พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่มโครงการหัตถกรรมเพื่อช่วยเหลือราษฎรเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนเมษายน 2508 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลโท หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ราชคงรักษ์ เป็นผู้ควบคุมโครงการ โดยทรงชักชวนให้หญิงชาวบ้านเขาเต่าหัดทอผ้าฝ้ายขายเพื่อเป็นอาชีพเสริม
โดยช่วงระหว่างที่ประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล ทรงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ไปขอครูทอผ้าจากโรงงานทอผ้าบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี มาสอนการทอผ้าให้แก่ราษฎรบ้านเขาเต่า พร้อมทั้งสร้างกี่ทอผ้าขึ้นท้ายวังไกลกังวล ทรงส่งรถไปรับชาวบ้านมาหัดทอผ้า เริ่มจากการทอผ้าขาวม้าและผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งพระราชทานอาหารกลางวัน และค่าแรงแก่ผู้ทอ และโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์ช่วยกันดูแลเด็กเล็กลูกของราษฎร จนกระทั้งพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร จึงบ้ายกิจการไปอยู่ใต้ถุนศาลาวัดเขาเต่า โดยเจ้าอาวาสวัดเขาเต่าและครูใหญ่โรงเรียนเขาเต่าช่วยดูแลต่อ
ปัจจุบันโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นกิจการของกรมการพัฒนาชุมชน โดยพัฒนากรอำเภอหัวหิน เป็นผู้ดูแลโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2511 มีการสอนการทอผ้า ย้อมสี ตัดเย็บ และสอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรกคือ โครการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม เริ่มจากเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่จังหวัดนครพนม ทรงสนพระราหฤทัยในซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิงชาวบ้านนุ่ง เพราะมีความสวยงามแปลกตา เห็นว่าเหมาะที่จะเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านเนื่องจากทุกครัวเรือนจะทอใช้กันอยู่ แล้วทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมีพระราชกระแสกับชาวบ้านว่า พระองค์จะทรงใช้ผ้าที่พวกเจ้าทอ ซึ่งนับได้ว่าพระราชทานกำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และทรงรับซื้อผ้าที่ชาวบ้านทอทุกผืนโดยส่งรวมไป ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ต่อมา ปี 2515 ทรงโปรดเกล้าให้ราชเลขานุการในพระองค์ออกไปติดต่อรับซื้อผ้าไหมถึงบ้านของชาวบ้าน เริ่มจากจังหวัดนครพนม โดยรับซื้อทุกระดับฝีมือ และให้ราคาที่ชาวบ้านพอใจ และทรงรับซื้อผ้าทอประเภทอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ทอด้วย
ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงนำของพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎร มักจะเป็นเครื่องอุปโภค บริโภค แล้วก็รับสั่งกับข้าพเจ้าว่าการช่วยเหลือแบบนี้เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ซึ่งช่วยเขาไม่ได้จริง ๆ ไม่เพียงพอ ทรงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยเหลือชาวบ้านเป็นระยะยาวคือ ทำให้เขามีหวังที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น ลูกหลานได้เข้าโรงเรียน ได้เรียนหนังสือ ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมอยู่แล้ว เขาเพิ่มจำนวนโรงเรียนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
แต่ชาวนาชาวไร่บอกว่า เขาส่งให้ลูกไปเรียนหนังสือ ไปเข้าโรงเรียนไม่ได้ เพราะต้องอาศัยอยู่เป็นกำลังช่วยกันทำมาหากิน ดังนั้นจะพบเด็กที่อยู่ในวัยเรียนไม่ได้มาเรียนหนังสืออีกมาก ส่วนมากก็ได้จบ ป.4 ซึ่งก็น่าเป็นห่วง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวชาวนา ชาวไร่ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงหาแหล่งน้ำให้การทำไร่ทำนาของเขา เป็นผลต่อประเทศชาติ ต่อบ้านเมือง ทรงพระราชดำเนินไปดูตามไร่ของเขาในที่ต่าง ๆ ทรงคิดว่านี้เป็นการให้กำลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแลพวกครอบครัวก็เลยเป็นที่เกิดของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยประชาชนในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะช่วยให้พสกนิกรของพระองค์ท่านมีความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำงานศิลปาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้
การดำเนินงานในศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพแต่ละแห่งจะจัดเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น และบุคคล เพื่อให้การฝึกอบรมแก่สมาชิก รวมทั้งจัดหางานให้สมาชิกดำเนินการ เพื่อนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของสมาชิก แต่ละกลุ่ม
ราชเลขานุการฯ จะจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมขึ้นตามหมู่บ้านที่ออกปฏิบัติงาน และรับชาวบ้านเข้าเป็นสมาชิก ผู้ทอผ้าไม่เป็นก็ให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อเป็นวัถุดิบแก่ผู้ทอ โครงการนี้จึงได้ขยายออกไปจนทั่วภาคอีสาน และเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างกว้างขวางจนถึงทุกวันนี้.
