วันที่ 20 มีนาคม 2558 บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) โดยร้อยตรีไพโรจน์ รัตตกุล กรรมการผู้จัดการได้ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรน้ำ และการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ จึงร่วมสร้างฝาย 1 ใน 89 ฝายของโครงการ “คนสร้างฝาย ชาวสงขลา ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างฝายถวายพ่อ” เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มข้าราชการบำนาญ พ่อค้า ประชาชน ภายใต้ชื่อกลุ่ม “คนสร้างฝายชะลอน้ำ สงขลา” ณ บ้านเก่าร้าง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2547 และฝายที่ดำเนินการก่อสร้างในวันนี้เป็นฝายคอนกรีตตัวที่ 4 ความยาว 10 เมตร กว้าง 60 เซนติเมตร ประโยชน์จากการสร้างฝายในครั้งนี้คือจะขจัดปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมของอำเภอหาดใหญ่ และคลองหอยโข่ง รักษาระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมของป่าต้นน้ำ ส่งเสริมการเกษตร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งโค้ก-หาดทิพย์ได้รับเกียรติจากร้อยตรีปกครอง จินดาพล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน พร้อมด้วยอาสาสมัครร่วม 100 คน จากทหาร ตำรวจ ชาวบ้านเก่าร้าง สื่อมวลชน และอาสาสมัครจากพนักงานหาดทิพย์
น้ำคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้นกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทยอันประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด จึงจัดโครงการการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้โปรแกรม “รักน้ำ” เพื่อให้ความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนแก่ธรรมชาติและความยั่งยืนของชุมชน เป้าหมายคือ “การคืนน้ำสู่ธรรมชาติ” โดยการคืนน้ำสู่ชุมชนและธรรมชาติอย่างปลอดภัยในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ผลิตเครื่องดื่ม ในปี 2563 ณ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา สามารถคืนน้ำกลับสู่ผิวดินได้ในจำนวนที่มากกว่าปริมาณน้ำที่เราใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมด และสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 1 ล้านคน ด้วยหลักการ Reduce (ลดการใช้น้ำ) ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มในโรงงานทั้ง 8 แห่งทั่วประเทศอย่างเหมาะสม Recycle (นำน้ำกลับมาใช้) โดยผ่านการบำบัดน้ำ จนได้น้ำสะอาดในระดับที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ และ Replenish (คืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติ) ครอบคลุมพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่ม ภาคใต้ คือ สงขลา สุราษฏร์ธานี
อาทิ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรลุ่มน้ำคลองยัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี, โครงการสร้างฝายชะลอน้ำและประปาภูเขาหมู่บ้านคลองปาว โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย สงขลาฯ โครงการน้ำทิพย์ปันน้ำใจช่วยกาชาด โครงการพี่น้ำน้องรักษ์น้ำตามแนวพระราชดำริ เป็นต้น.
ภาพ/ข่าว สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บ้านข่าว
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
โค้ก-หาดทิพย์จับมือ “คนสร้างฝายชะลอน้ำสงขลา” เทิดพระเกียรติ 88 พรรษา คลายปัญหาน้ำท่วม อำเภอหาดใหญ่ คลองหอยโข่ง
วันที่ 20 มีนาคม 2558 บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) โดยร้อยตรีไพโรจน์ รัตตกุล กรรมการผู้จัดการได้ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรน้ำ และการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ จึงร่วมสร้างฝาย 1 ใน 89 ฝายของโครงการ “คนสร้างฝาย ชาวสงขลา ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างฝายถวายพ่อ” เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มข้าราชการบำนาญ พ่อค้า ประชาชน ภายใต้ชื่อกลุ่ม “คนสร้างฝายชะลอน้ำ สงขลา” ณ บ้านเก่าร้าง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2547 และฝายที่ดำเนินการก่อสร้างในวันนี้เป็นฝายคอนกรีตตัวที่ 4 ความยาว 10 เมตร กว้าง 60 เซนติเมตร ประโยชน์จากการสร้างฝายในครั้งนี้คือจะขจัดปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมของอำเภอหาดใหญ่ และคลองหอยโข่ง รักษาระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมของป่าต้นน้ำ ส่งเสริมการเกษตร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งโค้ก-หาดทิพย์ได้รับเกียรติจากร้อยตรีปกครอง จินดาพล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน พร้อมด้วยอาสาสมัครร่วม 100 คน จากทหาร ตำรวจ ชาวบ้านเก่าร้าง สื่อมวลชน และอาสาสมัครจากพนักงานหาดทิพย์
น้ำคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้นกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทยอันประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด จึงจัดโครงการการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้โปรแกรม “รักน้ำ” เพื่อให้ความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนแก่ธรรมชาติและความยั่งยืนของชุมชน เป้าหมายคือ “การคืนน้ำสู่ธรรมชาติ” โดยการคืนน้ำสู่ชุมชนและธรรมชาติอย่างปลอดภัยในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ผลิตเครื่องดื่ม ในปี 2563 ณ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา สามารถคืนน้ำกลับสู่ผิวดินได้ในจำนวนที่มากกว่าปริมาณน้ำที่เราใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมด และสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 1 ล้านคน ด้วยหลักการ Reduce (ลดการใช้น้ำ) ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มในโรงงานทั้ง 8 แห่งทั่วประเทศอย่างเหมาะสม Recycle (นำน้ำกลับมาใช้) โดยผ่านการบำบัดน้ำ จนได้น้ำสะอาดในระดับที่สัตว์น้ำสามารถอาศัยอยู่ได้ และ Replenish (คืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติ) ครอบคลุมพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่ม ภาคใต้ คือ สงขลา สุราษฏร์ธานี
อาทิ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรลุ่มน้ำคลองยัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี, โครงการสร้างฝายชะลอน้ำและประปาภูเขาหมู่บ้านคลองปาว โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย สงขลาฯ โครงการน้ำทิพย์ปันน้ำใจช่วยกาชาด โครงการพี่น้ำน้องรักษ์น้ำตามแนวพระราชดำริ เป็นต้น.
ภาพ/ข่าว สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024