คลองสำโรงเกิดก่อนเมืองสงขลา และเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าสู่เมืองท่าสำคัญ รอบทะเลสาบสงขลา จากสภาพทางภูมิศาสตร์ คลองสำโรง คือ ร่องน้ำขนาดใหญ่ในอดีตที่ไหลเชื่อมระหว่างทะเลสาบสงขลากับมหาสมุทรแปซิฟิกหรืออ่าวไทย ตัดผ่านระหว่างเชิงเขารูปช้างและเขาสำโรง กับเนินดิน หรือหาดทราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสงขลาในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า ในอดีตที่คลองสำโรงมีน้ำไหลผ่านมาก ๆ สามารถเดินเรือได้ เมืองสงขลาก็คือ เกาะ ๆ หนึ่งที่ค่อย ๆ ขยายพื้นที่กว้างออกมา ตามความหดหายทางน้ำทะเลหรือการเพิ่มขึ้นของหาดสมิหลา และไม่แน่นาน ๆ เข้าหาดสมิหลาจะขยายไปถึงเกาะหนูเกาะแมวก็ได้
เขาเทียมดา (ภูเขาที่สูงที่สุดในกลุ่มเขาสำโรง เขารูปช้างหรือเขาเก้าเส้ง) คือ แหล่งก่อนประวัติศาสตร์ (ตามข้อมูลของกรม ศิลปากร) น้ำทะเลค่อย ๆ หดแห้งลงมา จนมีหมู่บ้านเกาะถ้ำ เกาะวา เกาะแก้ว เขาแก้ว บางดาน ฯลฯ ตั้งอยู่รอบ ๆ เชิงเขา และมีร่องรอยของถ้ำมนุษย์โบราณ (ซึ่งมีตำนานเล่าขานต่าง ๆ มาช้านาน) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาหลังบ้านแหลมเคียน (ใกล้วัดแซ่มอุทิศ) ใกล้น้ำตกสวนตูล (ใกล้สถาบัน กศน. ภาคใต้) ถ้ำที่วัดเกาะถ้ำ ถ้ำฤษีที่ริมคลองสำโรง เป็นต้น
หลังจากน้ำทะเลค่อย ๆ หดหายไป ช่วงก่อนหน้านี้ก็จะมีร่องน้ำขนาดใหญ่ สามารถเดินเรือติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ จากปัตตานีหรือเกาะชวา ที่มาจากทิศใต้ เข้าไปทางร่องน้ำ คลองสำโรง เข้าสู่ทะเลสาบสงขลา ไปสู่เมืองหัวไทร เขาพังไกร วัดเขียนบางแก้ว (พัทลุง) ระโนด สทิงพระ ฯลฯ เรือเหล่านั้นจะนำสินค้าไปขายหรือหลบลม ฝน ช่วงฤดูมรสุม
ช่องทางใหญ่ที่ใช้เข้าสู่เมืองต่าง ๆ ในทะเลสาบสงขลาในอดีต คือ ปากน้ำเขาแดง คลองสำโรง คลองระโนด คลองสทิงพระ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่กว้างลึกจะเป็นไปตามร่องลึกของแนวแผ่นดินและการใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน เมื่อได้ใช้สัญจรหรือมีสิ่งปลูกสร้าง น้ำไหลผ่านได้ยาก คลองก็ค่อยตื้นขึ้นและหายไป
ในอดีตมีตำนานเล่าขานว่า เรือใบ เรือสำเภา จากต่างชาติ จะนิยมเดินเรือผ่านทางคลองสำโรง เข้าไปสู่เมืองริมทะเลสาบ เพราะไม่ต้องอ้อมไปเข้าทางปากน้ำเขาแดง เพราะน้ำไหลเชี่ยว และต้องอ้อมไกล จึงมีแหล่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณปากน้ำอยู่ที่ปากคลองสำโรง เช่น หัวนายแรงเก้าเส้ง กับถ้ำฤษีบนเขาสำโรง เหมือนกับทวดเขาแดงในปัจจุบัน แต่เลื่อนหายไป เนื่องจากไม่มีการเดินเรือ
เมืองเก่าแก่มาก ๆ ตามประวัติศาสตร์ ในทะเลสาบสงขลา คือปากน้ำชุมชนปากคลองปะโอ แวะบ้านระทิ้งหม้อ มีร่องรอยประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน เช่น ยังคงมีเศษกระเบื้อง ภาชนะ สมัยจีนโบราณราชวงศ์ต่าง ๆ หลงเหลืออยู่มากมาย และบริเวณปากน้ำคลองสำโรงด้านทะเลสาบสงขลา เช่น ท่าสะอ้าน เตาอิฐ เคยมีร่องรอยทางเตาเผากระเบื้อง – อิฐ และตลาดนัดท่าน้ำ ซึ่งเป็นร่องรอยสำคัญที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนริมคลองสำโรงในอดีต ซึ่งเป็นเสมือนตลาดน้ำนานาชาติก็ว่าได้
เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่เกิดทันยุคนี้ก็จะเคยเห็นสะพานไม้ขนาดใหญ่ ทอดข้ามคลองสำโรงบริเวณสามแยกสำโรงปัจจุบัน และผู้ที่มีอายุมากกว่านั้นก็จะเคยเห็นตลาดนัดขนาดใหญ่บริเวณป้อมสำโรง หรือบริเวณริมคลองสำโรง รวมทั้งศิลาจารึกที่มีอยู่บริเวณริมคลองสำโรงในปัจจุบัน
ชาวบ้านแต่ก่อนจะหากุ้ง หาปลากิน ไปคลองสำโรงแป๊บเดียว จะได้กุ้ง หอย ปู ปลาไปแกง แต่จะต้องระวังจระเข้ซึ่งมีมากกันเอาเอง
การพัฒนาคลองสำโรงจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ควรอย่างยิ่งที่จะร่วมกันให้กำลังใจให้กลุ่มพัฒนาคลองสำโรงในปัจจุบัน ซึ่งทำกันมาเป็นระยะ ๆ หลายช่วงคนแล้ว
หากเรียกคืนคลองสำโรงกลับคืนมาได้ เมืองสงขลาก็จะกลายเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ ซึ่งน่าสนใจและน่าพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง
แต่ทั้งนี้ก็ต้องหาทางออกให้ผู้ที่ถูกปล่อยปละละเลยให้สร้างบ้านริมลำคลองสำโรงด้วย เพราะเขามากับโอกาสที่เช่าบ้านหรือผู้ที่รับผิดชอบบ้านเมืองเพิกเฉย ละเลย หรือเจตนามาแต่อดีต.
สัญญา วัชรพันธุ์ เขียน.
September 2, 2020
February 21, 2020
November 1, 2019
October 29, 2019
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
คลองสำโรงกับเมืองสงขลา
คลองสำโรงเกิดก่อนเมืองสงขลา และเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าสู่เมืองท่าสำคัญ รอบทะเลสาบสงขลา จากสภาพทางภูมิศาสตร์ คลองสำโรง คือ ร่องน้ำขนาดใหญ่ในอดีตที่ไหลเชื่อมระหว่างทะเลสาบสงขลากับมหาสมุทรแปซิฟิกหรืออ่าวไทย ตัดผ่านระหว่างเชิงเขารูปช้างและเขาสำโรง กับเนินดิน หรือหาดทราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสงขลาในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า ในอดีตที่คลองสำโรงมีน้ำไหลผ่านมาก ๆ สามารถเดินเรือได้ เมืองสงขลาก็คือ เกาะ ๆ หนึ่งที่ค่อย ๆ ขยายพื้นที่กว้างออกมา ตามความหดหายทางน้ำทะเลหรือการเพิ่มขึ้นของหาดสมิหลา และไม่แน่นาน ๆ เข้าหาดสมิหลาจะขยายไปถึงเกาะหนูเกาะแมวก็ได้
เขาเทียมดา (ภูเขาที่สูงที่สุดในกลุ่มเขาสำโรง เขารูปช้างหรือเขาเก้าเส้ง) คือ แหล่งก่อนประวัติศาสตร์ (ตามข้อมูลของกรม ศิลปากร) น้ำทะเลค่อย ๆ หดแห้งลงมา จนมีหมู่บ้านเกาะถ้ำ เกาะวา เกาะแก้ว เขาแก้ว บางดาน ฯลฯ ตั้งอยู่รอบ ๆ เชิงเขา และมีร่องรอยของถ้ำมนุษย์โบราณ (ซึ่งมีตำนานเล่าขานต่าง ๆ มาช้านาน) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาหลังบ้านแหลมเคียน (ใกล้วัดแซ่มอุทิศ) ใกล้น้ำตกสวนตูล (ใกล้สถาบัน กศน. ภาคใต้) ถ้ำที่วัดเกาะถ้ำ ถ้ำฤษีที่ริมคลองสำโรง เป็นต้น
หลังจากน้ำทะเลค่อย ๆ หดหายไป ช่วงก่อนหน้านี้ก็จะมีร่องน้ำขนาดใหญ่ สามารถเดินเรือติดต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ จากปัตตานีหรือเกาะชวา ที่มาจากทิศใต้ เข้าไปทางร่องน้ำ คลองสำโรง เข้าสู่ทะเลสาบสงขลา ไปสู่เมืองหัวไทร เขาพังไกร วัดเขียนบางแก้ว (พัทลุง) ระโนด สทิงพระ ฯลฯ เรือเหล่านั้นจะนำสินค้าไปขายหรือหลบลม ฝน ช่วงฤดูมรสุม
