มรภ.สงขลา จับมือเอกชน เปิดห้องสมุดดิจิตอลสร้างสุข นำร่องติดตั้งแท็บเล็ต 10 เครื่อง ทุ่นเวลาค้น แก้ปัญหาหนังสือเก่าล้นชั้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ชอบความสะดวก รวดเร็ว
ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับการบริจาคระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จาก บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และระบบมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับอ่านหนังสือ 10 เครื่อง และ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กว่า 1,000 เล่ม โดยเรียกชื่อว่าห้องสมุดดิจิตอลสร้างสุข เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว และความเป็นอิสระในการอ่านหนังสือ ประกอบกับที่ผ่านมาสำนักวิทยบริการฯ ประสบปัญหาหนังสือล้นชั้น จะทิ้งหนังสือเก่าก็เสียดาย จึงนำเอาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ กว่า 1,000 เล่ม ใส่เข้าไปในแท็บเล็ต ซึ่งนอกจากจะทำให้มีทรัพยากรหนังสือเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาหนังสือให้เร็วขึ้น และหลังจากนี้จะเชิญอาจารย์จากคณะต่างๆ ของ มรภ.สงขลา ในฐานะผู้ใช้บริการโดยตรง มาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้ตั้งงบประมาณไว้ 2-3 แสนบาท สำหรับจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และได้หนังสือที่มีความหลากหลาย
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า อยากเชิญชวนคนรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีในหัวใจ มาทดลองใช้ห้องสมุดดิจิตอล เพราะสามารถเข้าถึงความรู้ได้รวดเร็ว ผู้ที่มีไอโฟนหรือไอแพดส่วนตัวสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตัวนี้ไปใช้ได้ทันที ขณะเดียวกันอาจารย์ผู้สอนก็สามารถนำเอกสารการสอนใส่ลงไปได้ด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งบริการจากสำนักวิทยบริการฯ ที่ต้องการลดปัญหาหนังสือไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ และช่วยให้หนังสือถึงมือผู้อ่านได้เร็วขึ้นด้วย.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา เปิดห้องสมุดดิจิตอล ประหยัดเวลาค้น-ลดหนังสือล้นชั้น
มรภ.สงขลา จับมือเอกชน เปิดห้องสมุดดิจิตอลสร้างสุข นำร่องติดตั้งแท็บเล็ต 10 เครื่อง ทุ่นเวลาค้น แก้ปัญหาหนังสือเก่าล้นชั้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ชอบความสะดวก รวดเร็ว
ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับการบริจาคระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จาก บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และระบบมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสำหรับอ่านหนังสือ 10 เครื่อง และ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กว่า 1,000 เล่ม โดยเรียกชื่อว่าห้องสมุดดิจิตอลสร้างสุข เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว และความเป็นอิสระในการอ่านหนังสือ ประกอบกับที่ผ่านมาสำนักวิทยบริการฯ ประสบปัญหาหนังสือล้นชั้น จะทิ้งหนังสือเก่าก็เสียดาย จึงนำเอาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ กว่า 1,000 เล่ม ใส่เข้าไปในแท็บเล็ต ซึ่งนอกจากจะทำให้มีทรัพยากรหนังสือเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาหนังสือให้เร็วขึ้น และหลังจากนี้จะเชิญอาจารย์จากคณะต่างๆ ของ มรภ.สงขลา ในฐานะผู้ใช้บริการโดยตรง มาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้ตั้งงบประมาณไว้ 2-3 แสนบาท สำหรับจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และได้หนังสือที่มีความหลากหลาย
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า อยากเชิญชวนคนรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีในหัวใจ มาทดลองใช้ห้องสมุดดิจิตอล เพราะสามารถเข้าถึงความรู้ได้รวดเร็ว ผู้ที่มีไอโฟนหรือไอแพดส่วนตัวสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตัวนี้ไปใช้ได้ทันที ขณะเดียวกันอาจารย์ผู้สอนก็สามารถนำเอกสารการสอนใส่ลงไปได้ด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งบริการจากสำนักวิทยบริการฯ ที่ต้องการลดปัญหาหนังสือไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ และช่วยให้หนังสือถึงมือผู้อ่านได้เร็วขึ้นด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024