ผลพวงจากวิกฤติวันศุกร์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๘ ก.ย.๕๕ จนถึงวันศุกร์กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ยังคงปรากฏร่องรอยของความเงียบเหงาหลงเหลืออยู่ในบางพื้นที่ รวมทั้งบางส่วนในจังหวัดสงขลา
มีเสียงเล็ก ๆ เหมือนมีนัยบางอย่างจากสัปบุรุษคนหนึ่งในระหว่างรอเวลาละหมาดที่มัสยิดกลางปัตตานีในวันนั้นว่า “ร้านค้าก็ปิด มัสยิดก็เงียบเหงา” เพราะวันนั้นดูเหมือนว่าผู้มาละหมาดจะบางตาผิดปกติ
ห่างจากมัสยิดไปไม่ไกล ร้านขายข้าวแกงคนมุสลิมที่ขายร่วมกับร้านขายน้ำชาของคนจีน เมื่อลูกค้ากินข้าวแกงก็ทำให้ร้านขายน้ำชาพลอยได้ลูกค้าร่วมมีรายได้เฉลี่ยกันไป ยิ่งวันใดเป็นวันตลาดนัดจะเนืองแน่นไปด้วยลูกค้าทั้งที่เป็นประชาชนธรรมดา ข้าราชการ ไทยพุทธ มุสลิม ทั้งขาประจำและขาจรมากมาย
ไม่เพียงแต่เป็นร้านที่มีลูกค้าหลากหลายเท่านั้น ร้านดังกล่าวยังเป็นร้านที่เปิดกิจการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ ซึ่งแสดงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันตลอดมา จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีผู้คนและลมหายใจของชุมชนที่ดำรงอยู่มายาวนาน
วันนี้บริเวณดังกล่าวเหลือแต่ความว่างเปล่า กับกุญแจคล้องลูกกรงเหล็กให้ดูต่างหน้า
แน่นอนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ กำลังจะถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่า ในห้วงหนึ่งพื้นที่แห่งนี้เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลความหวาดกลัวจากการข่มขู่ที่อาศัยเงื่อนไขวันศุกร์จนทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะประกอบอาชีพตามปกติเพราะกลัวผิดหลักศาสนา
ข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ได้มีหนังสือชี้แจงเมื่อวันที่ ๔ ต.ค.๕๕ ที่ผ่านมาโดยได้ยกบทบัญญัติของคัมภีร์อัลกุรอานโองการที่ ๙–๑๐ ความว่า “ดูกรผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เมื่อเสียงเรียกร้องสู่การละหมาดดังขึ้นในวันศุกร์ พวกเจ้าก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮ์เถิดและจงยุติการซื้อขายเสีย นั่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสูเจ้า หากพวกเจ้ารู้” “ครั้นเมื่อการประกอบพิธีละหมาด เสร็จสิ้นลง พวกเจ้าก็จงกระจายไปในแผ่นดินเถิด จงแสวงหาคุณูปการแห่งอัลลอฮ์และจงรำลึกถึงพระองค์ให้มาก เพื่อพวกเจ้าจะได้พบกับความสำเร็จ”
หนังสือดังกล่าวยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้จะเป็นวันศุกร์แต่อัลลอฮ์ก็ยังส่งเสริมให้ทำงานเพื่อแสวง หาคุณูปการที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้ สิ่งที่ผู้ทำงานทุกคนต้องรำลึกอยู่เสมอก็คือ เมื่อได้ยินเสียงอะซานเรียกร้องสู่การละหมาด งานทุกอย่างต้องยุติลง และบุคคลต้องเตรียมตัวไปละหมาดอย่างรีบเร่ง ครั้นเมื่อละหมาดเสร็จสิ้นแล้วก็รีบไปทำงานต่อโดยมีจิตรำลึกอยู่เสมอว่าบริโภคปัจจัยที่ได้มาล้วนเป็นคุณูปการแห่ง อัลลอฮ์ทั้งสิ้น
“ดังนั้นการข่มขู่ให้สุจริตชนหยุดทำงานในวันศุกร์ นับเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เป็นการแอบอ้างศาสนาอิสลามเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างมิชอบ และเป็นการกระทำที่อยู่นอกกรอบแนวทางของอัลลอฮ์อย่างสิ้นเชิง” หนังสือดังกล่าวสรุปในตอนท้าย
