วันที่ 30 มีนาคม – 2 เมษายน 2568 ณ ห้องบลูโอเชี่ยน อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ร่วมกับเครือข่าย Thailand gastronomy network จัดโครงการพัฒนานักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร จ.สงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตร “การพัฒนานักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร” และสร้างนักออกแบบวัฒนธรรมอาหารที่เสริมสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นการสร้างทูตสันถวไมตรีแห่งอาหารสำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านอาหารและด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ โดยเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร (Product Hero) ผ่านการเล่าเรื่องจนก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองน่าเที่ยวที่เข้มแข็ง (Premium Tourism) อีกทั้งเพื่อการผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ City or Region of Gastronomy ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาคของประเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สป.อว. ในโครงการ Reinventing University ปี 2568 ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาเครือข่ายและเขตพื้นที่วัฒนธรรมอาหารสู่การสร้างสรรค์ระดับภูมิภาค : ศูนย์กลางบูรณาการสำหรับการออกแบบประสบการณ์วัฒนธรรมด้านอาหารระดับพรีเมียม โดยการนำองค์ความรู้จากเครือข่าย Thailand Gastronomy Network มาเชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอาหารภายใต้แนวคิด Songkhla Gastronomy Network เพื่อพัฒนาภูมิภาคให้เป็นศูนย์กลางอาหาระดับพรีเมียม โดยเลือกพื้นที่ต้นแบบคือ อำเภอบางกล่ำ ทั้ง 4 ตำบล เน้นการพัฒนาทุนทางอาหารที่เป็น Product Hero อย่างน้ำผึ้งชันโรง มาบูรณาการกับความรู้ด้าน Gastronomy Design รวมไปถึงการสร้างนักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร (Gastronomy Designer) ที่สามารถพัฒนาอาหารท้องถิ่นให้มีมูลค่าในตลาดที่เชื่อมโยงอาหารกับการท่องเที่ยว เช่น Farm tour / Workshop การทำอาหาร และการออกแบบของฝากจากวัตถุดิบท้องถิ่นส่งเสริม Soft Power ด้านอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้สงขลาก้าวสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ด้านอาหาร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแพลตฟอร์มเรียนรู้ และพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป้าหมายคือการทำให้ Songkhla Gastronomy Network เป็นโมเดลต้นแบบ ที่ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป
ผศ.ดร.จุฑามาส วิศาลสิงห์ President Thailand gastronomy network กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการรวมตัวเครือข่าย มาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ส่งเสริมนโยบายของจังหวัดสงขลาด้านวัฒนธรรมอาหารของยูเนสโก โดยเริ่มจากการกำหนดพื้นที่หลักที่มีวัตถุดิบน่าสนใจอย่างอำเภอบางกล่ำ ดึงคนในห่วงโซ่อาหารมาทำงานร่วมกัน เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน คิลปิน ร้านอาหาร รวม 60 คน ที่ผ่านการอบรมตั้งแต่ต้นทาง มาออกแบบให้เกิดความหลากหลายบนเมนูอาหาร การออกแบบของฝาก ของที่ระลึก ตลอดจนถึงประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพืชผลสามารถออกแบบวัตถุดิบตามฤดูกาล โดยครั้งนี้เครือข่ายทุกคนจะมีหลักคิดในการคิดต่อยอด สานต่อในร้านของตนเอง ร่วมถึงการเตรียมระบบด้านการตลาด จึงอยากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมด้านอาหารไปด้วยกัน
คุณพิมพ์ทิพย์ เป้าศิลา (เชฟเบลล์) Chair of Event and Partnerships กล่าวว่า ในโครงการนี้ได้เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องของการสร้างไอเดียแปลงวัตถุดิบของในชุมชนมาเพิ่มมูลค่า เช่น ข่าแดง ดอกดาหลา มาทำเป็นไซรัปใช้ในอาหารเครื่องดื่ม เนื่องจาก 80-90% วัตถุดิบในชุมชนที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้ อยากให้ไอเดียการนำวัตถุดิบของเมืองมาใช้อย่างน้ำผึ้งชันโรงที่สามารถมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ อยากให้มีสูตรทางความคิดใหม่ในแต่ละร้าน ซึ่งจะทำให้ร้านมีจุดขายมีเอกลักษณ์มากขึ้น กฤษฎากร สุขมูล Deputy President and Chair of Creative Content and Marketing กล่าวว่า ในโครงการนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของการสื่อสารผ่านภาพถ่าย รวมถึงการดึงองค์ประกอบให้ดูน่าสนใจ การพัฒนาไอเดียสู่การโปรดักชั่นภาพถ่าย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ด้านครีเอทีฟ ด้านmood and tone และสุดท้ายด้านการถ่ายภาพ ซึ่งจะมีกรอบวิธีคิดไปเล่าเรื่องอย่างไรให้มีเอกลักษณ์ สามารถเชื่อมโยงอาหารสู่เรื่องราวต่างๆได้ เป็นการพาคนเดินทางไปสำรวจอัตลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเข้าใจมากกว่าคำว่าอาหาร.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
April 6, 2025
April 5, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โครงการพัฒนานักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร จ.สงขลา
วันที่ 30 มีนาคม – 2 เมษายน 2568
