มรภ.สงขลา จัดยิ่งใหญ่งานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2567 “ตำนานโนรา เบญจคีตา ทักษิณาดุริยางค์” ชูไฮไลท์การแสดงมโนราห์ 1,072 ชีวิต พร้อมทีมงานนักดนตรีคับคั่ง สืบสานรากเหง้าวิถีวัฒนธรรมคู่ท้องถิ่นภาคใต้
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี พ.ศ. 2567 “ตำนานโนรา เบญจคีตา ทักษิณาดุริยางค์” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 2567 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มรภ.สงขลา ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กล่าวรายงานโดย อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อผลักดันศิลปะและวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นำไปสู่การผลักดันให้เป็น Soft Power ด้านเทศกาลประจำปีของ จ.สงขลา และช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไฮไลท์สำคัญของงานนี้ คือการแสดงของมโนราห์ 1,072 คน พร้อมนักดนตรีพื้นบ้านกว่า 100 คน ท่ามกลางแสงสีเสียงตระการตา
นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงและสักการะทวดช้าง พ่อพลายแก้ว แม่พังงา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาว มรภ.สงขลา และชาว ต.เขารูปช้าง โดยมี ผศ.พิเชษฐ์ จันทวี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีบวงสรวง
รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นรากเหง้าของสังคม ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีวัฒนธรรมซึ่งแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของชุมชนและประเทศชาติ วัฒนธรรมเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ซึ่งหมายถึง ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี วัฒนธรรมและอารยธรรมพื้นถิ่น เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นชุมชนท้องถิ่นและสังคมชาติ ในกระแสแห่งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเทคโนโลยี ทำให้วัฒนธรรมและอารยธรรมนานาชาติหลั่งไหลและแทรกซึมเข้าถึงกันอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาจึงต้องเป็นสถาบันหลักในการธำรงรักษาวัฒนธรรม และอารยธรรมของชาติ พร้อมทั้งหาแนวทางในการส่งเสริมให้เลือกปรับเปลี่ยนอย่างชาญฉลาดในการรักษาความเป็นชุมชน สังคมชาติ และพัฒนาชีวิตอย่างสอดคล้องกับสังคมโลก
การจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2567 จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้ร่วมกันศึกษา ทะนุบำรุง และส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะส่วนหนึ่งในการจัดงานครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึง วิถีวัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาอย่างยาวนานจนเป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนภาคใต้ เช่น วัฒนธรรมด้านอาหาร การแสดงพื้นบ้าน โนรา หนังตะลุง ลิเกป่า และอื่น ๆ อันจะเป็นช่องทางให้นักศึกษาและประชาชนได้มองเห็นช่องทางในการเลือกสรรนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยอาศัยศาสตร์พระราชา ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งจะสร้างความสุขและความอยู่ดีกินดี ธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม รุ่งเรืองด้วยอารยธรรมพื้นถิ่น โดยการสืบสานสร้างสรรค์ วัฒนธรรมของชาติเป็นพื้นฐาน
ด้าน อาจารย์จิรภา คงเขียว กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น และของชาติ โดยได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2531 บัดนี้ได้จัดมาเป็นเวลายาวนาน 36 ปี กลายเป็นต้นแบบการจัดงานทางวัฒนธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
การจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ นอกจากเพื่อส่งเสริมภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในลักษณะต่าง ๆ อาทิ การคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปิตาภรณ์แผ่นดิน”การแสดงของเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ การจัดการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาคของประเทศไทย การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า หนังกลางแปลง Chef Table อาหารพื้นถิ่น มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์สงขลา
ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมสาธิตพิธีกรรม “โนราโรงครู” (บูรณาการกิจกรรมร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา) นิทรรศการภาพถ่าย นิทรรศการ “ทักษิณาพัสตราภรณ์” จากเครือข่ายสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ นิทรรศการชุมชนต้นแบบ มรภ.ภัฏสงขลานิทรรศการและการสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม นิทรรศการอาหารและของหรอย 16 อำเภอ การสาธิตและโชว์อาหารพื้นถิ่นจากอำเภอต่าง ๆ การสาธิตการทำแกงน้ำเคยกระทะใหญ่ การแสดงและจำหน่ายสินค้าจากราชทัณฑ์ ตลอดจนการแสดงและจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และสินค้าทั่วไป โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนด้วยดีจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสงขลา เครือข่าย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ วิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ยิ่งใหญ่ ! งานวัฒนธรรมสัมพันธ์ มรภ.สงขลา “ตำนานโนรา เบญจคีตาทักษิณาดุริยางค์” สืบสานรากเหง้าวัฒนธรรมคู่ท้องถิ่นใต้
