วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายชัยวัฒน์ ศิรินุพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในงานสัมมนา “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” โดยมีนายพิชิต เดชนีรนาท ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 กล่าวรายงาน พร้อมทั้งนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม
บีโอไอจัดสัมมนาชี้แจงยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่แก่นักลงทุนในภาคใต้ที่สงขลา มั่นใจช่วยกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ทั้งภาคอุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหาร ด้าน ผอ.บีโอไอสงขลาชี้ภาพรวมการลงทุนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ปี 2557 รวมมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นหนึ่งในงานสัมมนาที่บีโอไอกำหนดจัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจถึงรายละเอียดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่แก่ผู้ประกอบการในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยจากการจัดงานสัมมนาที่ผ่านมาในจังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้าร่วมกว่า 2,000 คน ส่วนใหญ่ได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทกิจการ สิทธิประโยชน์ ด้านการลงทุน ตลอดจนขั้นตอนระเบียบต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เพื่อนำไปใช้ในการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอต่อไป
สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้บีโอไอมั่นใจยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่จะช่วยสนับสนุนนักลงทุนทั้งไทยและจากต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ให้สามารถยกระดับและพัฒนาโครงการลงทุนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตรในพื้นที่และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับพื้นที่ภาคใต้ในสาขาต่าง ๆ
นอกจากนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสตูล รวมทั้งพื้นที่ใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และอำเภอเทพา บีโอไอจึงให้สิทธิประโยชน์สูงสุด อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร อากรขาเข้าวัตถุดิบร้อยละ 75 สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นเวลา 5 ปี หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเวลา 15 ปี หักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีมาตรการการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยโครงการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่ (ตาก ตราด สระแก้ว สงขลา มุกดาหาร) หากเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี จากเกณฑ์ปกติ
ด้านนายพิชิต เดชนีรนาท ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 (บีโอไอสงขลา) เปิดเผยว่า สถิติโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมใน 14 จังหวัดภาคใต้ตลอดปี 2557 (มกราคม-ธันวาคม) มีจำนวน 93 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 18,753 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 3,821 คน โดยกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอันดับหนึ่งคือ กิจการบริการและสาธารณูปโภคจำนวน 46 โครงการ มูลค่ารวม 12,869 ล้านบาท อาทิ กิจการพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานไฟฟ้าจากขยะ สวนสนุก และโรงแรม เป็นต้น อันดับสองคือ กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตรจำนวน 29 โครงการ มูลค่ารวม 4,346 ล้านบาท อาทิ น้ำมันปาล์ม ถุงมือยาง ก๊าซชีวภาพ อาหารสัตว์ เป็นต้น และอันดับสาม กิจการเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติกจำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวม 846 ล้านบาท อาทิ การผลิตขวดพลาสติก ถุงมือยาง เป็นต้น
สำหรับสถิติการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนใน 14 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ปี 2553 – 2557 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 468 โครงการ เงินลงทุน 136,587 ล้านบาท สร้างการจ้างงาน 47,581 คน ส่วนใหญ่จะตั้งโครงการที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดกระบี่ และนครศรีธรรมราชตามลำดับ.
ภาพ/ข่าว สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บ้านข่าว
July 26, 2024
July 24, 2023
July 6, 2023
June 16, 2023
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
บีโอไอมั่นใจยุทธศาสตร์ใหม่กระตุ้นลงทุนภาคใต้ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายชัยวัฒน์ ศิรินุพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในงานสัมมนา “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” โดยมีนายพิชิต เดชนีรนาท ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 กล่าวรายงาน พร้อมทั้งนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม
บีโอไอจัดสัมมนาชี้แจงยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่แก่นักลงทุนในภาคใต้ที่สงขลา มั่นใจช่วยกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ทั้งภาคอุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหาร ด้าน ผอ.บีโอไอสงขลาชี้ภาพรวมการลงทุนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ปี 2557 รวมมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นหนึ่งในงานสัมมนาที่บีโอไอกำหนดจัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจถึงรายละเอียดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่แก่ผู้ประกอบการในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยจากการจัดงานสัมมนาที่ผ่านมาในจังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนเข้าร่วมกว่า 2,000 คน ส่วนใหญ่ได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทกิจการ สิทธิประโยชน์ ด้านการลงทุน ตลอดจนขั้นตอนระเบียบต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เพื่อนำไปใช้ในการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอต่อไป
สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้บีโอไอมั่นใจยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่จะช่วยสนับสนุนนักลงทุนทั้งไทยและจากต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ให้สามารถยกระดับและพัฒนาโครงการลงทุนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตรในพื้นที่และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับพื้นที่ภาคใต้ในสาขาต่าง ๆ
นอกจากนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสตูล รวมทั้งพื้นที่ใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และอำเภอเทพา บีโอไอจึงให้สิทธิประโยชน์สูงสุด อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร อากรขาเข้าวัตถุดิบร้อยละ 75 สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นเวลา 5 ปี หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเวลา 15 ปี หักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีมาตรการการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยโครงการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่ (ตาก ตราด สระแก้ว สงขลา มุกดาหาร) หากเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี จากเกณฑ์ปกติ
ด้านนายพิชิต เดชนีรนาท ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 (บีโอไอสงขลา) เปิดเผยว่า สถิติโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมใน 14 จังหวัดภาคใต้ตลอดปี 2557 (มกราคม-ธันวาคม) มีจำนวน 93 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 18,753 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 3,821 คน โดยกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอันดับหนึ่งคือ กิจการบริการและสาธารณูปโภคจำนวน 46 โครงการ มูลค่ารวม 12,869 ล้านบาท อาทิ กิจการพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานไฟฟ้าจากขยะ สวนสนุก และโรงแรม เป็นต้น อันดับสองคือ กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตรจำนวน 29 โครงการ มูลค่ารวม 4,346 ล้านบาท อาทิ น้ำมันปาล์ม ถุงมือยาง ก๊าซชีวภาพ อาหารสัตว์ เป็นต้น และอันดับสาม กิจการเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติกจำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวม 846 ล้านบาท อาทิ การผลิตขวดพลาสติก ถุงมือยาง เป็นต้น
สำหรับสถิติการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนใน 14 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ปี 2553 – 2557 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 468 โครงการ เงินลงทุน 136,587 ล้านบาท สร้างการจ้างงาน 47,581 คน ส่วนใหญ่จะตั้งโครงการที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดกระบี่ และนครศรีธรรมราชตามลำดับ.
ภาพ/ข่าว สุจินต์ ชูแสง
ผู้สื่อข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์บ้านข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทพไทย คว้า 2 รางวัล อย. ควอลิตี้ อวอร์ด ...
July 26, 2024
มันนี่เอ็กซ์โปหาดใหญ่ 2023 เงินสะพัดทะลุ 8 พันล้านบาท
July 24, 2023
ไทยเวียตออกโปรฯ “Fly Green Sale” บินต่างประเทศเริ่ม 1,777 บาท
July 6, 2023
วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย พบปะสื่อมวลชนจังหวัดสงขลา ตอกย้ำแผนการจำหน่ายเฉพาะรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบในปี 2025 รถวอลโว่ฉลองครบรอบ ...
June 16, 2023