ณ ห้องบลูโอเชี่ยน อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ร่วมกับเครือข่าย Thailand gastronomy network จัดโครงการพัฒนานักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร จ.สงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตร “การพัฒนานักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร” และสร้างนักออกแบบวัฒนธรรมอาหารที่เสริมสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นการสร้างทูตสันถวไมตรีแห่งอาหารสำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านอาหารและด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ
โดยเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร (Product Hero) ผ่านการเล่าเรื่องจนก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองน่าเที่ยวที่เข้มแข็ง (Premium Tourism) อีกทั้งเพื่อการผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ City or Region of Gastronomy ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาคของประเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สป.อว. ในโครงการ Reinventing University ปี 2568 ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาเครือข่ายและเขตพื้นที่วัฒนธรรมอาหารสู่การสร้างสรรค์ระดับภูมิภาค : ศูนย์กลางบูรณาการสำหรับการออกแบบประสบการณ์วัฒนธรรมด้านอาหารระดับพรีเมียม โดยการนำองค์ความรู้จากเครือข่าย Thailand Gastronomy Network มาเชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงอาหารภายใต้แนวคิด Songkhla Gastronomy Network เพื่อพัฒนาภูมิภาคให้เป็นศูนย์กลางอาหาระดับพรีเมียม โดยเลือกพื้นที่ต้นแบบคือ อำเภอบางกล่ำ ทั้ง 4 ตำบล เน้นการพัฒนาทุนทางอาหารที่เป็น Product Hero อย่างน้ำผึ้งชันโรง มาบูรณาการกับความรู้ด้าน Gastronomy Design รวมไปถึงการสร้างนักออกแบบวัฒนธรรมอาหาร (Gastronomy Designer) ที่สามารถพัฒนาอาหารท้องถิ่นให้มีมูลค่าในตลาดที่เชื่อมโยงอาหารกับการท่องเที่ยว เช่น Farm tour / Workshop การทำอาหาร และการออกแบบของฝากจากวัตถุดิบท้องถิ่นส่งเสริม Soft Power ด้านอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้สงขลาก้าวสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ด้านอาหาร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างแพลตฟอร์มเรียนรู้ และพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป้าหมายคือการทำให้ Songkhla Gastronomy Network เป็นโมเดลต้นแบบ ที่ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป
ผศ.ดร.จุฑามาส วิศาลสิงห์ President Thailand gastronomy network กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการรวมตัวเครือข่าย มาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ส่งเสริมนโยบายของจังหวัดสงขลาด้านวัฒนธรรมอาหารของยูเนสโก โดยเริ่มจากการกำหนดพื้นที่หลักที่มีวัตถุดิบน่าสนใจอย่างอำเภอบางกล่ำ ดึงคนในห่วงโซ่อาหารมาทำงานร่วมกัน เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน คิลปิน ร้านอาหาร รวม 60 คน ที่ผ่านการอบรมตั้งแต่ต้นทาง มาออกแบบให้เกิดความหลากหลายบนเมนูอาหาร การออกแบบของฝาก ของที่ระลึก ตลอดจนถึงประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพืชผลสามารถออกแบบวัตถุดิบตามฤดูกาล โดยครั้งนี้เครือข่ายทุกคนจะมีหลักคิดในการคิดต่อยอด สานต่อในร้านของตนเอง ร่วมถึงการเตรียมระบบด้านการตลาด จึงอยากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมด้านอาหารไปด้วยกัน
คุณพิมพ์ทิพย์ เป้าศิลา (เชฟเบลล์) Chair of Event and Partnerships กล่าวว่า ในโครงการนี้ได้เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องของการสร้างไอเดียแปลงวัตถุดิบของในชุมชนมาเพิ่มมูลค่า เช่น ข่าแดง ดอกดาหลา มาทำเป็นไซรัปใช้ในอาหารเครื่องดื่ม เนื่องจาก 80-90% วัตถุดิบในชุมชนที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้ อยากให้ไอเดียการนำวัตถุดิบของเมืองมาใช้อย่างน้ำผึ้งชันโรงที่สามารถมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ อยากให้มีสูตรทางความคิดใหม่ในแต่ละร้าน ซึ่งจะทำให้ร้านมีจุดขายมีเอกลักษณ์มากขึ้น
กฤษฎากร สุขมูล Deputy President and Chair of Creative Content and Marketing กล่าวว่า ในโครงการนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของการสื่อสารผ่านภาพถ่าย รวมถึงการดึงองค์ประกอบให้ดูน่าสนใจ การพัฒนาไอเดียสู่การโปรดักชั่นภาพถ่าย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ด้านครีเอทีฟ ด้านmood and tone และสุดท้ายด้านการถ่ายภาพ ซึ่งจะมีกรอบวิธีคิดไปเล่าเรื่องอย่างไรให้มีเอกลักษณ์ สามารถเชื่อมโยงอาหารสู่เรื่องราวต่างๆได้ เป็นการพาคนเดินทางไปสำรวจอัตลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเข้าใจมากกว่าคำว่าอาหาร.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อำเภอขนอมประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอขนอม และผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2568
April 6, 2025
อบจ.สงขลา ร่วมประกอบพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 ...
April 6, 2025
SPRC ร่วมกับ เชฟรอน มอบบัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้ กทม. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
April 5, 2025
โรงไฟฟ้าขนอมร่วมสนับสนุนอาหารในงานปริวาสกรรม ณ วัดคีรีวง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
April 5, 2025