“ซุ้มประตูทางเข้าสวนประวัติศาสตร์ฯ ประติมากรรม ”เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน”
ได้มีโอกาสแวะเข้าไปเยี่ยมชมสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงสะพานติณสูลานนท์ หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา บนเนื้อที่ 140 ไร่ ภายในสวนได้จัดบรรยากาศ ภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อม ได้สวยงามเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ และน่าประทับใจอย่างยิ่ง คณะกรรมการบริหารสวนประวัติศาสตร์ฯ ได้ให้การต้อนรับและเชิญพวกเราที่ห้องประชุมสำนักงานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ฯ
คุณบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานกรรมการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กรุณาเล่าถึงความเป็นมาของสวนประวัติศาสตร์ฯ แห่งนี้ว่าเป็นสถานที่ที่ชาวสงขลา และผู้มีจิตศรัทธา ในคุณงามความดี
“ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ”
ความเสียสละ ของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ท่านเป็นผู้ประพฤติที่ดี ปฏิบัติดี เป็นที่ประจักษ์ และมีคุณูปการกับบ้านเมืองมาทั้งชีวิต ไต่เต้าจากคนสงขลาธรรมดา เป็นนายกรัฐมนตรี ถึง 5 สมัย เป็นระยะเวลานานถึง 8 ปี 5 เดือน จนกระทั่งเมื่อได้
“อาคารหอประวัติ”
สละจากตำแหน่งสูงสุดทางการบริหาร ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าในตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กับทั้งพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นนพรัตนราชวราภรณ์สูงสุด เท่าที่สามัญชนจะพึงได้รับ เป็นคนที่ 4 ของแผ่นดิน ซึ่งควรที่สังคมและชาวสงขลาทั้งมวลจะได้เชิดชูเกียรติ เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง ท่านยืนหยัดในสิ่งดีงาม และปฏิเสธสิ่งไม่ดีมาตลอดเช่นกัน
จุดเริ่มต้นของสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดจากการจุดประกายของพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (หลวงพ่อจ้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นชาวสงขลา นายบัญญัติ จันทน์เสนะ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อุทยานประวัติศาสตร์ ในขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่มให้เกิดโครงการนี้ โดยดำเนินการจัดหาทุนทรัพย์ จากภาครัฐ เอกชน ในปี พ.ศ.2538 และได้ขอใช้พื้นที่สวนป๋าเปรม จากแขวงการทางสงขลา เนื้อที่ 30 ไร่ ต่อมาได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติม เป็น 140 ไร่ ในช่วงวันเวลาที่ผ่านมา ได้มีบุคคลผู้เสียสละ ได้เข้ามาสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้การดำเนินงานของมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อุทยานประวัติศาสตร์ จนพัฒนามาเป็น มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปัจจุบัน
“นายชัยรัตน์ เสถียร เลขาธิการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์”
นายชัยรัตน์ เสถียร เลขาธิการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ฯ คือ เพื่อเชิดชูเกียรติและคุณงามความดีของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง จะได้สืบสานปณิธาน “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” แล้วยังต้องการให้สวนประวัติศาสตร์ฯ เป็นสถานที่ฝึกอบรมบ่มเพาะคนดี สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่ส่งเสริมสุขภาพพลานามัย ของประชาชน
สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยจุดยืนที่มั่นคง เพื่อให้เป็นสถานที่สัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี ณ วันนี้ ได้ปรับปรุงพัฒนาองค์ประกอบทุกด้าน ทั้ง หอประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บ้านพำมะรงค์ (จำลอง) สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ ค่ายพักแรม ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมบ่มเพาะคนดี
“ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ร่วมถ่ายภาพกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดสงขลาและพนักงานของสวนประวัติศาสตร์ฯ”
“ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ร่วมถ่ายภาพกับคณะกรรมการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ฯ”
คณะกรรมการบริหารมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กำหนดข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในสวนประวัติศาสตร์ฯ แห่งนี้ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย และมีความสะดวกสบายตามนโยบาย 5 ส. ที่มุ่งเน้นด้าน สุขภาพ สะอาด สงบ สวยงาม และสิ่งแวดล้อม จึงขอความร่วมมือและกรุณาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ จอดรถในบริเวณที่จอดรถเท่านั้น ไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาในสวนฯ ไม่จับหรือทำลายสัตว์น้ำและสัตว์ทุกชนิด ไม่นำสิ่งเสพติดผิดกฎหมายเข้ามาในสวนฯ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ไม่ใช้เครื่องขยายเสียง ไม่ประพฤติตนในทางชู้สาว มั่วสุม หรือล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนภายในสวนประวัติศาสตร์ฯ
ในพื้นที่ประมาณ 140 ไร่ ของสวนประวัติศาสตร์ฯ ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ตลอดทั้งนักท่องเที่ยว และโดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ สวนประวัติศาสตร์ฯ พร้อมให้บริการ การเป็นสถานที่เพื่อ
“ซุ้มประตูทางเข้าสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์”
“ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เยี่ยมชมหอประวัติ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2557”
การเรียนรู้ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อสุขภาพพลานามัย และเป้าหมายสูงสุด คือ การช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และชีวิตที่ดีงาม พร้อมที่จะให้ทุกคนได้ภาคภูมิใจกับมรดกแห่งนี้ ที่จะฝากไว้กับแผ่นดินเมืองสงขลา และประเทศไทยตลอดไป.
พบกันใหม่ฉบับหน้า… “มีอะไร? ในสวนประวัติศาสตร์”.
September 2, 2020
February 21, 2020
November 1, 2019
October 29, 2019
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สถานที่สัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี
“ซุ้มประตูทางเข้าสวนประวัติศาสตร์ฯ ประติมากรรม ”เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน”
ได้มีโอกาสแวะเข้าไปเยี่ยมชมสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงสะพานติณสูลานนท์ หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา บนเนื้อที่ 140 ไร่ ภายในสวนได้จัดบรรยากาศ ภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อม ได้สวยงามเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ และน่าประทับใจอย่างยิ่ง คณะกรรมการบริหารสวนประวัติศาสตร์ฯ ได้ให้การต้อนรับและเชิญพวกเราที่ห้องประชุมสำนักงานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ฯ
คุณบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานกรรมการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กรุณาเล่าถึงความเป็นมาของสวนประวัติศาสตร์ฯ แห่งนี้ว่าเป็นสถานที่ที่ชาวสงขลา และผู้มีจิตศรัทธา ในคุณงามความดี
“ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ”
ความเสียสละ ของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ท่านเป็นผู้ประพฤติที่ดี ปฏิบัติดี เป็นที่ประจักษ์ และมีคุณูปการกับบ้านเมืองมาทั้งชีวิต ไต่เต้าจากคนสงขลาธรรมดา เป็นนายกรัฐมนตรี ถึง 5 สมัย เป็นระยะเวลานานถึง 8 ปี 5 เดือน จนกระทั่งเมื่อได้
“อาคารหอประวัติ”
สละจากตำแหน่งสูงสุดทางการบริหาร ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าในตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กับทั้งพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นนพรัตนราชวราภรณ์สูงสุด เท่าที่สามัญชนจะพึงได้รับ เป็นคนที่ 4 ของแผ่นดิน ซึ่งควรที่สังคมและชาวสงขลาทั้งมวลจะได้เชิดชูเกียรติ เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง ท่านยืนหยัดในสิ่งดีงาม และปฏิเสธสิ่งไม่ดีมาตลอดเช่นกัน
จุดเริ่มต้นของสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดจากการจุดประกายของพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (หลวงพ่อจ้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นชาวสงขลา นายบัญญัติ จันทน์เสนะ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อุทยานประวัติศาสตร์ ในขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่มให้เกิดโครงการนี้ โดยดำเนินการจัดหาทุนทรัพย์ จากภาครัฐ เอกชน ในปี พ.ศ.2538 และได้ขอใช้พื้นที่สวนป๋าเปรม จากแขวงการทางสงขลา เนื้อที่ 30 ไร่ ต่อมาได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติม เป็น 140 ไร่ ในช่วงวันเวลาที่ผ่านมา ได้มีบุคคลผู้เสียสละ ได้เข้ามาสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้การดำเนินงานของมูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อุทยานประวัติศาสตร์ จนพัฒนามาเป็น มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปัจจุบัน
