปกว่านั้น ความมีจึงมีค่าเท่ากับไม่มี หรือ ความไม่มี มีค่าเท่ากับความมี แล้วแต่เราจะมองดูมันในแง่ไหน แต่ความสำคัญส่วนใหญ่นั้น เราจะยังคงเอาไว้แต่จิตใจที่หวั่นไหวไม่ทุกข์ร้อน หรือลิงโลดไป เพราะการได้การเสียไม่ว่าสิ่งใดหมด จิตใจชนิดนี้ไม่ต้องการที่จะรับ และไม่ต้องการที่จะปฏิเสธ จึงเป็นปกติอยู่ได้ พุทธศาสนาสอนให้เรามีจิตใจอย่างนี้ คือ ให้มีจิตใจเป็นอิสระอยู่เหนือการรับ และการปฏิเสธโดยประการทั้งปวง ฉะนั้นจะจัดว่าเป็น Negative ก็ไม่ได้ เป็น Positive ก็ไม่ได้ เมื่อจัดเป็นอะไรไม่ได้โดยส่วนเดียว ก็จัดว่าเป็นสายกลางอยู่ดี หรืออยู่เหนือการที่จะต้องเป็นทั้งสองอย่างนั้น ซึ่งเรียกว่าอยู่เหนือโลก หรือพ้นโลก ไม่หวั่นไหวไปตามสถานการณ์ทุกอย่างในโลก จึงอยู่เหนือความทุกข์ทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ทั้งในการคิด การพูด การทำ เพราะมีจิตเป็นอิสระจากกิเลสนั่นเอง
จริงอยู่ ที่คำอธิบายหลักพุทธศาสนา ส่วนมากเป็นไปในรูปซึ่งดูแล้วเป็นการปฏิเสธคือจะกล่าวอะไร ๆ มันก็ไม่เหมือนกับที่เขาพูดเขากล่าวกันอยู่ทั่วไป เป็นเหตุให้ต้องปฏิเสธสิ่งที่เขาพูดเขากล่าวกันอยู่ก่อนแทบทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นเหตุผลว่า พุทธศาสนาเป็นลัทธิพวกที่ปฏิเสธ โดยเฉพาะคือไปปฏิเสธว่า ไม่มีอะไรที่ควรสนใจหรือควรได้ ที่จริงนั้นพุทธศาสนายอมรับว่าสิ่งที่ควรสนใจ หรือควรได้นั้น มีอยู่โดยแน่นอน สิ่งนั้นก็คือภาวะแห่งความไม่มีทุกข์เลย เป็นภาวะที่เกิดมาจากความไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งใด ๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นว่าเป็นตัวเรา หรือของเรา ไม่ยึดมั่นแม้กระทั่งชีวิตเกียติยศชื่อเสียง หรืออะไร ๆ ทั้งสิ้น ที่คนทั่วไปเขายึดถือกัน ถ้ากล่าวอย่างสั้น ๆ ก็กล่าวว่า ได้แก่ความที่มีจิตเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวงนั่นเอง และเรียกภาวะอย่างนี้อย่างสั้น ๆ ว่า ความหลุดพ้น เมื่อถามว่าหลุดพ้นจากอะไร? ก็ต้องหมายความว่า หลุดพ้นจากทุกสิ่งที่มาครอบงำ หรือมาทำจิตไม่ให้เป็นอิสระ
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
หลักของการวางใจต่อพุทธศาสนา
พุทธศาสนาจะมีลักษณะ เป็นพวกที่มองในแง่ร้าย หรือพวกที่มองในแง่ดีโดยส่วนเดียวนั้นไม่ได้ด้วยกันทั้ง 2 อย่าง ซึ่งอาจจะกล่าวได้โดยง่าย ๆ ว่าเป็นพวกที่อยู่ตรงกลาง โดยที่สามารถมองเห็น สิ่งทุกสิ่งประกอบอยู่ด้วยคุณและโทษ แล้วแต่ว่าเราจะมองมันในแง่ไหน ที่ไหนหรือเวลาใด แต่แล้วก็จะไม่ยึดถือจนเกิดเป็นความดีใจขึ้น ในสิ่งที่เป็นคุณ และเกิดความเสียใจหรือทุกข์ใจขึ้นในสิ่งที่เป็นโทษ แต่จักเป็นผู้มีจิตว่าง หรือวางเฉยอยู่ได้ ในทุกสิ่งและทุกกรณี ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการที่มองโลก เห็นเป็นแง่ดีหรือแง่ร้ายไปโดยส่วนเดียวนั้น ต้องจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรืออย่างดีที่สุด ก็เป็นการมองอย่างเด็กอมมือ คือเห็นอะไรเท่าที่ตัวเห็น แล้วก็ว่ามันเป็นอย่างนั้นไปหมด รวมทั้งสิ่งที่ตัวยังไม่เคยเห็นอีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่ให้ความเป็นธรรมแก่พุทธศาสนา อย่าได้กล่าวว่าพุทธศาสนาเป็นพวกที่มองสิ่งทั้งปวง ในแง่ร้าย หรือในแง่ดีโดยส่วนเดียว แต่ประการใดเลย แต่พึงเข้าใจว่า พุทธศาสนามองสิ่งทั้งปวง ตามที่มันเป็นจริงอยู่อย่างไร ทั้งด้านนอกด้านใน และด้านลึกที่สุด ซึ่งเป็นนามธรรม ให้เข้าใจตามที่เป็นจริง แล้วเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นเท่าที่ควรจะเกี่ยวข้อง และในลักษณะที่ไม่เป็นทุกข์ แต่ประการใดเลยเท่านั้น ไม่มีอาการที่เรียกว่าติดในความดี หรืออึดอัดขัดใจเพราะความชั่วดังนี้เป็นต้น แต่ประการใดเลย ซึ่งจะปฏิบัติได้อย่างไรนั้นจะได้วินิจฉัยกันโดยละเอียดข้างหน้า และพึงถือว่า นั่นแหละคือตัวหลักแห่งการปฏิบัติ ที่แท้จริงของพุทธศาสนา
สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นว่า พุทธศาสนามีรูปเป็น Positive หรือ Negative นั้น ก็มีหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ คล้ายกันอีกกับข้อที่ว่า พุทธศาสนาเป็น Pessimistic หรือ Optimistic ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง พุทธศาสนาไม่ใช่พวก Negative คือไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มี แต่ยอมรับว่าทุก ๆ อย่างมี เพียงแต่ว่าทุก ๆ อย่างนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น โดยความเป็นตัวเราหรือของเรา ที่ปฏิเสธว่าไม่มีอะไรเป็นตัวเราหรือของเรานั้น มิได้หมายความว่าเราไม่มีอะไรหรือไม่รับอะไร ไม่ใช้สอยบริโภคสิ่งใด เราคงมีอะไร หรือรับอะไร หรือบริโภคใช้สอยสิ่งใด ไปตามที่ควรจะมีจะเป็น แต่ว่าในภายในใจนั้น ไม่มีการยึดถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวตนของมัน หรือของใครเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ได้รับสิ่งอีกสิ่งหนึ่ง คือความเย็นอกเย็นใจ เบากาย เบาใจ โดยประการทั้งปวงตลอดเวลาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง เรียกว่าเรารับมันไว้เพื่อมาเป็นบ่าวเป็นทาสเรา เพื่ออำนวยความสะดวกสบายเท่าที่จำเป็น ไม่ยอมรับรู้อะไรมากไปกว่านั้น ความมีจึงมีค่าเท่ากับไม่มี หรือ ความไม่มี มีค่าเท่ากับความมี แล้วแต่เราจะมองดูมันในแง่ไหน แต่ความสำคัญส่วนใหญ่นั้น เราจะยังคงเอาไว้แต่จิตใจที่หวั่นไหวไม่ทุกข์ร้อน หรือลิงโลดไป เพราะการได้การเสียไม่ว่าสิ่งใดหมด จิตใจชนิดนี้ไม่ต้องการที่จะรับ และไม่ต้องการที่จะปฏิเสธ จึงเป็นปกติอยู่ได้ พุทธศาสนาสอนให้เรามีจิตใจอย่างนี้ คือ ให้มีจิตใจเป็นอิสระอยู่เหนือการรับ และการปฏิเสธโดยประการทั้งปวง ฉะนั้นจะจัดว่าเป็น Negative ก็ไม่ได้ เป็น Positive ก็ไม่ได้ เมื่อจัดเป็นอะไรไม่ได้โดยส่วนเดียว ก็จัดว่าเป็นสายกลางอยู่ดี หรืออยู่เหนือการที่จะต้องเป็นทั้งสองอย่างนั้น ซึ่งเรียกว่าอยู่เหนือโลก หรือพ้นโลก ไม่หวั่นไหวไปตามสถานการณ์ทุกอย่างในโลก จึงอยู่เหนือความทุกข์ทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ทั้งในการคิด การพูด การทำ เพราะมีจิตเป็นอิสระจากกิเลสนั่นเอง
จริงอยู่ ที่คำอธิบายหลักพุทธศาสนา ส่วนมากเป็นไปในรูปซึ่งดูแล้วเป็นการปฏิเสธคือจะกล่าวอะไร ๆ มันก็ไม่เหมือนกับที่เขาพูดเขากล่าวกันอยู่ทั่วไป เป็นเหตุให้ต้องปฏิเสธสิ่งที่เขาพูดเขากล่าวกันอยู่ก่อนแทบทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นเหตุผลว่า พุทธศาสนาเป็นลัทธิพวกที่ปฏิเสธ โดยเฉพาะคือไปปฏิเสธว่า ไม่มีอะไรที่ควรสนใจหรือควรได้ ที่จริงนั้นพุทธศาสนายอมรับว่าสิ่งที่ควรสนใจ หรือควรได้นั้น มีอยู่โดยแน่นอน สิ่งนั้นก็คือภาวะแห่งความไม่มีทุกข์เลย เป็นภาวะที่เกิดมาจากความไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งใด ๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นว่าเป็นตัวเรา หรือของเรา ไม่ยึดมั่นแม้กระทั่งชีวิตเกียติยศชื่อเสียง หรืออะไร ๆ ทั้งสิ้น ที่คนทั่วไปเขายึดถือกัน ถ้ากล่าวอย่างสั้น ๆ ก็กล่าวว่า ได้แก่ความที่มีจิตเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวงนั่นเอง และเรียกภาวะอย่างนี้อย่างสั้น ๆ ว่า ความหลุดพ้น เมื่อถามว่าหลุดพ้นจากอะไร? ก็ต้องหมายความว่า หลุดพ้นจากทุกสิ่งที่มาครอบงำ หรือมาทำจิตไม่ให้เป็นอิสระ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.