วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธี เปิดงานประชุม ประชาคมคนหาดใหญ่เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 3 โดยมี คณะผู้บริหารฯ สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาคเอกชน และ ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วม ประชาคม ในครั้งนี้ ณ โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นในนโยบายการพัฒนาเมืองหาดใหญ่ ที่จะมีการยกระดับการพัฒนาถนนต้นแบบเพื่อการพัฒนาเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ถนนสายนี้สามารถตอบโจทย์ความเป็น ”เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน ” ของอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้คัดเลือกถนนสายเพชรเกษม ตั้งแต่แยกโรงแรมวีแอลถึงสามแยกคอหงส์ มาพัฒนาเป็นถนนน่าเดิน น่าเที่ยว น่าเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกเมื่อมาเยือนหาดใหญ่ ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 1. ถนนสายนี้เป็นถนนที่เป็นประวัติศาสตร์การพัฒนาถนนของประเทศไทย ในระยะเริ่มแรกของการพัฒนาระบบถนนของประเทศไทยครั้งสำคัญ ที่มีการดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ในหลายๆ พื้นที่ ของประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในปี 2493 สมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม ประเทศไทยมีเส้นทางถนนทั่วประเทศ ที่สามารถสัญจรข้ามพื้นที่จังหวัดได้ ประมาณ 6470 กิโลเมตร หนึ่งในนั้นคือเส้นทางถนน ที่ได้มีการตัดจากกรุงเทพฯลงมาภาคใต้ และมาสิ้นสุดที่จังหวัดสงขลา ความยาว 1310 กิโลเมตร และมีการตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติกับ หลวงเพชร์เกษมวิถีสวัสดิ์(แถม เพ็ชร์เกษม) อธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 พร้อมให้เรียกชื่อถนนว่า ถนนเพ็ชร์เกษม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2593 ต่อมาได้เปลี่ยนเพื่อให้จำและเขียนได้ง่ายขึ้นว่า ถนนเพชรเกษม โดยตัดสระ ไม้ไต่คู้และตัวการันต์ในคำว่า เพ็ชร์ ออกไป ด้วยเหตุนี้ถนนเพชรเกษมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จึงเป็นเส้นทางถนนที่อยู่คู่กับหาดใหญ่มาอย่างยาวนาน เป็นเส้นทางที่ได้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของอำเภอและจังหวัด เป็นที่ตั้งของหน่วยราชการ สถานศึกษา และสถานประกอบการมากมาย จึงเป็นเส้นทางลำดับต้นในเชิงนโยบายที่ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ได้คัดเลือกมาเป็นถนนนำร่องในการพัฒนาเมือง 2.บนเส้นทางถนนเพชรเกษม เป็นที่ตั้งของตำนานเล่าขานเมืองหาดใหญ่ ที่คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปจะต้องจำได้ ว่าในหาดใหญ่จะมีตำนานของสถานที่ที่มีความผูกพันกับคนหาดใหญ่ทั้งคนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนหาดใหญ่ ทุกคนจะมีภาพฝังจำกับอดีตของสถานที่แห่งนี้ ต้องชมเชยผู้เกี่ยวข้องที่ผ่านมาที่ได้สร้างสถานที่แห่งนี้ขึ้นมาและได้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทำให้ดีขึ้น โดยไม่ได้รื้อทำลายและสร้างใหม่แบบที่เห็นในจังหวัดอื่นๆ สิ่งที่ได้กล่าวถึงและอยู่ในแผนงานที่เทศบาลจะทำการปรับปรุงคู่ขนานกับการดำเนินการยกระดับถนนเพชรเกษม คือ 2.1) วนเวียนน้ำพุ เป็นวนเวียนน้ำพุ ที่ได้มีการก่อสร้างเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย ตามนโยบายของ จอมพลสฤษด์ ธนะรัตน์ นายกรัฐมนตรี หลังจากที่ท่านได้เดินทางไปต่างประเทศ และได้พบเห็นว่าในต่างประเทศมีการสร้างวนเวียนน้ำพุไว้ตามจัตุรัสเมือง