มรภ.สงขลา จัดยิ่งใหญ่งานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2567 “ตำนานโนรา เบญจคีตา ทักษิณาดุริยางค์” ชูไฮไลท์การแสดงมโนราห์ 1,072 ชีวิต พร้อมทีมงานนักดนตรีคับคั่ง สืบสานรากเหง้าวิถีวัฒนธรรมคู่ท้องถิ่นภาคใต้
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี พ.ศ. 2567 “ตำนานโนรา เบญจคีตา ทักษิณาดุริยางค์” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 2567 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มรภ.สงขลา ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กล่าวรายงานโดย อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อผลักดันศิลปะและวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นำไปสู่การผลักดันให้เป็น Soft Power ด้านเทศกาลประจำปีของ จ.สงขลา และช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไฮไลท์สำคัญของงานนี้ คือการแสดงของมโนราห์ 1,072 คน พร้อมนักดนตรีพื้นบ้านกว่า 100 คน ท่ามกลางแสงสีเสียงตระการตา
นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงและสักการะทวดช้าง พ่อพลายแก้ว แม่พังงา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาว มรภ.สงขลา และชาว ต.เขารูปช้าง โดยมี ผศ.พิเชษฐ์ จันทวี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีบวงสรวง
รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นรากเหง้าของสังคม ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีวัฒนธรรมซึ่งแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงของชุมชนและประเทศชาติ วัฒนธรรมเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ซึ่งหมายถึง ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี วัฒนธรรมและอารยธรรมพื้นถิ่น เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นชุมชนท้องถิ่นและสังคมชาติ ในกระแสแห่งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเทคโนโลยี ทำให้วัฒนธรรมและอารยธรรมนานาชาติหลั่งไหลและแทรกซึมเข้าถึงกันอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาจึงต้องเป็นสถาบันหลักในการธำรงรักษาวัฒนธรรม และอารยธรรมของชาติ พร้อมทั้งหาแนวทางในการส่งเสริมให้เลือกปรับเปลี่ยนอย่างชาญฉลาดในการรักษาความเป็นชุมชน สังคมชาติ และพัฒนาชีวิตอย่างสอดคล้องกับสังคมโลก
การจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2567 จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้ร่วมกันศึกษา ทะนุบำรุง และส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะส่วนหนึ่งในการจัดงานครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึง วิถีวัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาอย่างยาวนานจนเป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนภาคใต้ เช่น วัฒนธรรมด้านอาหาร การแสดงพื้นบ้าน โนรา หนังตะลุง ลิเกป่า และอื่น ๆ อันจะเป็นช่องทางให้นักศึกษาและประชาชนได้มองเห็นช่องทางในการเลือกสรรนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยอาศัยศาสตร์พระราชา ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งจะสร้างความสุขและความอยู่ดีกินดี ธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม รุ่งเรืองด้วยอารยธรรมพื้นถิ่น โดยการสืบสานสร้างสรรค์ วัฒนธรรมของชาติเป็นพื้นฐาน
ด้าน อาจารย์จิรภา คงเขียว กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น และของชาติ โดยได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2531 บัดนี้ได้จัดมาเป็นเวลายาวนาน 36 ปี กลายเป็นต้นแบบการจัดงานทางวัฒนธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
การจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ นอกจากเพื่อส่งเสริมภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในลักษณะต่าง ๆ อาทิ การคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปิตาภรณ์แผ่นดิน”การแสดงของเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ การจัดการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาคของประเทศไทย การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า หนังกลางแปลง Chef Table อาหารพื้นถิ่น มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์สงขลา
ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมสาธิตพิธีกรรม “โนราโรงครู” (บูรณาการกิจกรรมร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา) นิทรรศการภาพถ่าย นิทรรศการ “ทักษิณาพัสตราภรณ์” จากเครือข่ายสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ นิทรรศการชุมชนต้นแบบ มรภ.ภัฏสงขลานิทรรศการและการสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม นิทรรศการอาหารและของหรอย 16 อำเภอ การสาธิตและโชว์อาหารพื้นถิ่นจากอำเภอต่าง ๆ การสาธิตการทำแกงน้ำเคยกระทะใหญ่ การแสดงและจำหน่ายสินค้าจากราชทัณฑ์ ตลอดจนการแสดงและจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และสินค้าทั่วไป โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนด้วยดีจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดสงขลา เครือข่าย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ วิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024