มรภ.สงขลา ผนึกธนาคารออมสิน เฟ้นหาตัวแทนนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 66 ผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วยและเจลลี่พร้อมดื่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันระดับประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมกับธนาคารออมสินนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อคัดเลือกตัวแทนของมหาวิทยาลัยไปแข่งขันในระดับประเทศ โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดี อ.พุฒิธร ตุกเตียน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทีมคณาจารย์ นักศึกษา และคณะกรรมการพิจารณาตัวแทนจากธนาคารออมสิน และ มรภ.สงขลา เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ผลการพิจารณาจากผู้เข้าร่วมประกวดจำนวน 5 ทีม ปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา พัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วย และเจลลี่กล้วยพร้อมดื่ม รับเงินรางวัล 10,000 บาท และเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยสู่รอบระดับประเทศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลองต่อ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา พัฒนาเซรั่มบำรุงผิวหน้า พรอพอลิส จากชันโรง รับเงินรางวัล 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมวิสาหกิจชุมชน Ecotourism Songkhla Thailand พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ชุมชนหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา รับเงินรางวัล 3,500 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัล รับเงินรางวัลทีมละ 2,000 บาท ได้แก่ ทีมกลุ่มเครื่องแกงชุมชนบ้านม่วงใหญ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงบ้านม่วงใหญ่ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา และ ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเทพหยา พัฒนาชุดข้าวยำสวนเทพหยา ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา
รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า การแก้ปัญหาความยากจนถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องผนึกกำลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานของความพอดีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ ส่งเสริมการจ้างงาน โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว แต่เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมด้วย
มรภ.สงขลา จึงร่วมกับธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างงานสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มชุมชน โดยการนำองค์ความรู้ นวัตกรรมสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษา มาพัฒนายกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโดยการทำงานร่วมกัน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา สนับสนุนและเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน นำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา เฟ้นหาตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นแข่งระดับประเทศ “ผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วย-เจลลี่พร้อมดื่ม” กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร คว้ารางวัลชนะเลิศ
มรภ.สงขลา ผนึกธนาคารออมสิน เฟ้นหาตัวแทนนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 66 ผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วยและเจลลี่พร้อมดื่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันระดับประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมกับธนาคารออมสินนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อคัดเลือกตัวแทนของมหาวิทยาลัยไปแข่งขันในระดับประเทศ โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดี อ.พุฒิธร ตุกเตียน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทีมคณาจารย์ นักศึกษา และคณะกรรมการพิจารณาตัวแทนจากธนาคารออมสิน และ มรภ.สงขลา เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ผลการพิจารณาจากผู้เข้าร่วมประกวดจำนวน 5 ทีม ปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา พัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วย และเจลลี่กล้วยพร้อมดื่ม รับเงินรางวัล 10,000 บาท และเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยสู่รอบระดับประเทศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลองต่อ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา พัฒนาเซรั่มบำรุงผิวหน้า พรอพอลิส จากชันโรง รับเงินรางวัล 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมวิสาหกิจชุมชน Ecotourism Songkhla Thailand พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ชุมชนหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา รับเงินรางวัล 3,500 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัล รับเงินรางวัลทีมละ 2,000 บาท ได้แก่ ทีมกลุ่มเครื่องแกงชุมชนบ้านม่วงใหญ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงบ้านม่วงใหญ่ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา และ ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเทพหยา พัฒนาชุดข้าวยำสวนเทพหยา ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา
รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า การแก้ปัญหาความยากจนถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องผนึกกำลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานของความพอดีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ ส่งเสริมการจ้างงาน โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว แต่เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมด้วย
มรภ.สงขลา จึงร่วมกับธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างงานสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มชุมชน โดยการนำองค์ความรู้ นวัตกรรมสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษา มาพัฒนายกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโดยการทำงานร่วมกัน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา สนับสนุนและเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน นำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024