โดยเทศกาลครั้งนี้จัดขึ้นในธีม ‘The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก!’ โดยนำเสนอผ่าน 5 คอนเซ็ปต์หลัก ได้แก่ Film Festival เทศกาลภาพยนตร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคนสร้างสรรค์ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ นำไปสู่กลไกความร่วมมือในอนาคต Livable City Project โปรเจ็กต์เชิงทดลองเพื่อสร้างความน่าอยู่ของย่านและเมืองในบริบทภูมิภาคใต้ South Secret Recipe ตำรับลับสำรับใต้ ที่รวบรวมองค์ความรู้และต่อยอดเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอาหารใต้ไร้พรมแดน Art & Craft of Living South การจัดแสดงศิลปะในเมือง ที่รวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านงานฝีมือของภาคใต้ เพื่อสร้างตัวอย่างการต่อยอดให้ร่วมสมัย แต่ยังคงสืบทอดเทคนิคทักษะพื้นถิ่น และ Festival Vibe เติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์ให้กับเมือง
นอกจากการสนับสนุนงาน “เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้” แล้ว เชฟรอนยังได้ร่วมสนับสนุนภารกิจการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเมืองเก่าผ่านโครงการมากมาย อาทิ สนับสนุนการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่า “คิด บวก ดี” (Kid+Dee @ Historic Center) เพื่อเป็นศูนย์ประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า การจัดทำป้ายสื่อความหมายให้กับร้านดั้งเดิมบนถนนนางงาม เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดกิจกรรม “Music and Night at the Museum” ของทุกปี เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สงขลาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติยามค่ำคืน ตลอดจนร่วมพัฒนาสงขลาสู่การเป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่บรรจุในแผนการพัฒนาจังหวัดสงขลา 20 ปี
เชฟรอนพาสื่อเยี่ยมชมกิจกรรมเพื่อสังคมในสงขลา สะท้อนความมุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ดีกับชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ภาคใต้ถือเป็นภูมิภาคที่สำคัญภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ทั้งในด้านการท่องเที่ยว เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการค้า บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะภาคเอกชน ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจในหลายพื้นที่ในภาคใต้มาหลายทศวรรษ มุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ดีกับชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จึงได้พาสื่อมวลชนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ร่วมดูงานโครงการเพื่อสังคมของบริษัทฯ ณ จังหวัดสงขลา เพื่อแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป ในด้านการพัฒนาโครงการเพื่อความยั่งยืน
โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา การทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา และประชาสังคม ของเชฟรอนในภาคใต้ ได้รับการยอมรับถึงผลลัพธ์เชิงบวกในด้านการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต จากหลายหน่วยงาน อาทิ เมื่อปี พ.ศ. 2566 เชฟรอนได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง และในปีนี้ เชฟรอนได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะผู้สนับสนุนกระบวนการสุขเป็น เพื่อขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็งในพื้นที่ภาคใต้
นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะบริษัทพลังงาน ที่ผู้บุกเบิกและพัฒนาธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทยมากว่า 6 ทศวรรษ เชฟรอนมีนโยบายดำเนินธุรกิจควบคู่กับการทำงานร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมที่มีกลยุทธ์ใน 4 ด้าน ได้แก่ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต การส่งเสริมการศึกษา และการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
“ทะเลอ่าวไทย และจังหวัดโดยรอบ จึงเปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองของเชฟรอนที่ผูกพันกันมายาวนานกว่า 40 ปี ทั้งนี้ ในการทำโครงการเพื่อสังคม เรามุ่งให้ความสำคัญกับการทำงานแบบบูรณาการ ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนได้อย่างตรงจุด และสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการระยะยาว ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างต้นแบบ และพัฒนาพลังคน อาทิ โครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และโครงการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าสงขลา ซึ่งล้วนเห็นผลความสำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสงขลาได้อย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้”
เสริมศักยภาพเกษตรกรสวนยาง พร้อมเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ
ในจังหวัดสงขลา คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรยางพาราเป็นอาชีพหลัก และการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การผลิตยางแผ่นรมควันซึ่งใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ทำให้มีต้นทุนที่สูงและบางครั้งไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ อีกทั้งกระบวนการผลิตยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและน้ำเสียส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบสหกรณ์อีกด้วย ในปี พ.ศ. 2558 บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบพลังงาน (PERIN) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซชีวภาพ และใช้ก๊าซชีวภาพไปรมควันยางแผ่นเพื่อช่วยประหยัดเชื้อเพลิงไม้ฟืน ตลอดจนนำระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตยางแผ่นและการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยนำร่องต้นแบบ ณ สหกรณ์บ้านทรายขาว และสหกรณ์ยูงทอง ตอบโจทย์การพัฒนาสงขลาของภาครัฐที่มุ่งให้เป็นเมืองเกษตรกรรมสีเขียวมูลค่าสูง และสอดคล้องกับหลักการของแบบจำลองโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG
