มรภ.สงขลา วิจัยต้นทุนโลจิสติกส์ขนส่งผลปาล์มน้ำมันภาคใต้ แนะเกษตรกรและผู้ประกอบการปรับตัวผลิตสินค้าต้นทุนต่ำ แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดฯ มาเลเซีย
นางสาวผจงจิต พิจิตบรรจง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดเผยว่า จากการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงเพื่อเปิดเสรีทางการค้าทั้งกรอบพหุภาคี กรอบทวิภาคีกับประเทศต่างๆ และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยมีการยกเลิกภาษีนำเข้า ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในสินค้าที่คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากพันธกิจการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า เนื่องจากการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทย หากประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มราคาถูกจากประเทศเหล่านั้นในปริมาณมาก อาจทำให้ราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศตกต่ำลงได้ จึงจำเป็นที่เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย ต้องปรับตัวเพื่อผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันพืชอื่นได้ ตนและผู้ร่วมวิจัย คือ รศ.ดร.ระพีพันธ์ ปิตาคะโส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ดร.ปรุฬ มะยะเฉี่ยว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนโลจิสติกส์ในด้านการขนส่งผลปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่สวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร จนขนส่งไปขายยังโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และเพื่อให้รัฐบาล องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลืออย่างตรงจุด
นางสาวผจงจิต กล่าวอีกว่า ในการวิจัยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งระบบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กิจกรรมของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมที่ 1 การเก็บเกี่ยวและการเคลื่อนย้ายผลปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่จ้างแรงงานเก็บเกี่ยว กิจกรรมที่ 2 การขนส่งผลปาล์มน้ำมันไปยังสถานที่รับซื้อ ได้แก่ สหกรณ์ปาล์มน้ำมันและพ่อค้าคนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรดำเนินการขนส่งเอง เลือกจำหน่ายให้กับสหกรณ์ปาล์มน้ำมัน และใช้รถกระบะในการขนส่ง และ กิจกรรมที่ 3 การติดต่อสื่อสารกับสถานที่รับซื้อ สำหรับกิจกรรมของสหกรณ์ปาล์มน้ำมัน/พ่อค้าคนกลาง แบ่งเป็น 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การเคลื่อนย้ายผลปาล์มน้ำมัน กิจกรรมที่ 2 คือ การจัดการและการจัดเก็บผลปาล์มน้ำมัน กิจกรรมที่ 3 คือ การขนส่งผลปาล์มน้ำมันไปยังโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ส่วนใหญ่สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน/พ่อค้าคนกลาง ดำเนินการขนส่งเอง และ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการติดต่อสื่อสารกับเกษตรกรและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โดยต้นทุนโลจิสติกส์รวมอยู่ที่ 0.7152 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้นทุนของเกษตรกร 0.5606 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนของสหกรณ์ปาล์มน้ำมัน/พ่อค้าคนกลาง 0.1546 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งตนได้เข้าร่วมนำเสนองานวิจัยระดับนานาชาติ ในการประชุมวิชาการ The 15th Asia Pacific Industrial Engineering & Management Systems Conference (APIEMS 2014) ณ ประเทศเกาหลีใต้ ในหัวข้อเรื่อง บัญชีต้นทุนโลจิสติกส์ของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ของไทย Logistics Cost Accounting of Oil Palm in The Southern Region of Thailand และเห็นว่าในอนาคต ควรมีการศึกษาวิจัยถึงพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลปาล์มน้ำมัน ในเขตพื้นที่ภาคใต้.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา วิจัยลดต้นทุนขนส่งปาล์มน้ำมัน
มรภ.สงขลา วิจัยต้นทุนโลจิสติกส์ขนส่งผลปาล์มน้ำมันภาคใต้ แนะเกษตรกรและผู้ประกอบการปรับตัวผลิตสินค้าต้นทุนต่ำ แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดฯ มาเลเซีย
นางสาวผจงจิต พิจิตบรรจง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดเผยว่า จากการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงเพื่อเปิดเสรีทางการค้าทั้งกรอบพหุภาคี กรอบทวิภาคีกับประเทศต่างๆ และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยมีการยกเลิกภาษีนำเข้า ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในสินค้าที่คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากพันธกิจการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า เนื่องจากการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทย หากประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มราคาถูกจากประเทศเหล่านั้นในปริมาณมาก อาจทำให้ราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศตกต่ำลงได้ จึงจำเป็นที่เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย ต้องปรับตัวเพื่อผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตน้ำมันพืชอื่นได้ ตนและผู้ร่วมวิจัย คือ รศ.ดร.ระพีพันธ์ ปิตาคะโส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ดร.ปรุฬ มะยะเฉี่ยว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนโลจิสติกส์ในด้านการขนส่งผลปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่สวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร จนขนส่งไปขายยังโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และเพื่อให้รัฐบาล องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลืออย่างตรงจุด
นางสาวผจงจิต กล่าวอีกว่า ในการวิจัยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งระบบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กิจกรรมของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมที่ 1 การเก็บเกี่ยวและการเคลื่อนย้ายผลปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่จ้างแรงงานเก็บเกี่ยว กิจกรรมที่ 2 การขนส่งผลปาล์มน้ำมันไปยังสถานที่รับซื้อ ได้แก่ สหกรณ์ปาล์มน้ำมันและพ่อค้าคนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรดำเนินการขนส่งเอง เลือกจำหน่ายให้กับสหกรณ์ปาล์มน้ำมัน และใช้รถกระบะในการขนส่ง และ กิจกรรมที่ 3 การติดต่อสื่อสารกับสถานที่รับซื้อ สำหรับกิจกรรมของสหกรณ์ปาล์มน้ำมัน/พ่อค้าคนกลาง แบ่งเป็น 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การเคลื่อนย้ายผลปาล์มน้ำมัน กิจกรรมที่ 2 คือ การจัดการและการจัดเก็บผลปาล์มน้ำมัน กิจกรรมที่ 3 คือ การขนส่งผลปาล์มน้ำมันไปยังโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ส่วนใหญ่สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน/พ่อค้าคนกลาง ดำเนินการขนส่งเอง และ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการติดต่อสื่อสารกับเกษตรกรและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โดยต้นทุนโลจิสติกส์รวมอยู่ที่ 0.7152 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้นทุนของเกษตรกร 0.5606 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนของสหกรณ์ปาล์มน้ำมัน/พ่อค้าคนกลาง 0.1546 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งตนได้เข้าร่วมนำเสนองานวิจัยระดับนานาชาติ ในการประชุมวิชาการ The 15th Asia Pacific Industrial Engineering & Management Systems Conference (APIEMS 2014) ณ ประเทศเกาหลีใต้ ในหัวข้อเรื่อง บัญชีต้นทุนโลจิสติกส์ของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ของไทย Logistics Cost Accounting of Oil Palm in The Southern Region of Thailand และเห็นว่าในอนาคต ควรมีการศึกษาวิจัยถึงพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลปาล์มน้ำมัน ในเขตพื้นที่ภาคใต้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024