เป็นการอธิบายที่ชัดเจนที่สุด และยืนยันว่า การทำงานในวันศุกร์ไม่ขัดหลักศาสนา และยังได้บุญกับตนเองด้วยการสำนึกว่ารายได้ที่ได้มาล้วนมาจากความเมตตาของอัลลอฮ์ ส่วนการข่มขู่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไม่ให้ประกอบกิจการในวันศุกร์ โดยมีเจตนาจะทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องศาสนาอิสลามอย่างเพียงพอสำคัญผิดคิดว่าการเป็นการฝ่าฝืนหลักศาสนา และต้องได้รับโทษถึงชีวิตโดยการตัดสินของพวกเขา นับเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในกุรอานมอบหมายให้ผู้ใดมีสิทธิกระทำการเช่นนั้น
คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของมุสลิมคือการเกรงกลัวต่อองค์อัลลอฮ์ ด้วยการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการปฏิบัติในสิ่งที่ศาสนาห้าม การเกรงกลัวต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ย่อมไม่ใช่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน ดังนั้นมุสลิมที่ปรารถนาแสวงความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ควรจะยึดแนวทางใดระหว่างแนวทางการชี้แจงของท่านจุฬาราชมนตรีกับการข่มขู่ของพวกมารร้ายไซฏอน.
————————————————————————— จ่าสิบเอกอับดุลกอเดร์ สะมานะอะ ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาค ๔ ส่วนหน้า /เรียบเรียง
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“จุฬาราชมนตรียืนยัน ทำงานวันศุกร์ไม่ผิดหลักศาสนา”
ผลพวงจากวิกฤติวันศุกร์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๘ ก.ย.๕๕ จนถึงวันศุกร์กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ยังคงปรากฏร่องรอยของความเงียบเหงาหลงเหลืออยู่ในบางพื้นที่ รวมทั้งบางส่วนในจังหวัดสงขลา
มีเสียงเล็ก ๆ เหมือนมีนัยบางอย่างจากสัปบุรุษคนหนึ่งในระหว่างรอเวลาละหมาดที่มัสยิดกลางปัตตานีในวันนั้นว่า “ร้านค้าก็ปิด มัสยิดก็เงียบเหงา” เพราะวันนั้นดูเหมือนว่าผู้มาละหมาดจะบางตาผิดปกติ
ห่างจากมัสยิดไปไม่ไกล ร้านขายข้าวแกงคนมุสลิมที่ขายร่วมกับร้านขายน้ำชาของคนจีน เมื่อลูกค้ากินข้าวแกงก็ทำให้ร้านขายน้ำชาพลอยได้ลูกค้าร่วมมีรายได้เฉลี่ยกันไป ยิ่งวันใดเป็นวันตลาดนัดจะเนืองแน่นไปด้วยลูกค้าทั้งที่เป็นประชาชนธรรมดา ข้าราชการ ไทยพุทธ มุสลิม ทั้งขาประจำและขาจรมากมาย
ไม่เพียงแต่เป็นร้านที่มีลูกค้าหลากหลายเท่านั้น ร้านดังกล่าวยังเป็นร้านที่เปิดกิจการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ ซึ่งแสดงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันตลอดมา จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีผู้คนและลมหายใจของชุมชนที่ดำรงอยู่มายาวนาน
วันนี้บริเวณดังกล่าวเหลือแต่ความว่างเปล่า กับกุญแจคล้องลูกกรงเหล็กให้ดูต่างหน้า
แน่นอนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ กำลังจะถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่า ในห้วงหนึ่งพื้นที่แห่งนี้เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลความหวาดกลัวจากการข่มขู่ที่อาศัยเงื่อนไขวันศุกร์จนทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะประกอบอาชีพตามปกติเพราะกลัวผิดหลักศาสนา
