วันนี้ (18 มกราคม 2568) นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ลงนามความร่วมมือ 12 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำประปา หมู่บ้านสะอาด สู่การยกระดับเมืองสุขภาพดี ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายกระทรวงสาธารณสุขนอกจากการส่งเสริมสุขภาพ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศนโยบาย 3C Clear Clean Chlorine “น้ำประปาหมู่บ้านสะอาด” ที่จังหวัดสงขลา พร้อมมอบธงขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวแก่ 7 จังหวัดด้ามขวานประเทศไทย ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา สำหรับวันนี้ ถือเป็นการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น โดยลงนามความร่วมมือ ร่วมกับ 12 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สันนิบาตเทศบาลจังหวัดสงขลา ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา การประปา ส่วนภูมิภาคเขต 5 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 สงขลา สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 สงขลา สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 16 สงขลา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ถือว่าจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดแรกที่จะมีการขับเคลื่อนตามนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ การพัฒนายกระดับคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านเป็นการลงทุนที่สร้างผลลัพธ์อันคุ้มค่า ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืน โดยจังหวัดสงขลาทุกแห่ง 141 แห่ง เป็นกุญแจสำคัญและเป็นหน่วยงานที่จะช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมายนั่นคือทุกแห่งตั้งงบประมาณสนับสนุนปีละ 1 หมื่นบาทในการพัฒนาคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านเพื่อประชาชนชาวจังหวัดสงขลาทั้ง 16 อำเภอ 127 ตำบล 1,180 หมู่บ้าน ประชาชน 1.4 ล้านคน จะมีน้ำประปาสะอาดใช้เพียงพอทุกคน สำหรับในปี 2568 กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าให้น้ำประปาหมู่บ้านในประเทศ ผ่านเกณฑ์น้ำประปาสะอาด 1,750 แห่ง และน้ำประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสงขลาอย่างน้อยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละ 1 แห่ง” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะการจัดน้ำดื่มที่สะอาดและเพียงพอเป็นประเด็นที่ทั่วโลก ให้ความสำคัญและเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (Sustainable Development Goal: SDG6) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่ม ที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาคุณภาพน้ำประปาไม่ได้มาตรฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของน้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้มากที่สุด ข้อมูลจากกรมอนามัยในการสุ่มเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี 2561-2567 จำนวน 10,271 แห่ง พบว่า มีเพียง 420 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4 เท่านั้น ที่ผ่านการรับรองเป็นน้ำประปาหมู่บ้านสะอาด ที่มีความปลอดภัยสำหรับนำมาบริโภคในครัวเรือน ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับน้ำประปาในเขตเมือง และปัญหาสำคัญ คือ ยังขาดความครอบคลุมในการตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน อันเนื่องมาจากขาดงบประมาณดำเนินการ ซึ่งทั้งประเทศมีประปาหมู่บ้าน ทั้งหมด 69,028 แห่ง ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายเดชอิศม์ ขาวทอง จึงมีนโยบายพัฒนาและยกระดับคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านให้สะอาดและปลอดภัยครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย “วันนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่กรมอนามัยได้ลงนามร่วมกับ 12 หน่วยงานในจังหวัดสงขลา รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานน้ำประปาสะอาด เพื่อให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ร่วมมือกันพัฒนาระบบประปาหมู่บ้านในพื้นที่เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดสงขลา ให้สามารถผลิตน้ำประปาได้ตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ของกรมอนามัย พ.ศ.2563 ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนมีน้ำบริโภคที่สะอาด ปลอดภัย เพื่อเป็นปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนและสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG6) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ภายในปี พ.ศ. 2570” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
January 31, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“เดชอิศม์” จับมือ 12 หน่วยงาน เร่งปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านจังหวัดสงขลา ตั้งเป้าปี’68 น้ำประปาหมู่บ้านทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์ 1,750 แห่ง