“นายชัยรัตน์ เสถียร เลขาธิการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์”
นายชัยรัตน์ เสถียร เลขาธิการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าวัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ฯ คือ เพื่อเชิดชูเกียรติและคุณงามความดีของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง จะได้สืบสานปณิธาน “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” แล้วยังต้องการให้สวนประวัติศาสตร์ฯ เป็นสถานที่ฝึกอบรมบ่มเพาะคนดี สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่ส่งเสริมสุขภาพพลานามัย ของประชาชน
สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยจุดยืนที่มั่นคง เพื่อให้เป็นสถานที่สัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี ณ วันนี้ ได้ปรับปรุงพัฒนาองค์ประกอบทุกด้าน ทั้ง หอประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บ้านพำมะรงค์ (จำลอง) สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ ค่ายพักแรม ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรมบ่มเพาะคนดี
“ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ร่วมถ่ายภาพกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดสงขลาและพนักงานของสวนประวัติศาสตร์ฯ”
“ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ร่วมถ่ายภาพกับคณะกรรมการมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ฯ”
คณะกรรมการบริหารมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กำหนดข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในสวนประวัติศาสตร์ฯ แห่งนี้ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย และมีความสะดวกสบายตามนโยบาย 5 ส. ที่มุ่งเน้นด้าน สุขภาพ สะอาด สงบ สวยงาม และสิ่งแวดล้อม จึงขอความร่วมมือและกรุณาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ จอดรถในบริเวณที่จอดรถเท่านั้น ไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาในสวนฯ ไม่จับหรือทำลายสัตว์น้ำและสัตว์ทุกชนิด ไม่นำสิ่งเสพติดผิดกฎหมายเข้ามาในสวนฯ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ไม่ใช้เครื่องขยายเสียง ไม่ประพฤติตนในทางชู้สาว มั่วสุม หรือล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนภายในสวนประวัติศาสตร์ฯ
ในพื้นที่ประมาณ 140 ไร่ ของสวนประวัติศาสตร์ฯ ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ตลอดทั้งนักท่องเที่ยว และโดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ สวนประวัติศาสตร์ฯ พร้อมให้บริการ การเป็นสถานที่เพื่อ
“ซุ้มประตูทางเข้าสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์”
“ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เยี่ยมชมหอประวัติ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2557”
การเรียนรู้ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อสุขภาพพลานามัย และเป้าหมายสูงสุด คือ การช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และชีวิตที่ดีงาม พร้อมที่จะให้ทุกคนได้ภาคภูมิใจกับมรดกแห่งนี้ ที่จะฝากไว้กับแผ่นดินเมืองสงขลา และประเทศไทยตลอดไป.
พบกันใหม่ฉบับหน้า… “มีอะไร? ในสวนประวัติศาสตร์”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขอเชิญร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่สอบผ่านธรรมศึกษา สำนักศาสนศึกษาวัดโพธิ์ปฐมาวาส และพิธีทำบุญวันคล้ายวันเกิดพระโสภณวราภรณ์ (บัณฑิต ...
September 2, 2020
เทศบาลนครหาดใหญ่ ขอเชิญสาวงามผู้สนใจเข้าร่วมประกวดนางสงกรานต์ ประจำปี 2563
February 21, 2020
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี “สมทบทุนสร้างอุโบสถ หลังแรก” ณ วัดท่ากระชับ (วัดป่า)
November 1, 2019
10 ซูเปอร์ฟู้ดบำรุงสายตา คนติดหน้าจอ ติดโซเชียล กินให้ไว
October 29, 2019