และให้มีการขยายไปสร้างในจังหวัดต่างๆ ที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือที่หาดใหญ่ ที่ได้เริ่มสร้างในปี 2500 วนเวียนน้ำพุแห่งนี้จึงมีคุณค่ากับคนหาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน 2.2 หอนาฬิกา เป็นการก่อสร้างที่เป็นผลมาจากนโยบายอดีตนายกเทศมนตรีเมืองหาดใหญ่ นายกี่ จิระนคร ที่ได้เริ่มสร้างตลาดสดหาดใหญ่ ในปี 2497 และเพื่อเป็นการเตรียมการเปิดตลาดสดในปี 2500 จึงได้มีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลวงพิธานอำนวยกิจ (บริษัทพิธานพาณิชย์) และเพื่อสร้างเป็นจุดเด่นที่เป็นหมุดหมายสำคัญ ของตลาดสดหาดใหญ่ ในการเป็นจุดนัดพบและชุมทางของระบบการขนส่งสาธารณะในสมัยนั้น หอนาฬิการแห่งนี้จึงมีความสำคัญและมีความผูกพันกับคนในวงศ์ตระกูลของหลวงพิธานอำนวยกิจ ตลอดจนถึงทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ 3.เส้นทางถนนเพชรเกษมที่จะมีการยกระดับการพัฒนาในครั้งนี้ จะเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การเดินทางที่ไปเชื่อมโยงกับย่านการพัฒนาถนนศุภสารรังสรรค์ ที่ได้มีการจัดทำประชาคมไปครั้งที่แล้ว ที่จะมีการพัฒนาเป็นย่านวัฒนธรรมคนเมือง ตั้งแต่ตลาดกิมหยงไปจนถึงสวนหย่อมเซี้ยงตึ้ง แนวคิดในการพัฒนาเมืองในรูปของการสร้างย่านพื้นที่ โดยการวางโครงข่ายให้เกิดการเชื่อมโยงของย่านทั้ง 2 จุด จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่หาดใหญ่ ที่เน้นการพัฒนาย่านของเมืองไปสู่การสร้างเป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจ ให้เป็นย่านที่ไปตอบสนองต่อการสร้างกิจกรรมเดินเที่ยว เดินช็อป และเดินกิน เพื่อให้การพัฒนาเมืองตามแนวคิดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ได้มีการนำไปสู่การปฏิบัติและสามารถดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2566 จึงได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาได้มีการสำรวจออกแบบ รวมทั้งได้ให้ทีมสถาปนิกของเทศบาลนครหาดใหญ่ ไปศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองที่ประเทศสิงคโปร์ มาประกอบแนวคิดในการออกแบบถนนเพชรเกษม ในการทำประชาคมในวันนี้ จึงได้มีโครงการที่จะขอความเห็น รวม 3 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 โครงการจ้างออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ลานจัตุรัสนครหาดใหญ่(หอนาฬิกาหาดใหญ่) โดยนายเขมวิทย์ แก้วชนคราม เรื่องที่ 2 โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวนเวียนน้ำพุ โดยบริษัท บิลดิ่ง อินสเปคชั่น เรื่องที่ 3 โครงการปรับปรุงผิวจราจรแบบแอสฟัสท์คอนกรีตและปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนเพชรเกษม(ตั้งแต่แยกโรงแรมวีแอลถึงสามแยกคอหงส์) โดยทีมงานสถาปนิก สำนักช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่
โดย สองเรื่องแรก ในเรื่องหอนาฬิกาและวนเวียนน้ำพุ ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ จะไม่มีนโยบายรื้อโครงสร้างของเดิมทิ้ง เพราะมันคือคุณค่าที่คู่ควรกับเมืองหาดใหญ่ แต่จะเน้นในเรื่องของการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากของเดิมที่มีอยู่ จะเน้นในเรื่องของการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่การใช้ประโยชน์ รวมทั้ง การใช้แสง สี เสียง เพื่อสร้างสีสันท์และเสน่ห์ ให้เป็นแลนด์มาร์คที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในย่านใจกลางเมืองบนถนนเพชรเกษม และเป็นการต้อนรับในการเดินทางเข้าสู่ย่านเศรษฐกิจของเมืองหาดใหญ่ สำหรับการปรับปรุงถนนเพชรเกษมจะเริ่มจากแยกโรงแรมวีแอลก่อน โดยมีรูปแบบที่ได้ไปดูมาจากประเทศสิงคโปร์ จะมีการลดเกาะกลางถนนให้เล็กลงและอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวจราจร เพื่อการเดินที่มีการออกแบบให้เป็นแบบ Universal Design สำหรับคนทุกช่วงวัย มีพื้นที่จอดรถ มีการปรับภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ประชาคมคนหาดใหญ่เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 3 เรื่องการพัฒนาเมืองย่านถนนเพชรเกษม