ข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ได้มีหนังสือชี้แจงเมื่อวันที่ ๔ ต.ค.๕๕ ที่ผ่านมาโดยได้ยกบทบัญญัติของคัมภีร์อัลกุรอานโองการที่ ๙–๑๐ ความว่า “ดูกรผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เมื่อเสียงเรียกร้องสู่การละหมาดดังขึ้นในวันศุกร์ พวกเจ้าก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮ์เถิดและจงยุติการซื้อขายเสีย นั่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสูเจ้า หากพวกเจ้ารู้” “ครั้นเมื่อการประกอบพิธีละหมาด เสร็จสิ้นลง พวกเจ้าก็จงกระจายไปในแผ่นดินเถิด จงแสวงหาคุณูปการแห่งอัลลอฮ์และจงรำลึกถึงพระองค์ให้มาก เพื่อพวกเจ้าจะได้พบกับความสำเร็จ”
หนังสือดังกล่าวยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้จะเป็นวันศุกร์แต่อัลลอฮ์ก็ยังส่งเสริมให้ทำงานเพื่อแสวง หาคุณูปการที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้ สิ่งที่ผู้ทำงานทุกคนต้องรำลึกอยู่เสมอก็คือ เมื่อได้ยินเสียงอะซานเรียกร้องสู่การละหมาด งานทุกอย่างต้องยุติลง และบุคคลต้องเตรียมตัวไปละหมาดอย่างรีบเร่ง ครั้นเมื่อละหมาดเสร็จสิ้นแล้วก็รีบไปทำงานต่อโดยมีจิตรำลึกอยู่เสมอว่าบริโภคปัจจัยที่ได้มาล้วนเป็นคุณูปการแห่ง อัลลอฮ์ทั้งสิ้น
“ดังนั้นการข่มขู่ให้สุจริตชนหยุดทำงานในวันศุกร์ นับเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เป็นการแอบอ้างศาสนาอิสลามเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างมิชอบ และเป็นการกระทำที่อยู่นอกกรอบแนวทางของอัลลอฮ์อย่างสิ้นเชิง” หนังสือดังกล่าวสรุปในตอนท้าย
เป็นการอธิบายที่ชัดเจนที่สุด และยืนยันว่า การทำงานในวันศุกร์ไม่ขัดหลักศาสนา และยังได้บุญกับตนเองด้วยการสำนึกว่ารายได้ที่ได้มาล้วนมาจากความเมตตาของอัลลอฮ์ ส่วนการข่มขู่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไม่ให้ประกอบกิจการในวันศุกร์ โดยมีเจตนาจะทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องศาสนาอิสลามอย่างเพียงพอสำคัญผิดคิดว่าการเป็นการฝ่าฝืนหลักศาสนา และต้องได้รับโทษถึงชีวิตโดยการตัดสินของพวกเขา นับเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดในกุรอานมอบหมายให้ผู้ใดมีสิทธิกระทำการเช่นนั้น
คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของมุสลิมคือการเกรงกลัวต่อองค์อัลลอฮ์ ด้วยการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการปฏิบัติในสิ่งที่ศาสนาห้าม การเกรงกลัวต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ย่อมไม่ใช่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน ดังนั้นมุสลิมที่ปรารถนาแสวงความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ควรจะยึดแนวทางใดระหว่างแนวทางการชี้แจงของท่านจุฬาราชมนตรีกับการข่มขู่ของพวกมารร้ายไซฏอน.
—————————————————————————
จ่าสิบเอกอับดุลกอเดร์ สะมานะอะ ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาค ๔ ส่วนหน้า /เรียบเรียง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.