มรภ.สงขลา นำเยาวชนสตูลเข้าค่ายอัจฉริยภาพคณิต-วิทย์ สานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการ เสริมทักษะพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางชาติพันธุ์
ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการ ที่นำเยาวชนใน จ.สตูล มาเข้าค่ายอัจฉริยภาพคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มรภ.สงขลา และที่ จ.เพชรบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า มีเยาวชนระดับมัธยมศึกษา เขต จ.สตูล เข้าร่วมจำนวน 50 คน ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการและวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่าย ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ได้เรียนรู้นอกสถานที่จากสภาพแวดล้อมของจริง มีหูตากว้างไกล รู้ทันเหตุการณ์ ตลอดจนปลูกฝังทัศนคติและแนวคิดในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข เนื่องจาก จ.สตูล เป็น 1 ใน 5จังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ และเป็นพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์ทั้งด้านชีวิตภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมได้ง่าย
ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า มรภ.สงขลา เล็งเห็นว่าในพื้นที่ จ.สตูล เป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการติดยาเสพติดของนักเรียนและเยาวชน จึงหวังให้ผู้นำศาสนา และพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ให้ความห่วงใยเอาใจใส่ลูกหลาน ไม่ให้ติดยาเสพติด และมีความรู้ ประพฤติตนในทางที่ถูกต้อง มรภ.สงขลา พร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมและร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นอีกมิติหนึ่งของการร่วมกันสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยระยะเวลาในการเพาะบ่มและการปลูกฝังทัศนคติที่ดีระหว่างกัน มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และเห็นว่าการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้อยู่ร่วมกัน และเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตซึ่งกันและกันจะสามารถปลูกฝังทัศนคติที่ดีระหว่างกันได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมและการสร้างความสงบในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการค่ายวิชาการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ดังกล่าวขึ้น
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา นายมานิตย์ กวีรัชต์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สตูล ได้ขอความร่วมมือจากคณะครูอาจารย์ รวมถึงศาสนา ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นและองค์กรศึกษาต่างๆ ร่วมกันให้กำลังใจและวางหัวใจให้กับเด็กนักเรียนและบุตรหลาน เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ละวางและไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้สนับสนุนการศึกษา การให้บริการวิชาการในเขตรับผิดชอบ จ.สงขลา สตูล และ พัทลุง รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงมาตลอด และเห็นว่าทุกรัฐบาลได้สนับสนุนเงินจำนวนมหาศาลในการจัดการศึกษา รวมถึงการปราบปรามยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ก็เหมือนกับการศึกษาที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งยังทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ หากนักเรียนยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาให้มากขึ้น ให้หลายช่องทาง ด้วยสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ นักเรียนสามารถหาความรู้ด้วยตนเองจากของจริง เพื่อให้เด็กได้กล้าคิด กล้าทำ นำไปสู่การตัดสินใจ และแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา ให้นักเรียนเรียนรู้นอกสถานที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาจากของจริง และลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม ตลอดจนการป้องกันยาเสพติด.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ผุดค่ายอัจฉริยภาพคณิต-วิทย์ สานสัมพันธ์วิชาการคู่วัฒนธรรมชายแดนใต้
มรภ.สงขลา นำเยาวชนสตูลเข้าค่ายอัจฉริยภาพคณิต-วิทย์ สานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการ เสริมทักษะพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางชาติพันธุ์
ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการ ที่นำเยาวชนใน จ.สตูล มาเข้าค่ายอัจฉริยภาพคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มรภ.สงขลา และที่ จ.เพชรบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า มีเยาวชนระดับมัธยมศึกษา เขต จ.สตูล เข้าร่วมจำนวน 50 คน ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการและวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่าย ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ได้เรียนรู้นอกสถานที่จากสภาพแวดล้อมของจริง มีหูตากว้างไกล รู้ทันเหตุการณ์ ตลอดจนปลูกฝังทัศนคติและแนวคิดในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข เนื่องจาก จ.สตูล เป็น 1 ใน 5จังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ และเป็นพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์ทั้งด้านชีวิตภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมได้ง่าย
ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า มรภ.สงขลา เล็งเห็นว่าในพื้นที่ จ.สตูล เป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการติดยาเสพติดของนักเรียนและเยาวชน จึงหวังให้ผู้นำศาสนา และพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ให้ความห่วงใยเอาใจใส่ลูกหลาน ไม่ให้ติดยาเสพติด และมีความรู้ ประพฤติตนในทางที่ถูกต้อง มรภ.สงขลา พร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมและร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นอีกมิติหนึ่งของการร่วมกันสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยระยะเวลาในการเพาะบ่มและการปลูกฝังทัศนคติที่ดีระหว่างกัน มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และเห็นว่าการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้อยู่ร่วมกัน และเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตซึ่งกันและกันจะสามารถปลูกฝังทัศนคติที่ดีระหว่างกันได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมและการสร้างความสงบในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการค่ายวิชาการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ดังกล่าวขึ้น
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา นายมานิตย์ กวีรัชต์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สตูล ได้ขอความร่วมมือจากคณะครูอาจารย์ รวมถึงศาสนา ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นและองค์กรศึกษาต่างๆ ร่วมกันให้กำลังใจและวางหัวใจให้กับเด็กนักเรียนและบุตรหลาน เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ละวางและไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้สนับสนุนการศึกษา การให้บริการวิชาการในเขตรับผิดชอบ จ.สงขลา สตูล และ พัทลุง รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงมาตลอด และเห็นว่าทุกรัฐบาลได้สนับสนุนเงินจำนวนมหาศาลในการจัดการศึกษา รวมถึงการปราบปรามยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ก็เหมือนกับการศึกษาที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งยังทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ หากนักเรียนยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาให้มากขึ้น ให้หลายช่องทาง ด้วยสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ นักเรียนสามารถหาความรู้ด้วยตนเองจากของจริง เพื่อให้เด็กได้กล้าคิด กล้าทำ นำไปสู่การตัดสินใจ และแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา ให้นักเรียนเรียนรู้นอกสถานที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาจากของจริง และลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม ตลอดจนการป้องกันยาเสพติด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024