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธี เปิดงานประชุม ประชาคมคนหาดใหญ่เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 3 โดยมี คณะผู้บริหารฯ สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาคเอกชน และ ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วม ประชาคม ในครั้งนี้ ณ โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์
ซึ่งเป็นในนโยบายการพัฒนาเมืองหาดใหญ่ ที่จะมีการยกระดับการพัฒนาถนนต้นแบบเพื่อการพัฒนาเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ถนนสายนี้สามารถตอบโจทย์ความเป็น ”เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน ” ของอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้คัดเลือกถนนสายเพชรเกษม ตั้งแต่แยกโรงแรมวีแอลถึงสามแยกคอหงส์ มาพัฒนาเป็นถนนน่าเดิน น่าเที่ยว น่าเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกเมื่อมาเยือนหาดใหญ่ ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1. ถนนสายนี้เป็นถนนที่เป็นประวัติศาสตร์การพัฒนาถนนของประเทศไทย ในระยะเริ่มแรกของการพัฒนาระบบถนนของประเทศไทยครั้งสำคัญ ที่มีการดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ในหลายๆ พื้นที่ ของประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในปี 2493 สมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม ประเทศไทยมีเส้นทางถนนทั่วประเทศ ที่สามารถสัญจรข้ามพื้นที่จังหวัดได้ ประมาณ 6470 กิโลเมตร หนึ่งในนั้นคือเส้นทางถนน ที่ได้มีการตัดจากกรุงเทพฯลงมาภาคใต้ และมาสิ้นสุดที่จังหวัดสงขลา ความยาว 1310 กิโลเมตร และมีการตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติกับ หลวงเพชร์เกษมวิถีสวัสดิ์(แถม เพ็ชร์เกษม) อธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 พร้อมให้เรียกชื่อถนนว่า ถนนเพ็ชร์เกษม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2593 ต่อมาได้เปลี่ยนเพื่อให้จำและเขียนได้ง่ายขึ้นว่า ถนนเพชรเกษม โดยตัดสระ ไม้ไต่คู้และตัวการันต์ในคำว่า เพ็ชร์ ออกไป ด้วยเหตุนี้ถนนเพชรเกษมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จึงเป็นเส้นทางถนนที่อยู่คู่กับหาดใหญ่มาอย่างยาวนาน เป็นเส้นทางที่ได้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของอำเภอและจังหวัด เป็นที่ตั้งของหน่วยราชการ สถานศึกษา และสถานประกอบการมากมาย จึงเป็นเส้นทางลำดับต้นในเชิงนโยบายที่ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ได้คัดเลือกมาเป็นถนนนำร่องในการพัฒนาเมือง
2.บนเส้นทางถนนเพชรเกษม เป็นที่ตั้งของตำนานเล่าขานเมืองหาดใหญ่ ที่คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปจะต้องจำได้ ว่าในหาดใหญ่จะมีตำนานของสถานที่ที่มีความผูกพันกับคนหาดใหญ่ทั้งคนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนหาดใหญ่ ทุกคนจะมีภาพฝังจำกับอดีตของสถานที่แห่งนี้ ต้องชมเชยผู้เกี่ยวข้องที่ผ่านมาที่ได้สร้างสถานที่แห่งนี้ขึ้นมาและได้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทำให้ดีขึ้น โดยไม่ได้รื้อทำลายและสร้างใหม่แบบที่เห็นในจังหวัดอื่นๆ สิ่งที่ได้กล่าวถึงและอยู่ในแผนงานที่เทศบาลจะทำการปรับปรุงคู่ขนานกับการดำเนินการยกระดับถนนเพชรเกษม คือ
