มรภ.สงขลา เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IMT-GT ผสานความร่วมมือ 3 ประเทศ ไทย อินโดฯ มาเลย์ ร่วมอนุรักษ์ 6 เมืองเก่า ฟื้นมรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
ดร.ภวิกา บุณยพิพัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IMT-GT 2015 International Symposium on Livable Old Town Tourism ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2558 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มรภ.สงขลา ว่า สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้บรรจุเมืองสงขลาและภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องในการยกระดับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT ของยุทธศาสตร์ Old Town Tourism เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างความร่วมมือระหว่าง 6 เมืองเก่าใน 3 ประเทศ ได้แก่ 1. เมืองสงขลาและเมืองภูเก็ตของประเทศไทย 2. เมืองปาเลมบังและเมืองโกตาซาวาลุนโตของประเทศอินโดนีเซีย 3. เมืองมะละกาและเมืองปีนังของประเทศมาเลเซีย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง มรภ.สงขลา กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา องค์กรภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนสรรหาผลงานการค้นคว้าทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองเก่า ทั้งด้านการอนุรักษ์เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว นำมาปรับใช้ในการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา เพื่อยกระดับเมืองเก่าสงขลาไปสู่การเป็นเมืองมรดกแห่งภูมิภาคอาเซียน และเมืองมรดกโลก ร่วมกับเมืองเก่ามะละกา เมืองเก่าปีนัง และเมืองเก่าอื่นๆ ในภูมิภาคนี้
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IMT-GT เป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องเมืองเก่าสงขลา และเมืองเก่าอีก 5 เมือง จาก 3 ประเทศ ช่วยสร้างโลกทัศน์และความตระหนักในคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองที่อาศัยอยู่ กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรักษาและฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่าง 6 เมืองเก่า เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับ จ.สงขลา โดยจะมีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ มองไปข้างหน้าสู่ความร่วมมือเมืองเก่าที่น่าเที่ยว และการนำเสนอผลงานวิชาการจากตัวแทนของทั้ง 3 ประเทศ สอดคล้องกับประกาศคณะรัฐมนตรีเรื่องขอบเขตเมืองเก่าสงขลา พ.ศ.2554 ที่ประกาศให้สงขลาเป็น 1 ใน 10 เมืองเก่า และเป็น 1 ใน 2 เมืองในภาคใต้ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี อีกทั้งยังมีหลักฐานของงานศิลปกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรนั้น ๆ.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา จัดประชุมนานาชาติ IMT-GT สานความร่วมมือวัฒนธรรม ไทย อินโดฯ มาเลย์
มรภ.สงขลา เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IMT-GT ผสานความร่วมมือ 3 ประเทศ ไทย อินโดฯ มาเลย์ ร่วมอนุรักษ์ 6 เมืองเก่า ฟื้นมรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
ดร.ภวิกา บุณยพิพัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IMT-GT 2015 International Symposium on Livable Old Town Tourism ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2558 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มรภ.สงขลา ว่า สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้บรรจุเมืองสงขลาและภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องในการยกระดับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT ของยุทธศาสตร์ Old Town Tourism เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างความร่วมมือระหว่าง 6 เมืองเก่าใน 3 ประเทศ ได้แก่ 1. เมืองสงขลาและเมืองภูเก็ตของประเทศไทย 2. เมืองปาเลมบังและเมืองโกตาซาวาลุนโตของประเทศอินโดนีเซีย 3. เมืองมะละกาและเมืองปีนังของประเทศมาเลเซีย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง มรภ.สงขลา กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา องค์กรภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนสรรหาผลงานการค้นคว้าทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองเก่า ทั้งด้านการอนุรักษ์เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว นำมาปรับใช้ในการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา เพื่อยกระดับเมืองเก่าสงขลาไปสู่การเป็นเมืองมรดกแห่งภูมิภาคอาเซียน และเมืองมรดกโลก ร่วมกับเมืองเก่ามะละกา เมืองเก่าปีนัง และเมืองเก่าอื่นๆ ในภูมิภาคนี้
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IMT-GT เป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องเมืองเก่าสงขลา และเมืองเก่าอีก 5 เมือง จาก 3 ประเทศ ช่วยสร้างโลกทัศน์และความตระหนักในคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองที่อาศัยอยู่ กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรักษาและฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่าง 6 เมืองเก่า เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับ จ.สงขลา โดยจะมีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ มองไปข้างหน้าสู่ความร่วมมือเมืองเก่าที่น่าเที่ยว และการนำเสนอผลงานวิชาการจากตัวแทนของทั้ง 3 ประเทศ สอดคล้องกับประกาศคณะรัฐมนตรีเรื่องขอบเขตเมืองเก่าสงขลา พ.ศ.2554 ที่ประกาศให้สงขลาเป็น 1 ใน 10 เมืองเก่า และเป็น 1 ใน 2 เมืองในภาคใต้ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี อีกทั้งยังมีหลักฐานของงานศิลปกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรนั้น ๆ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024