คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ยกระดับการผลิตกาแฟตามมาตรฐานสินค้าเกษตร หนุนเกษตรกร ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง เพิ่มประสิทธิภาพแปรรูปกาแฟโรบัสต้า วิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ควบคู่ส่งเสริมจัดการแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมี
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา นำโดย ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร ผศ.ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล รศ.ดร.ไสว บัวแก้ว และ ว่าที่ร้อยตรีณัฐวุฒิ ขุนหลัด ลงพื้นที่ ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กิจกรรมส่งเสริมและยกระดับการผลิตกาแฟตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (ต.ทุ่งลาน) โดยมี นางอัญชาภัทร์ โพชนุกูล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหอยโข่ง เข้าร่วมกิจกรรมและให้คำปรึกษาในส่วนของการทำแปลงปลูกกาแฟระบบ GAP (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกาแฟโรบัสต้าแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้มาอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าทุ่งลาน วิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ซึ่งในครั้งนี้มีแปลงเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง ที่สามารถเข้าร่วมประเมินแปลงตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟ จำนวน 3 แปลงด้วยกัน ได้แก่ แปลงปลูกร่วมไม้ผลของ นายพันธ์ ประพรม แปลงปลูกกาแฟเชิงเดี่ยวของ นายธณกร ประพรม และแปลงปลูกร่วมยางพาราของ นายสมพงค์ กองคิด
นอกจากนั้น ทีมคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตรยังได้เก็บตัวอย่างโรคและแมลงในแปลงปลูกกาแฟ เพื่อนำไปตรวจสอบและประเมินผลในการกำจัดโรคและแมลงให้กับเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้ เกษตรกรในพื้นที่ให้ความร่วมมือและจัดการแปลงปลูกโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีตามหลักการของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ดี
สำหรับสาระสำคัญของมาตรฐานสินค้าเกษตรในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟมี ข้อกำหนด ดังนี้ 1. แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้ต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตราย 2. พื้นที่ปลูก เป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลผลิต 3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ผู้ใช้ต้องมีความรู้เรื่องการใช้วัตถุอันตรายที่ถูกต้องและทำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร หรือตามคำแนะนำในฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร 4. การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ไม่ปลูกกาแฟต่างชนิดปะปนกันในแปลงปลูก สำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืช กำจัดส่วนของต้นกาแฟรวมทั้งผลร่วงที่เกิดจากโรค แมลงทำลายออกจากแปลงปลูก 5. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลกาแฟสุกแก่โดยพิจารณาจากสีของผลกาแฟ ภายหลังการเก็บเกี่ยวให้กำจัดผลกาแฟสุกหรือผลแห้งที่ติดค้างบนกิ่งหรือร่วงหล่นใต้ต้นกาแฟออกจากแปลงปลูก นำผลกาแฟไปสู่กระบวนการผลิตกาแฟต่อไป 6. การเก็บรักษาและการขนย้าย สถานที่เก็บต้องถูกสุขลักษณะ ป้องกันความชื้น มีอากาศถ่ายเทสะดวก ภาชนะบรรจุสะอาด มีมาตรการป้องกันศัตรูพืชในโรงเก็บ พาหนะที่ใช้ขนส่งสะอาด มีมาตรการป้องกันความชื้นของเมล็ดกาแฟขณะขนส่ง 7. สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะที่เหมาะสมหรือผ่านการอบรมการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ 8. การบันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจประเมินและตามสอบในระดับฟาร์มได้ เช่นกันการใช้วัตถุอันตราย การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ยกระดับผลิตกาแฟตามมาตรฐานสินค้าเกษตร หนุนเกษตรกร ต.ทุ่งลาน เพิ่มประสิทธิภาพแปรรูปกาแฟโรบัสต้า
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ยกระดับการผลิตกาแฟตามมาตรฐานสินค้าเกษตร หนุนเกษตรกร ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง เพิ่มประสิทธิภาพแปรรูปกาแฟโรบัสต้า วิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ควบคู่ส่งเสริมจัดการแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมี
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา นำโดย ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร ผศ.ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล รศ.ดร.ไสว บัวแก้ว และ ว่าที่ร้อยตรีณัฐวุฒิ ขุนหลัด ลงพื้นที่ ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กิจกรรมส่งเสริมและยกระดับการผลิตกาแฟตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (ต.ทุ่งลาน) โดยมี นางอัญชาภัทร์ โพชนุกูล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหอยโข่ง เข้าร่วมกิจกรรมและให้คำปรึกษาในส่วนของการทำแปลงปลูกกาแฟระบบ GAP (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกาแฟโรบัสต้าแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้มาอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าทุ่งลาน วิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ซึ่งในครั้งนี้มีแปลงเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาวังชิง ที่สามารถเข้าร่วมประเมินแปลงตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟ จำนวน 3 แปลงด้วยกัน ได้แก่ แปลงปลูกร่วมไม้ผลของ นายพันธ์ ประพรม แปลงปลูกกาแฟเชิงเดี่ยวของ นายธณกร ประพรม และแปลงปลูกร่วมยางพาราของ นายสมพงค์ กองคิด
นอกจากนั้น ทีมคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตรยังได้เก็บตัวอย่างโรคและแมลงในแปลงปลูกกาแฟ เพื่อนำไปตรวจสอบและประเมินผลในการกำจัดโรคและแมลงให้กับเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้ เกษตรกรในพื้นที่ให้ความร่วมมือและจัดการแปลงปลูกโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีตามหลักการของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ดี
สำหรับสาระสำคัญของมาตรฐานสินค้าเกษตรในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกาแฟมี ข้อกำหนด ดังนี้ 1. แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้ต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตราย 2. พื้นที่ปลูก เป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลผลิต 3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ผู้ใช้ต้องมีความรู้เรื่องการใช้วัตถุอันตรายที่ถูกต้องและทำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร หรือตามคำแนะนำในฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร 4. การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว ไม่ปลูกกาแฟต่างชนิดปะปนกันในแปลงปลูก สำรวจการเข้าทำลายของศัตรูพืช กำจัดส่วนของต้นกาแฟรวมทั้งผลร่วงที่เกิดจากโรค แมลงทำลายออกจากแปลงปลูก 5. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลกาแฟสุกแก่โดยพิจารณาจากสีของผลกาแฟ ภายหลังการเก็บเกี่ยวให้กำจัดผลกาแฟสุกหรือผลแห้งที่ติดค้างบนกิ่งหรือร่วงหล่นใต้ต้นกาแฟออกจากแปลงปลูก นำผลกาแฟไปสู่กระบวนการผลิตกาแฟต่อไป 6. การเก็บรักษาและการขนย้าย สถานที่เก็บต้องถูกสุขลักษณะ ป้องกันความชื้น มีอากาศถ่ายเทสะดวก ภาชนะบรรจุสะอาด มีมาตรการป้องกันศัตรูพืชในโรงเก็บ พาหนะที่ใช้ขนส่งสะอาด มีมาตรการป้องกันความชื้นของเมล็ดกาแฟขณะขนส่ง 7. สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะที่เหมาะสมหรือผ่านการอบรมการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ 8. การบันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูลเพื่อให้สามารถตรวจประเมินและตามสอบในระดับฟาร์มได้ เช่นกันการใช้วัตถุอันตราย การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024