ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ผนึกสำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา เปิด UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม ฝึกนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ แก้ปัญหาแรงงานล้น
ดร.ภวิกา บุณยพิพัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการ UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม ว่า เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ หลังจากจบการศึกษาแล้วจะไปประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างของรัฐและบริษัทเอกชนต่างๆ ซึ่งมีการแข่งขันกันสูง ทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหลักมาจากไม่มีระบบและกลไกในการสร้างความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการ และสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษาที่ชัดเจน ดังนั้น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) จึงร่วมกับสำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา จัดโครงการ UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าและบุคลากรในมหาวิทยาลัย ฝึกเป็นผู้ประกอบการ โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สามารถพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งส่งเสริมแนวคิดการเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา สอดรับกับความต้องการของท้องถิ่น ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า โครงการ UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม จัดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน และนักศึกษาคณะต่างๆ ใน มรภ.สงขลา ร่วมจัดแสดงทางวัฒนธรรม และออกร้านจำหน่ายสินค้า อาทิ การเพ้นท์ภาพและจำหน่ายภาพวาดของคณะศิลปกรรมศาสตร์ การแสดงดนตรีเปิดหมวกของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีเกษตร การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มของคณะครุศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการจำลองการประกอบธุรกิจ โดยมีพ่อค้าแม่ค้าเป็นต้นแบบในการเรียกลูกค้า อีกทั้งยังฝึกความกล้าแสดงออกของนักศึกษา เตรียมพร้อมออกสู่ตลาดแรงงาน ทำให้นักศึกษากล้าคิด ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำธุรกิจที่อาจมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ได้เรียนรู้ปัญหาและวิธีปรับแก้ให้ธุรกิจดำเนินไปได้ นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างเครือข่ายและสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาแต่ละคณะ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
“หลักๆ คือนักศึกษาจะได้ความรู้โดยตรงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในรั้ว มรภ.สงขลา ในขณะที่มหาวิทยาลัยเองก็ได้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ที่อยากให้มีการจัดจำหน่ายพื้นเมือง ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้ามัดย้อม และขนมพื้นเมืองที่หาได้ยาก ซึ่งในอนาคตหากตลาดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ก็อาจมีการนำสินค้าโอทอปที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและหน่วยงานใน มรภ.สงขลา ให้คำปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาร่วมจำหน่าย ซึ่งจะเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้คนทั่วไปได้รู้จักอีกทางหนึ่ง สมดังอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ดร.ภวิกา กล่าว.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา เปิด ‘UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม’ ฝึก นศ. ทำธุรกิจ แก้ปัญหาแรงงานล้น
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ผนึกสำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา เปิด UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม ฝึกนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ แก้ปัญหาแรงงานล้น
ดร.ภวิกา บุณยพิพัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการ UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม ว่า เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ หลังจากจบการศึกษาแล้วจะไปประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างของรัฐและบริษัทเอกชนต่างๆ ซึ่งมีการแข่งขันกันสูง ทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหลักมาจากไม่มีระบบและกลไกในการสร้างความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการ และสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษาที่ชัดเจน ดังนั้น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) จึงร่วมกับสำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา จัดโครงการ UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าและบุคลากรในมหาวิทยาลัย ฝึกเป็นผู้ประกอบการ โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สามารถพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งส่งเสริมแนวคิดการเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา สอดรับกับความต้องการของท้องถิ่น ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า โครงการ UBI ตลาดนัดวัฒนธรรม จัดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน และนักศึกษาคณะต่างๆ ใน มรภ.สงขลา ร่วมจัดแสดงทางวัฒนธรรม และออกร้านจำหน่ายสินค้า อาทิ การเพ้นท์ภาพและจำหน่ายภาพวาดของคณะศิลปกรรมศาสตร์ การแสดงดนตรีเปิดหมวกของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีเกษตร การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มของคณะครุศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการจำลองการประกอบธุรกิจ โดยมีพ่อค้าแม่ค้าเป็นต้นแบบในการเรียกลูกค้า อีกทั้งยังฝึกความกล้าแสดงออกของนักศึกษา เตรียมพร้อมออกสู่ตลาดแรงงาน ทำให้นักศึกษากล้าคิด ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำธุรกิจที่อาจมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ได้เรียนรู้ปัญหาและวิธีปรับแก้ให้ธุรกิจดำเนินไปได้ นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างเครือข่ายและสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาแต่ละคณะ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
“หลักๆ คือนักศึกษาจะได้ความรู้โดยตรงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในรั้ว มรภ.สงขลา ในขณะที่มหาวิทยาลัยเองก็ได้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ที่อยากให้มีการจัดจำหน่ายพื้นเมือง ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้ามัดย้อม และขนมพื้นเมืองที่หาได้ยาก ซึ่งในอนาคตหากตลาดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ก็อาจมีการนำสินค้าโอทอปที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและหน่วยงานใน มรภ.สงขลา ให้คำปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาร่วมจำหน่าย ซึ่งจะเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้คนทั่วไปได้รู้จักอีกทางหนึ่ง สมดังอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ดร.ภวิกา กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024