วันนี้ (13 กันยายน 2555) เวลาประมาณ 10.00 น. ณ ห้องประชุมมงคลสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการแถลงข่าวโครงการพัฒนาชุดเครือข่ายสื่อสาร WiFi เคลื่อนที่สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในหาดใหญ่-สงขลา โดยศูนย์ความรู้เฉพาะด้านอินเทอร์เน็ตยุคหน้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เปิดเผยว่า หาดใหญ่-สงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง ได้รับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางและรุนแรง เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่การป้องกันน้ำท่วมใหญ่ทำได้ระดับหนึ่ง เหตุน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้งหลังในปี 2543 และ 2553 ทำให้ระบบสาธารณูปโภคหลักรวมถึงระบบสื่อสารหลักทุกระบบในพื้นที่น้ำท่วมและใกล้เคียงไม่สามารถให้บริการได้ ทำให้ความช่วยเหลือ การประสานงานและสั่งการติดขัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีเพียงเครือข่ายวิทยุสื่อสารที่ยังใช้งานได้ แต่มีจำนวนจำกัดและเป็นการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น
เพื่อแก้ปัญหาการสื่อสารดังกล่าว ทางผู้วิจัยจึงเสนอแนวคิดในการจัดทำชุดสื่อสาร WiFi ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ผู้ชำนาญการ สามารถทำงานได้แม้ไม่มีระบบไฟฟ้ามีข้อจำกัดที่สำคัญเพียงข้อเดียวคือ ต้องเป็น Line of sight เพื่อเชื่อมโยงกลับมายังจุดเชื่อมต่อศูนย์กลาง ข้อดีของการใช้งาน WiFi คือเนื่องจากพื้นดังกล่าวเป็นเขตเมือง จำนวน smart phone หรือ tablet หรือคอมพิวเตอร์พกพามีจำนวนมาก การให้บริการ WiFi ทำให้ผู้คนในพื้นที่ที่ยังอยู่ในพื้นที่ประสบภัยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวติดต่อสื่อสารกับภายนอกได้ โดยเฉพาะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networks) เช่น Facebook Twister หรือ Skype ในระบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ชุดหลัก มีองค์ประกอบและการใช้งานดังนี้
1. ชุด Relay Gateway เป็นชุดสื่อสารหลักที่จะติดตั้งบนเขาคอหงส์เพื่อรับสัญญาณจากชุดสื่อสารแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ติดตั้งในตัวเมืองหาดใหญ่แล้วเชื่อมโยงมายังสถานีสั่งการ 2. ชุดสื่อสาร WiFi แบบเคลื่อนย้ายได้เป็นชุดสำหรับเคลื่อนย้ายเพื่อติดตั้งในพื้นที่ประสบภัย การติดตั้งต้องติดตั้งในอาคารสูงเพื่อให้สามารถเชื่อมสัญญาณ (Line-of-sight) มายัง Relay Station ได้ 3. ชุดสื่อสำหรับสถานีประสานงานกลางเป็นชุดสำหรับเคลื่อนย้ายเพื่อติดตั้งในพื้นที่ประสบภัย การติดตั้งต้องติดตั้งในอาคารสูงเพื่อให้สามารถเชื่อมสัญญาณ (Line-of sight) มายัง Relay Station ได้
โดยระบบหลัก Relay gateway จะติดตั้งในที่สูง เช่นเขาคอหงส์ ทำการ รับและการจายสัญญาณกับระบบเคลื่อนย้ายที่ติดตั้งในเขตน้ำท่วม รัศมีทำการจะอยู่ในระยะประมาณ 10 กิโลเมตร ชุดสื่อสารเคลื่อนย้ายได้จะรับส่งข้อมูลกับ Relay Geteway ซึ่งจะทำการส่งต่อไปยังศูนย์ประสานงานกลาง ที่ศูนย์ประสานงานกลางควรจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้สามารถใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ หากศูนย์ประสานงานกลางไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต การสื่อสารจะเป็นแบบระบบปิด (Private network) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกเท่าในกรณีแรก.
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
โครงการพัฒนาชุดเครือข่ายสื่อสาร WiFi เคลื่อนที่สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในหาดใหญ่-สงขลา โดยศูนย์ความรู้เฉพาะด้านอินเทอร์เน็ตยุคหน้า คณะวิศวฯ ม.อ.
