วันที่ 17 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายชัยวัฒน์ ศิรินุพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษาของโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 3) การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการลงทุน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้แทนองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ และสื่อมวลชนเข้าร่วม
สำหรับความเป็นมาของโครงการ โดยกรมทางหลวงรับทราบปัญหาของทางหลวงหมายเลข 4 ถนนกาญจนวนิช ที่ปัจจุบันมีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากขึ้น ส่งผลให้การคมนาคมขนส่งเกิดความล่าช้า อีกทั้งเส้นทางสายนี้ถือเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญระหว่างประเทศและการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้กรมทางหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้วางแผนพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย ตามแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย ทั้งนี้โครงการดังกล่าวนี้ได้ทำการศึกษาไว้เมื่อปี 2548 ซึ่งผลการศึกษาขณะนั้นยังไม่มีความเป็นไปได้ทางการเงินและการลงทุนโดยเสนอแนะให้ทำการศึกษาอีกครั้งก่อนการดำเนินโครงการจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทาง และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าเกิดความคล่องตัว สะดวก ปลอดภัย ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด.
ภาพ/ข่าว สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บ้านข่าว
May 8, 2025
May 7, 2025
May 6, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กรมทางหลวงจัดประชุมสรุปผลการศึกษาของโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 3) การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการลงทุน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย
วันที่ 17 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายชัยวัฒน์ ศิรินุพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษาของโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 3) การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการลงทุน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้แทนองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ และสื่อมวลชนเข้าร่วม
สำหรับความเป็นมาของโครงการ โดยกรมทางหลวงรับทราบปัญหาของทางหลวงหมายเลข 4 ถนนกาญจนวนิช ที่ปัจจุบันมีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากขึ้น ส่งผลให้การคมนาคมขนส่งเกิดความล่าช้า อีกทั้งเส้นทางสายนี้ถือเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญระหว่างประเทศและการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้กรมทางหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้วางแผนพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย ตามแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย ทั้งนี้โครงการดังกล่าวนี้ได้ทำการศึกษาไว้เมื่อปี 2548 ซึ่งผลการศึกษาขณะนั้นยังไม่มีความเป็นไปได้ทางการเงินและการลงทุนโดยเสนอแนะให้ทำการศึกษาอีกครั้งก่อนการดำเนินโครงการจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทาง และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าเกิดความคล่องตัว สะดวก ปลอดภัย ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด.
ภาพ/ข่าว สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลับมาอีกครั้ง กับงาน EGAT EV on ...
May 8, 2025
การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 16 ชวนศิลปินไทย ถ่ายทอดผลงานที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ เวทีจิตรกรรมเดียวในไทยที่ต่อยอดศิลปินให้เติบโตในระดับนานาชาติ
May 7, 2025
ททท. เปิดคอร์สอบรม! (ไม่มีค่าใช้จ่าย
) ให้คุณได้เป็นเจ้าบ้านที่ดี พัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
May 7, 2025
อำเภอขนอมประชุมคณะกรรมการบริหารงานแบบบูรณาการอำเภอ (กบอ.)
May 6, 2025