มรภ.สงขลา จัดสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ สร้างความรู้เกี่ยวกับบทบาทการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ให้สามารถปรับตัวใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ดึงกรมสุขภาพจิตฯ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมรับมือปัญหาจากความเครียด
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารศูนย์รวมกิจการนักศึกษา มรภ.สงขลา โดยมี อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และทักษะเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ตลอดจนเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ที่สนใจทราบนโยบายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานด้านอาจารย์ที่ปรึกษา ภายในงานมีการสัมมนา เรื่อง “อาจารย์ที่ปรึกษากับการพัฒนานักศึกษา การบริการและสวัสดิการนักศึกษา” และ การสัมมนา เรื่อง “ผลจากความเครียดส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างภูมิคุ้มกันให้นักศึกษา” โดยเจ้าหน้าที่จากกรมสุขภาพจิตที่ 12 สงขลา พร้อมทั้งมีการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพจิตแก่ผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่สนใจโดยโปรแกรมไบโอฟีดแบ็ค (bi0feedback)
อาจารย์จิรภา กล่าวว่า การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อชีวิตการเป็นนักศึกษา การปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในด้านการเรียน การคบเพื่อน หรือในด้านชีวิตความเป็นอยู่ พบว่านักศึกษามักประสบความยุ่งยากในการปรับตัว เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาจนำมาซึ่งปัญหาและการสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า ดังที่เป็นข่าวที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง อันได้แก่ ปัญหาการทำร้ายตนเอง การทำร้ายบุคคลอื่น ปัญหาการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดหรือภาวะจิตใจที่สับสนหาทางออกไม่ได้ ขาดที่ปรึกษา จึงทำให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจเหล่านี้ กลุ่มบุคคลที่ประสบภาวะนี้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาซึ่งอยู่ในวัยเรียนระดับอุดมศึกษา
กองพัฒนานักศึกษา มรภ.สงขลา เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีความตระหนักว่าบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษานอกจากการสอนทางวิชาการแล้ว อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนานักศึกษา คือ การเป็นผู้ให้คำปรึกษา คอยส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่าอาจเจอกับอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย หรือไม่กล้าดำเนินการใด ๆ
ผลกระทบเหล่านี้จะส่งผลให้นักศึกษาเคว้งคว้าง ขาดที่พึ่ง และสุดท้ายอาจหาทางออกโดยการลาออก หรืออาจส่งผลให้นักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้ กองพัฒนานักศึกษาจึงได้จัดโครงการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 และผู้สนใจ จำนวน 120 คน ให้ได้รับการพัฒนาทักษะเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ในการช่วยเหลือดูแลให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
April 8, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา สัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำด้านดูแลสุขภาพจิต สร้างภูมิคุ้มกัน ช่วย นศ. ปรับตัวในรั้วมหา’ลัย
มรภ.สงขลา จัดสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ สร้างความรู้เกี่ยวกับบทบาทการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ให้สามารถปรับตัวใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ดึงกรมสุขภาพจิตฯ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมรับมือปัญหาจากความเครียด
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารศูนย์รวมกิจการนักศึกษา มรภ.สงขลา โดยมี อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และทักษะเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ตลอดจนเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ที่สนใจทราบนโยบายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานด้านอาจารย์ที่ปรึกษา ภายในงานมีการสัมมนา เรื่อง “อาจารย์ที่ปรึกษากับการพัฒนานักศึกษา การบริการและสวัสดิการนักศึกษา” และ การสัมมนา เรื่อง “ผลจากความเครียดส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างภูมิคุ้มกันให้นักศึกษา” โดยเจ้าหน้าที่จากกรมสุขภาพจิตที่ 12 สงขลา พร้อมทั้งมีการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพจิตแก่ผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่สนใจโดยโปรแกรมไบโอฟีดแบ็ค (bi0feedback)
อาจารย์จิรภา กล่าวว่า การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อชีวิตการเป็นนักศึกษา การปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งในด้านการเรียน การคบเพื่อน หรือในด้านชีวิตความเป็นอยู่ พบว่านักศึกษามักประสบความยุ่งยากในการปรับตัว เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อาจนำมาซึ่งปัญหาและการสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า ดังที่เป็นข่าวที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง อันได้แก่ ปัญหาการทำร้ายตนเอง การทำร้ายบุคคลอื่น ปัญหาการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดหรือภาวะจิตใจที่สับสนหาทางออกไม่ได้ ขาดที่ปรึกษา จึงทำให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจเหล่านี้ กลุ่มบุคคลที่ประสบภาวะนี้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาซึ่งอยู่ในวัยเรียนระดับอุดมศึกษา
กองพัฒนานักศึกษา มรภ.สงขลา เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีความตระหนักว่าบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษานอกจากการสอนทางวิชาการแล้ว อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนานักศึกษา คือ การเป็นผู้ให้คำปรึกษา คอยส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่าอาจเจอกับอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย หรือไม่กล้าดำเนินการใด ๆ
ผลกระทบเหล่านี้จะส่งผลให้นักศึกษาเคว้งคว้าง ขาดที่พึ่ง และสุดท้ายอาจหาทางออกโดยการลาออก หรืออาจส่งผลให้นักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้ กองพัฒนานักศึกษาจึงได้จัดโครงการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 และผู้สนใจ จำนวน 120 คน ให้ได้รับการพัฒนาทักษะเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ในการช่วยเหลือดูแลให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อ.ศิวะ อินทะโคตร” คณะศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลชนะเลิศภาพบุคคล งานแสดงสีน้ำนานาชาติ ...
April 8, 2025
มรภ.สงขลา ติวครู รร.ตชด. ปรับหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษา ฝึกทำแผนการสอนส่งเสริมสมรรถนะเด็กนักเรียน
April 8, 2025
มรภ.สงขลา ต้อนรับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 12 สงขลา ตรวจสอบความพร้อมศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ สร้างความเชื่อมั่นใช้เป็นศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถฝีมือแรงงาน
April 8, 2025
มรภ.สงขลา ประกวดผลงานนักศึกษาสหกิจฯ เปิดเวทีโชว์ศักยภาพจากการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
April 8, 2025