โครงการยุวชนอาสามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พัฒนา “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” เป็น Soft Power อาหารท้องถิ่นที่โดดเด่นระดับชาติจนสามารถสร้างรายได้ทั่วทั้งประเทศ เตรียมผลักดัน “ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่” เป็นเมนูประจำการแข่งขันในซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ปี 68 ที่ จ.สงขลา เป็นเจ้าภาพ แนะเปิดสอนหลักสูตร Reskill Upskill การทำไก่ทอดหาดใหญ่ระยะสั้นแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่
เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ ๆวิจัยและวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารโครงการยุวชนอาสา ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” ภายใต้โครงการยุวชนอาสา ประจำปี พ.ศ. 2567 ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมี ผศ.ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ น.ส.รมิตา ธุระบุตร์ รองนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนสงขลา คณาจารย์ และนักศึกษา ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จ.สงขลา
ผศ.ดร.วิทวัส กล่าวว่า โครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” เป็นผลงานยุวชนอาสา ในการสร้างซิกเนเจอร์ให้กับอาหารท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ไก่ทอดหาดใหญ่ผ่านเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดไก่ทอดหาดใหญ่ให้ดูน่ารับประทานและดูพรีเมี่ยมมากขึ้น สามารถเชื่อมโยงสู่ชุมชนในพื้นที่ในการจัดจำหน่ายตำรับไก่ทอดหาดใหญ่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดสงขลา และยังสามารถสร้างชื่อเสียงในระดับชุมชน ระดับจังหวัดและระดับประเทศได้ โครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” มีจุดเริ่มต้นจากนักศึกษาจริงๆ อาจารย์เป็นเพียงผู้คอยแนะนำกลไกวิธีการ ทั้งนี้ขอขอบคุณสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ที่มีโครงการประกวดการสร้างไอเดีย โดยใช้กลไกยุวชนอาสา ซึ่งเป็นการจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักศึกษาและผลักดันให้นักศึกษาได้ใช้ความพยายามในการไปเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและลงมือจนเกิดผลเป็นรูปธรรม
ด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า โครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาอาหารพื้นถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการประสานการทำงานกับหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการและผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือ ทำให้ “ไก่ทอดหาดใหญ่” แม้จะเป็นอาหารท้องถิ่นแต่สามารถสร้างความโดดเด่นในการสร้างรายได้ให้ทั่วทั้งประเทศ และเป็นที่น่ายินดีที่ได้ทราบว่าทีมผู้จัดทำเตรียมร่วมมือกับทาง จ.สงขลา ผลักดันให้ตำหรับข้าวเหนียวไก่ทอดเป็นเมนูประจำการแข่งขันในมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม ปี 2568 ที่ จ.สงขลา เป็นเจ้าภาพร่วม
“ผมขอชื่นชมการทำงานของอาจารย์และนักศึกษา ที่พยายามทำงานกันอย่างหนัก รวมถึงชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ อยากเสนอแนะให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ฮาลาล เพื่อยกระดับให้ไก่ทอดหาดใหญ่สามารถขยายพื้นที่การจำหน่ายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยที่ยังคงความมั่นใจ ในสินค้าของผู้บริโภคชาวมุสลิม และอยากให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เปิดสอนหลักสูตร Reskill Upskill การทำไก่ทอดหาดใหญ่ระยะสั้นแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ด้วย” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ น.ส.นิสากร จึงเจริญธรรม กรรมการบริหารโครงการยุวชนอาสา กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นกับโครงการนี้มาก เพราะทำให้เห็นถึงรูปแบบวิธีการดำเนินงานที่มีความหลากหลาย และความพยายามของทีมงานที่จะพัฒนาไก่ทอดหาดใหญ่ ที่นอกจากจะขายได้แล้ว ยังคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคด้วย แต่ด้วยเอกลักษณ์ของไก่ทอดหาดใหญ่ “หอมเจียว” เป็นตัวชูรสชาติอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ อาจจะต้องเน้นในส่วนนี้เพิ่มเติม เพื่อคงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ถ้าใครได้ชิม ต้องรู้เลยว่านี่คือไก่ทอดหาดใหญ่อย่างแน่นอน และต้องไม่ลืม “มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)” ที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค สร้างโอกาสในการจำหน่าย และเพิ่มรายได้เข้าสู่ชุมชนต่อไปด้วย.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
โครงการยุวชนอาสามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พัฒนา “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่”
โครงการยุวชนอาสามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พัฒนา “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” เป็น Soft Power อาหารท้องถิ่นที่โดดเด่นระดับชาติจนสามารถสร้างรายได้ทั่วทั้งประเทศ เตรียมผลักดัน “ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่” เป็นเมนูประจำการแข่งขันในซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ปี 68 ที่ จ.สงขลา เป็นเจ้าภาพ แนะเปิดสอนหลักสูตร Reskill Upskill การทำไก่ทอดหาดใหญ่ระยะสั้นแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่
เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ ๆวิจัยและวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารโครงการยุวชนอาสา ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” ภายใต้โครงการยุวชนอาสา ประจำปี พ.ศ. 2567 ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมี ผศ.ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ น.ส.รมิตา ธุระบุตร์ รองนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนสงขลา คณาจารย์ และนักศึกษา ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จ.สงขลา
ผศ.ดร.วิทวัส กล่าวว่า โครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” เป็นผลงานยุวชนอาสา ในการสร้างซิกเนเจอร์ให้กับอาหารท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ไก่ทอดหาดใหญ่ผ่านเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดไก่ทอดหาดใหญ่ให้ดูน่ารับประทานและดูพรีเมี่ยมมากขึ้น สามารถเชื่อมโยงสู่ชุมชนในพื้นที่ในการจัดจำหน่ายตำรับไก่ทอดหาดใหญ่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดสงขลา และยังสามารถสร้างชื่อเสียงในระดับชุมชน ระดับจังหวัดและระดับประเทศได้ โครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” มีจุดเริ่มต้นจากนักศึกษาจริงๆ อาจารย์เป็นเพียงผู้คอยแนะนำกลไกวิธีการ ทั้งนี้ขอขอบคุณสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ที่มีโครงการประกวดการสร้างไอเดีย โดยใช้กลไกยุวชนอาสา ซึ่งเป็นการจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักศึกษาและผลักดันให้นักศึกษาได้ใช้ความพยายามในการไปเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและลงมือจนเกิดผลเป็นรูปธรรม
ด้าน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า โครงการ “ตำรับไก่ทอดหาดใหญ่” แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาอาหารพื้นถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการประสานการทำงานกับหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการและผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือ ทำให้ “ไก่ทอดหาดใหญ่” แม้จะเป็นอาหารท้องถิ่นแต่สามารถสร้างความโดดเด่นในการสร้างรายได้ให้ทั่วทั้งประเทศ และเป็นที่น่ายินดีที่ได้ทราบว่าทีมผู้จัดทำเตรียมร่วมมือกับทาง จ.สงขลา ผลักดันให้ตำหรับข้าวเหนียวไก่ทอดเป็นเมนูประจำการแข่งขันในมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม ปี 2568 ที่ จ.สงขลา เป็นเจ้าภาพร่วม
“ผมขอชื่นชมการทำงานของอาจารย์และนักศึกษา ที่พยายามทำงานกันอย่างหนัก รวมถึงชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ อยากเสนอแนะให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ฮาลาล เพื่อยกระดับให้ไก่ทอดหาดใหญ่สามารถขยายพื้นที่การจำหน่ายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยที่ยังคงความมั่นใจ ในสินค้าของผู้บริโภคชาวมุสลิม และอยากให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เปิดสอนหลักสูตร Reskill Upskill การทำไก่ทอดหาดใหญ่ระยะสั้นแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ด้วย” ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ น.ส.นิสากร จึงเจริญธรรม กรรมการบริหารโครงการยุวชนอาสา กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นกับโครงการนี้มาก เพราะทำให้เห็นถึงรูปแบบวิธีการดำเนินงานที่มีความหลากหลาย และความพยายามของทีมงานที่จะพัฒนาไก่ทอดหาดใหญ่ ที่นอกจากจะขายได้แล้ว ยังคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคด้วย แต่ด้วยเอกลักษณ์ของไก่ทอดหาดใหญ่ “หอมเจียว” เป็นตัวชูรสชาติอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ อาจจะต้องเน้นในส่วนนี้เพิ่มเติม เพื่อคงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ถ้าใครได้ชิม ต้องรู้เลยว่านี่คือไก่ทอดหาดใหญ่อย่างแน่นอน และต้องไม่ลืม “มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)” ที่ผู้ประกอบการทุกคนจะต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค สร้างโอกาสในการจำหน่าย และเพิ่มรายได้เข้าสู่ชุมชนต่อไปด้วย.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024