ศาสตราจารย์ ดร. สุเมธ ไชยประพัทธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “ทางมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากเชฟรอนมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว โดยเรามุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราและกรรมการบริหารสหกรณ์ฯ อย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่แน่ใจว่าอุปกรณ์และเทคโนโลยีเหมาะสมกับวิถีการดำรงอยู่ของวิสาหกิจชุมชนยางพารานี้ เมื่อทุกระบบทำงาน แต่ละสหกรณ์สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 425 ตัน/ปี หรือประมาณร้อยละ 31 และการนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ช่วยลดการใช้ฟืน ส่งผลให้ประหยัดเงินของสหกรณ์ฯ ได้ 130,000-180,000 บาทต่อปี ซึ่งตอนนี้ สหกรณ์ยางแผ่นรมควันยูงทองเป็นต้นแบบในการส่งต่อความรู้ให้กับสหกรณ์อื่นๆ ในพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ เรายังต่อยอดสู่ ‘โครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ’ โดยผลักดันให้สหกรณ์ยูงทองขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของยางแผ่นรมควัน (Carbon Footprint of Product) ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของสหกรณ์ยางแผ่นรมควันของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการขอรับรองการจดทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) และดำเนินการประเมินความเป็นไปได้ในการทำคาร์บอนเครดิตของสหกรณ์ ตามเงื่อนไขขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ของประเทศไทย เพื่อนำสหกรณ์ยางแผ่นรมควันยูงทองไปสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) แห่งแรกของประเทศไทย”
ร่วมพลิกฟื้น “เมืองเก่าสงขลา” สู่เมืองสร้างสรรค์ระดับโลก
“เมืองเก่าสงขลา” เป็นแหล่งชุมชนพหุวัฒนธรรม ผสมผสานทั้งพุทธ มุสลิม และจีน ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานนับร้อยปี เพื่อคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของวิถีชุมชนคนสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกภาคีเครือข่ายจึงต่างร่วมมือกันพลิกฟื้นย่านเมืองเก่าและดำเนินกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์
หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในปีแรก ในปีนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และภาคีเครือข่าย จึงได้ร่วมกันจัดงาน “เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567” หรือ ปักษ์ใต้ ดีไซน์ วีค (Pakk Taii Design Week) ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นเทศกาลสร้างสรรค์ประจำปีของภาคใต้ ที่นำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่น ผ่านเรื่องราวของ อาหาร ภาพยนตร์ ศิลปะและงานฝีมือ ไปจนถึงงานพัฒนาเมือง
โดยเทศกาลครั้งนี้จัดขึ้นในธีม ‘The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก!’ โดยนำเสนอผ่าน 5 คอนเซ็ปต์หลัก ได้แก่ Film Festival เทศกาลภาพยนตร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคนสร้างสรรค์ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ นำไปสู่กลไกความร่วมมือในอนาคต Livable City Project โปรเจ็กต์เชิงทดลองเพื่อสร้างความน่าอยู่ของย่านและเมืองในบริบทภูมิภาคใต้ South Secret Recipe ตำรับลับสำรับใต้ ที่รวบรวมองค์ความรู้และต่อยอดเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอาหารใต้ไร้พรมแดน Art & Craft of Living South การจัดแสดงศิลปะในเมือง ที่รวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านงานฝีมือของภาคใต้ เพื่อสร้างตัวอย่างการต่อยอดให้ร่วมสมัย แต่ยังคงสืบทอดเทคนิคทักษะพื้นถิ่น และ Festival Vibe เติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์ให้กับเมือง
นอกจากการสนับสนุนงาน “เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้” แล้ว เชฟรอนยังได้ร่วมสนับสนุนภารกิจการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเมืองเก่าผ่านโครงการมากมาย อาทิ สนับสนุนการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่า “คิด บวก ดี” (Kid+Dee @ Historic Center) เพื่อเป็นศูนย์ประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า การจัดทำป้ายสื่อความหมายให้กับร้านดั้งเดิมบนถนนนางงาม เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดกิจกรรม “Music and Night at the Museum” ของทุกปี เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สงขลาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติยามค่ำคืน ตลอดจนร่วมพัฒนาสงขลาสู่การเป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่บรรจุในแผนการพัฒนาจังหวัดสงขลา 20 ปี
“เป้าหมายของเชฟรอนคือการทำธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ทั้งธุรกิจของเรา สังคม และสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นทุกโครงการของบริษัท ในทุกจังหวัด ไม่เพียงแต่โครงการในจังหวัดสงขลา จึงสะท้อนวัตถุประสงค์นี้ และตอกย้ำความมุ่งมั่นของเชฟรอนในการเป็นพันธมิตรที่ดีกับสังคมไทย” นางสาวพรสุรีย์ กล่าวสรุป
ด้วยการดำเนินโครงการในระยะยาว การสร้างความมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย และการติดตามผลที่เป็นรูปธรรม ทำให้ทุกวันนี้ทั้ง 2 โครงการ ได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการดำเนินงานและต่อยอดโครงการ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของเชฟรอน สามารถอ่านได้ที่เวบไซต์เชฟรอนประเทศไทย และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน “เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้” สามารถอ่านได้ที่ เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567 | PTDW2024 (pakktaiidesignweek.com).
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024