คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.สนามชัย อ.สทิงพระ ถ่ายทอดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากใบพลู ช่วยชุมชนแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.ธีรยุทธ์ ศรียาเทพ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และนักศึกษาของทางคณะฯ ลงพื้นที่ ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากใบพลู (สบู่โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน เซรั่ม) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพและนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างสมดุลและเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ กล่าวว่า ประชากรส่วนใหญ่ใน ต.สนามชัย ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพปลูกใบพลูเพื่อจำหน่ายเป็นผลผลิตครัวเรือน โดยช่วงหลังเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (ประมาณปี พ.ศ. 2566) ผลิตภัณฑ์จากใบพลูมีผลผลิตออกมามาก ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ ทางคณะฯ เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเข้ามาสนับสนุนชุมชนในการจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าใบพลู โดยทีมคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ได้นำใบพลูที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการของตลาด มาสกัดสารแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ของใบพลู เพื่อค้นหาว่ามีสารใดบ้างที่มีองค์ประกอบ สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ ภายใต้โจทย์ที่ว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความต้องการของชุมชน จึงนำมาสู่การจัดทำ “สบู่” และ “โฟมล้างหน้า” จากใบพลู โดยมีเลขที่จดแจ้งเรียบร้อยพร้อมจำหน่าย รวมถึงยาสีฟันซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ในการดำเนินการดังกล่าว มรภ.สงขลา โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ลงพื้นที่ ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา เพื่อถ่ายทอดกรรมวิธีในการผลิตฯ สู่ชุมชน โดยทางมหาวิทยาลัยคาดหวังให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งจะนำเข้าคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP) โดยประสานความร่วมมือกับพัฒนาชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ในการสนับสนุนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และก่อให้เกิดผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป
สำหรับการจัดอบรมของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีประสิทธิภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
April 2, 2025
March 24, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา สอนทำเครื่องสำอางจากใบพลู ช่วยชุมชนแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด
คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.สนามชัย อ.สทิงพระ ถ่ายทอดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากใบพลู ช่วยชุมชนแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.ธีรยุทธ์ ศรียาเทพ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และนักศึกษาของทางคณะฯ ลงพื้นที่ ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากใบพลู (สบู่โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน เซรั่ม) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพและนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างสมดุลและเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ กล่าวว่า ประชากรส่วนใหญ่ใน ต.สนามชัย ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพปลูกใบพลูเพื่อจำหน่ายเป็นผลผลิตครัวเรือน โดยช่วงหลังเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (ประมาณปี พ.ศ. 2566) ผลิตภัณฑ์จากใบพลูมีผลผลิตออกมามาก ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ ทางคณะฯ เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเข้ามาสนับสนุนชุมชนในการจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าใบพลู โดยทีมคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ได้นำใบพลูที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการของตลาด มาสกัดสารแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ของใบพลู เพื่อค้นหาว่ามีสารใดบ้างที่มีองค์ประกอบ สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ ภายใต้โจทย์ที่ว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความต้องการของชุมชน จึงนำมาสู่การจัดทำ “สบู่” และ “โฟมล้างหน้า” จากใบพลู โดยมีเลขที่จดแจ้งเรียบร้อยพร้อมจำหน่าย รวมถึงยาสีฟันซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ในการดำเนินการดังกล่าว มรภ.สงขลา โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ลงพื้นที่ ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา เพื่อถ่ายทอดกรรมวิธีในการผลิตฯ สู่ชุมชน โดยทางมหาวิทยาลัยคาดหวังให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งจะนำเข้าคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP) โดยประสานความร่วมมือกับพัฒนาชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ในการสนับสนุนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และก่อให้เกิดผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป
สำหรับการจัดอบรมของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีประสิทธิภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มรภ.สงขลา จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร บริจาคโลหิต 70 พรรษา 70 ล้านซีซี ...
April 2, 2025
มรภ.สงขลา ประชุมทบทวนแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย ระดมสมองบุคลากรร่วมแสดงความคิดเห็น
April 2, 2025
คณะศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา ชวนร่วมอบรมดนตรี “Active Learning in 21st-Century ...
March 24, 2025
มรภ.สงขลา ติดตามความก้าวหน้า 15 โครงการวิศวกรสังคม ปั้น นศ. ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ...
March 24, 2025