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กำเนิดโครงการศิลปาชีพในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่มโครงการหัตถกรรมเพื่อช่วยเหลือราษฎรเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเดือนเมษายน 2508 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลโท หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ราชคงรักษ์ เป็นผู้ควบคุมโครงการ โดยทรงชักชวนให้หญิงชาวบ้านเขาเต่าหัดทอผ้าฝ้ายขายเพื่อเป็นอาชีพเสริม
โดยช่วงระหว่างที่ประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล ทรงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ไปขอครูทอผ้าจากโรงงานทอผ้าบ้านไร่ จังหวัดราชบุรี มาสอนการทอผ้าให้แก่ราษฎรบ้านเขาเต่า พร้อมทั้งสร้างกี่ทอผ้าขึ้นท้ายวังไกลกังวล ทรงส่งรถไปรับชาวบ้านมาหัดทอผ้า เริ่มจากการทอผ้าขาวม้าและผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งพระราชทานอาหารกลางวัน และค่าแรงแก่ผู้ทอ และโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์ช่วยกันดูแลเด็กเล็กลูกของราษฎร จนกระทั้งพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร จึงบ้ายกิจการไปอยู่ใต้ถุนศาลาวัดเขาเต่า โดยเจ้าอาวาสวัดเขาเต่าและครูใหญ่โรงเรียนเขาเต่าช่วยดูแลต่อ
ปัจจุบันโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นกิจการของกรมการพัฒนาชุมชน โดยพัฒนากรอำเภอหัวหิน เป็นผู้ดูแลโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2511 มีการสอนการทอผ้า ย้อมสี ตัดเย็บ และสอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรกคือ โครการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม เริ่มจากเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่จังหวัดนครพนม ทรงสนพระราหฤทัยในซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิงชาวบ้านนุ่ง เพราะมีความสวยงามแปลกตา เห็นว่าเหมาะที่จะเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านเนื่องจากทุกครัวเรือนจะทอใช้กันอยู่ แล้วทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมีพระราชกระแสกับชาวบ้านว่า พระองค์จะทรงใช้ผ้าที่พวกเจ้าทอ ซึ่งนับได้ว่าพระราชทานกำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และทรงรับซื้อผ้าที่ชาวบ้านทอทุกผืนโดยส่งรวมไป ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ต่อมา ปี 2515 ทรงโปรดเกล้าให้ราชเลขานุการในพระองค์ออกไปติดต่อรับซื้อผ้าไหมถึงบ้านของชาวบ้าน เริ่มจากจังหวัดนครพนม โดยรับซื้อทุกระดับฝีมือ และให้ราคาที่ชาวบ้านพอใจ และทรงรับซื้อผ้าทอประเภทอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ทอด้วย
ข้าพเจ้าได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงนำของพระราชทานไปช่วยเหลือราษฎร มักจะเป็นเครื่องอุปโภค บริโภค แล้วก็รับสั่งกับข้าพเจ้าว่าการช่วยเหลือแบบนี้เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ซึ่งช่วยเขาไม่ได้จริง ๆ ไม่เพียงพอ ทรงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยเหลือชาวบ้านเป็นระยะยาวคือ ทำให้เขามีหวังที่จะอยู่ดีกินดีขึ้น ลูกหลานได้เข้าโรงเรียน ได้เรียนหนังสือ ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมอยู่แล้ว เขาเพิ่มจำนวนโรงเรียนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
แต่ชาวนาชาวไร่บอกว่า เขาส่งให้ลูกไปเรียนหนังสือ ไปเข้าโรงเรียนไม่ได้ เพราะต้องอาศัยอยู่เป็นกำลังช่วยกันทำมาหากิน ดังนั้นจะพบเด็กที่อยู่ในวัยเรียนไม่ได้มาเรียนหนังสืออีกมาก ส่วนมากก็ได้จบ ป.4 ซึ่งก็น่าเป็นห่วง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงเริ่มคิดหาอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวชาวนา ชาวไร่ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงหาแหล่งน้ำให้การทำไร่ทำนาของเขา เป็นผลต่อประเทศชาติ ต่อบ้านเมือง ทรงพระราชดำเนินไปดูตามไร่ของเขาในที่ต่าง ๆ ทรงคิดว่านี้เป็นการให้กำลังใจ และที่ทรงให้ข้าพเจ้าดูแลพวกครอบครัวก็เลยเป็นที่เกิดของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยประชาชนในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะช่วยให้พสกนิกรของพระองค์ท่านมีความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำงานศิลปาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้
การดำเนินงานในศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพแต่ละแห่งจะจัดเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น และบุคคล เพื่อให้การฝึกอบรมแก่สมาชิก รวมทั้งจัดหางานให้สมาชิกดำเนินการ เพื่อนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของสมาชิก แต่ละกลุ่ม
ราชเลขานุการฯ จะจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมขึ้นตามหมู่บ้านที่ออกปฏิบัติงาน และรับชาวบ้านเข้าเป็นสมาชิก ผู้ทอผ้าไม่เป็นก็ให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อเป็นวัถุดิบแก่ผู้ทอ โครงการนี้จึงได้ขยายออกไปจนทั่วภาคอีสาน และเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างกว้างขวางจนถึงทุกวันนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.