วันนี้ (18 มกราคม 2568) นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ลงนามความร่วมมือ 12 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำประปา หมู่บ้านสะอาด สู่การยกระดับเมืองสุขภาพดี ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายกระทรวงสาธารณสุขนอกจากการส่งเสริมสุขภาพ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศนโยบาย
3C Clear Clean Chlorine “น้ำประปาหมู่บ้านสะอาด” ที่จังหวัดสงขลา พร้อมมอบธงขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวแก่ 7 จังหวัดด้ามขวานประเทศไทย ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา สำหรับวันนี้ ถือเป็นการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น โดยลงนามความร่วมมือ ร่วมกับ 12 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สันนิบาตเทศบาลจังหวัดสงขลา ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา การประปา
ส่วนภูมิภาคเขต 5 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 12 สงขลา สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 สงขลา สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 16 สงขลา สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ถือว่าจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดแรกที่จะมีการขับเคลื่อนตามนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ การพัฒนายกระดับคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านเป็นการลงทุนที่สร้างผลลัพธ์อันคุ้มค่า
ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืน โดยจังหวัดสงขลาทุกแห่ง 141 แห่ง เป็นกุญแจสำคัญและเป็นหน่วยงานที่จะช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมายนั่นคือทุกแห่งตั้งงบประมาณสนับสนุนปีละ 1 หมื่นบาทในการพัฒนาคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านเพื่อประชาชนชาวจังหวัดสงขลาทั้ง 16 อำเภอ 127 ตำบล 1,180 หมู่บ้าน ประชาชน 1.4 ล้านคน จะมีน้ำประปาสะอาดใช้เพียงพอทุกคน สำหรับในปี 2568 กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าให้น้ำประปาหมู่บ้านในประเทศ ผ่านเกณฑ์น้ำประปาสะอาด 1,750 แห่ง และน้ำประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสงขลาอย่างน้อยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละ 1 แห่ง” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดหาให้กับประชาชน โดยเฉพาะการจัดน้ำดื่มที่สะอาดและเพียงพอเป็นประเด็นที่ทั่วโลก ให้ความสำคัญและเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่
6 (Sustainable Development Goal: SDG6) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่ม
ที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาคุณภาพน้ำประปาไม่ได้มาตรฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของน้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้มากที่สุด ข้อมูลจากกรมอนามัยในการสุ่มเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี 2561-2567 จำนวน 10,271 แห่ง พบว่า มีเพียง
420 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4 เท่านั้น ที่ผ่านการรับรองเป็นน้ำประปาหมู่บ้านสะอาด ที่มีความปลอดภัยสำหรับนำมาบริโภคในครัวเรือน ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับน้ำประปาในเขตเมือง และปัญหาสำคัญ คือ ยังขาดความครอบคลุมในการตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน อันเนื่องมาจากขาดงบประมาณดำเนินการ ซึ่งทั้งประเทศมีประปาหมู่บ้าน ทั้งหมด 69,028 แห่ง ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายเดชอิศม์ ขาวทอง จึงมีนโยบายพัฒนาและยกระดับคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านให้สะอาดและปลอดภัยครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย
“วันนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่กรมอนามัยได้ลงนามร่วมกับ 12 หน่วยงานในจังหวัดสงขลา รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานน้ำประปาสะอาด เพื่อให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ร่วมมือกันพัฒนาระบบประปาหมู่บ้านในพื้นที่เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดสงขลา ให้สามารถผลิตน้ำประปาได้ตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ของกรมอนามัย พ.ศ.2563 ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
ที่มุ่งสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนมีน้ำบริโภคที่สะอาด ปลอดภัย เพื่อเป็นปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนและสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG6) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ภายในปี พ.ศ. 2570” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Wonderful of love วาเลนไทน์ใต้แสงพลุ เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา ...
January 31, 2025
ฉลอง 25ปี อย่างต่อเนื่องกับ บริษัท มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป ...
January 31, 2025
โค้งสุดท้าย หาดทิพย์ ชวนวิ่ง หาดทิพย์แฟนรัน ปี 5 ธีมงานวัดแนวโมเดิร์น ...
January 31, 2025
โค้งสุดท้ายสนามอบจ.สงขลา “พิพัฒน์” ดอดให้กำลังใจหลังเวที “นายกแบน” ชูยุทธศาสตร์ความร่วมมือกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
January 31, 2025