วันนี้ (13 กันยายน 2555) เวลาประมาณ 10.00 น. ณ ห้องประชุมมงคลสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการแถลงข่าวโครงการพัฒนาชุดเครือข่ายสื่อสาร WiFi เคลื่อนที่สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในหาดใหญ่-สงขลา โดยศูนย์ความรู้เฉพาะด้านอินเทอร์เน็ตยุคหน้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เปิดเผยว่า หาดใหญ่-สงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง ได้รับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางและรุนแรง เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่การป้องกันน้ำท่วมใหญ่ทำได้ระดับหนึ่ง เหตุน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้งหลังในปี 2543 และ 2553 ทำให้ระบบสาธารณูปโภคหลักรวมถึงระบบสื่อสารหลักทุกระบบในพื้นที่น้ำท่วมและใกล้เคียงไม่สามารถให้บริการได้ ทำให้ความช่วยเหลือ การประสานงานและสั่งการติดขัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีเพียงเครือข่ายวิทยุสื่อสารที่ยังใช้งานได้ แต่มีจำนวนจำกัดและเป็นการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น
เพื่อแก้ปัญหาการสื่อสารดังกล่าว ทางผู้วิจัยจึงเสนอแนวคิดในการจัดทำชุดสื่อสาร WiFi ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ผู้ชำนาญการ สามารถทำงานได้แม้ไม่มีระบบไฟฟ้ามีข้อจำกัดที่สำคัญเพียงข้อเดียวคือ ต้องเป็น Line of sight เพื่อเชื่อมโยงกลับมายังจุดเชื่อมต่อศูนย์กลาง ข้อดีของการใช้งาน WiFi คือเนื่องจากพื้นดังกล่าวเป็นเขตเมือง จำนวน smart phone หรือ tablet หรือคอมพิวเตอร์พกพามีจำนวนมาก การให้บริการ WiFi ทำให้ผู้คนในพื้นที่ที่ยังอยู่ในพื้นที่ประสบภัยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวติดต่อสื่อสารกับภายนอกได้ โดยเฉพาะการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networks) เช่น Facebook Twister หรือ Skype
ในระบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ชุดหลัก มีองค์ประกอบและการใช้งานดังนี้
1. ชุด Relay Gateway เป็นชุดสื่อสารหลักที่จะติดตั้งบนเขาคอหงส์เพื่อรับสัญญาณจากชุดสื่อสารแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ติดตั้งในตัวเมืองหาดใหญ่แล้วเชื่อมโยงมายังสถานีสั่งการ
2. ชุดสื่อสาร WiFi แบบเคลื่อนย้ายได้เป็นชุดสำหรับเคลื่อนย้ายเพื่อติดตั้งในพื้นที่ประสบภัย การติดตั้งต้องติดตั้งในอาคารสูงเพื่อให้สามารถเชื่อมสัญญาณ (Line-of-sight) มายัง Relay Station ได้
3. ชุดสื่อสำหรับสถานีประสานงานกลางเป็นชุดสำหรับเคลื่อนย้ายเพื่อติดตั้งในพื้นที่ประสบภัย การติดตั้งต้องติดตั้งในอาคารสูงเพื่อให้สามารถเชื่อมสัญญาณ (Line-of sight) มายัง Relay Station ได้
โดยระบบหลัก Relay gateway จะติดตั้งในที่สูง เช่นเขาคอหงส์ ทำการ รับและการจายสัญญาณกับระบบเคลื่อนย้ายที่ติดตั้งในเขตน้ำท่วม รัศมีทำการจะอยู่ในระยะประมาณ 10 กิโลเมตร ชุดสื่อสารเคลื่อนย้ายได้จะรับส่งข้อมูลกับ Relay Geteway ซึ่งจะทำการส่งต่อไปยังศูนย์ประสานงานกลาง ที่ศูนย์ประสานงานกลางควรจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้สามารถใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ หากศูนย์ประสานงานกลางไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต การสื่อสารจะเป็นแบบระบบปิด (Private network) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกเท่าในกรณีแรก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.