ช่องทางใหญ่ที่ใช้เข้าสู่เมืองต่าง ๆ ในทะเลสาบสงขลาในอดีต คือ ปากน้ำเขาแดง คลองสำโรง คลองระโนด คลองสทิงพระ ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่กว้างลึกจะเป็นไปตามร่องลึกของแนวแผ่นดินและการใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน เมื่อได้ใช้สัญจรหรือมีสิ่งปลูกสร้าง น้ำไหลผ่านได้ยาก คลองก็ค่อยตื้นขึ้นและหายไป
ในอดีตมีตำนานเล่าขานว่า เรือใบ เรือสำเภา จากต่างชาติ จะนิยมเดินเรือผ่านทางคลองสำโรง เข้าไปสู่เมืองริมทะเลสาบ เพราะไม่ต้องอ้อมไปเข้าทางปากน้ำเขาแดง เพราะน้ำไหลเชี่ยว และต้องอ้อมไกล จึงมีแหล่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณปากน้ำอยู่ที่ปากคลองสำโรง เช่น หัวนายแรงเก้าเส้ง กับถ้ำฤษีบนเขาสำโรง เหมือนกับทวดเขาแดงในปัจจุบัน แต่เลื่อนหายไป เนื่องจากไม่มีการเดินเรือ
เมืองเก่าแก่มาก ๆ ตามประวัติศาสตร์ ในทะเลสาบสงขลา คือปากน้ำชุมชนปากคลองปะโอ แวะบ้านระทิ้งหม้อ มีร่องรอยประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน เช่น ยังคงมีเศษกระเบื้อง ภาชนะ สมัยจีนโบราณราชวงศ์ต่าง ๆ หลงเหลืออยู่มากมาย และบริเวณปากน้ำคลองสำโรงด้านทะเลสาบสงขลา เช่น ท่าสะอ้าน เตาอิฐ เคยมีร่องรอยทางเตาเผากระเบื้อง – อิฐ และตลาดนัดท่าน้ำ ซึ่งเป็นร่องรอยสำคัญที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนริมคลองสำโรงในอดีต ซึ่งเป็นเสมือนตลาดน้ำนานาชาติก็ว่าได้
เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่เกิดทันยุคนี้ก็จะเคยเห็นสะพานไม้ขนาดใหญ่ ทอดข้ามคลองสำโรงบริเวณสามแยกสำโรงปัจจุบัน และผู้ที่มีอายุมากกว่านั้นก็จะเคยเห็นตลาดนัดขนาดใหญ่บริเวณป้อมสำโรง หรือบริเวณริมคลองสำโรง รวมทั้งศิลาจารึกที่มีอยู่บริเวณริมคลองสำโรงในปัจจุบัน
ชาวบ้านแต่ก่อนจะหากุ้ง หาปลากิน ไปคลองสำโรงแป๊บเดียว จะได้กุ้ง หอย ปู ปลาไปแกง แต่จะต้องระวังจระเข้ซึ่งมีมากกันเอาเอง
การพัฒนาคลองสำโรงจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ควรอย่างยิ่งที่จะร่วมกันให้กำลังใจให้กลุ่มพัฒนาคลองสำโรงในปัจจุบัน ซึ่งทำกันมาเป็นระยะ ๆ หลายช่วงคนแล้ว
หากเรียกคืนคลองสำโรงกลับคืนมาได้ เมืองสงขลาก็จะกลายเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ ซึ่งน่าสนใจและน่าพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง
แต่ทั้งนี้ก็ต้องหาทางออกให้ผู้ที่ถูกปล่อยปละละเลยให้สร้างบ้านริมลำคลองสำโรงด้วย เพราะเขามากับโอกาสที่เช่าบ้านหรือผู้ที่รับผิดชอบบ้านเมืองเพิกเฉย ละเลย หรือเจตนามาแต่อดีต.
สัญญา วัชรพันธุ์ เขียน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขอเชิญร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่สอบผ่านธรรมศึกษา สำนักศาสนศึกษาวัดโพธิ์ปฐมาวาส และพิธีทำบุญวันคล้ายวันเกิดพระโสภณวราภรณ์ (บัณฑิต ...
September 2, 2020
เทศบาลนครหาดใหญ่ ขอเชิญสาวงามผู้สนใจเข้าร่วมประกวดนางสงกรานต์ ประจำปี 2563
February 21, 2020
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี “สมทบทุนสร้างอุโบสถ หลังแรก” ณ วัดท่ากระชับ (วัดป่า)
November 1, 2019
10 ซูเปอร์ฟู้ดบำรุงสายตา คนติดหน้าจอ ติดโซเชียล กินให้ไว
October 29, 2019