2.1) วนเวียนน้ำพุ เป็นวนเวียนน้ำพุ ที่ได้มีการก่อสร้างเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย ตามนโยบายของ จอมพลสฤษด์ ธนะรัตน์ นายกรัฐมนตรี หลังจากที่ท่านได้เดินทางไปต่างประเทศ และได้พบเห็นว่าในต่างประเทศมีการสร้างวนเวียนน้ำพุไว้ตามจัตุรัสเมือง และให้มีการขยายไปสร้างในจังหวัดต่างๆ ที่สำคัญ หนึ่งในนั้นคือที่หาดใหญ่ ที่ได้เริ่มสร้างในปี 2500 วนเวียนน้ำพุแห่งนี้จึงมีคุณค่ากับคนหาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
2.2 หอนาฬิกา เป็นการก่อสร้างที่เป็นผลมาจากนโยบายอดีตนายกเทศมนตรีเมืองหาดใหญ่ นายกี่ จิระนคร ที่ได้เริ่มสร้างตลาดสดหาดใหญ่ ในปี 2497 และเพื่อเป็นการเตรียมการเปิดตลาดสดในปี 2500 จึงได้มีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลวงพิธานอำนวยกิจ (บริษัทพิธานพาณิชย์) และเพื่อสร้างเป็นจุดเด่นที่เป็นหมุดหมายสำคัญ ของตลาดสดหาดใหญ่ ในการเป็นจุดนัดพบและชุมทางของระบบการขนส่งสาธารณะในสมัยนั้น หอนาฬิการแห่งนี้จึงมีความสำคัญและมีความผูกพันกับคนในวงศ์ตระกูลของหลวงพิธานอำนวยกิจ ตลอดจนถึงทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่
3.เส้นทางถนนเพชรเกษมที่จะมีการยกระดับการพัฒนาในครั้งนี้ จะเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การเดินทางที่ไปเชื่อมโยงกับย่านการพัฒนาถนนศุภสารรังสรรค์ ที่ได้มีการจัดทำประชาคมไปครั้งที่แล้ว ที่จะมีการพัฒนาเป็นย่านวัฒนธรรมคนเมือง ตั้งแต่ตลาดกิมหยงไปจนถึงสวนหย่อมเซี้ยงตึ้ง แนวคิดในการพัฒนาเมืองในรูปของการสร้างย่านพื้นที่ โดยการวางโครงข่ายให้เกิดการเชื่อมโยงของย่านทั้ง 2 จุด จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่หาดใหญ่ ที่เน้นการพัฒนาย่านของเมืองไปสู่การสร้างเป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจ ให้เป็นย่านที่ไปตอบสนองต่อการสร้างกิจกรรมเดินเที่ยว เดินช็อป และเดินกิน
เพื่อให้การพัฒนาเมืองตามแนวคิดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ได้มีการนำไปสู่การปฏิบัติและสามารถดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2566 จึงได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาได้มีการสำรวจออกแบบ รวมทั้งได้ให้ทีมสถาปนิกของเทศบาลนครหาดใหญ่ ไปศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองที่ประเทศสิงคโปร์ มาประกอบแนวคิดในการออกแบบถนนเพชรเกษม ในการทำประชาคมในวันนี้ จึงได้มีโครงการที่จะขอความเห็น รวม 3 เรื่อง คือ
เรื่องที่ 1 โครงการจ้างออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ลานจัตุรัสนครหาดใหญ่(หอนาฬิกาหาดใหญ่) โดยนายเขมวิทย์ แก้วชนคราม
เรื่องที่ 2 โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวนเวียนน้ำพุ โดยบริษัท บิลดิ่ง อินสเปคชั่น
เรื่องที่ 3 โครงการปรับปรุงผิวจราจรแบบแอสฟัสท์คอนกรีตและปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนเพชรเกษม(ตั้งแต่แยกโรงแรมวีแอลถึงสามแยกคอหงส์) โดยทีมงานสถาปนิก สำนักช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่
โดย สองเรื่องแรก ในเรื่องหอนาฬิกาและวนเวียนน้ำพุ ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ จะไม่มีนโยบายรื้อโครงสร้างของเดิมทิ้ง เพราะมันคือคุณค่าที่คู่ควรกับเมืองหาดใหญ่ แต่จะเน้นในเรื่องของการปรับปรุงให้ดีขึ้นจากของเดิมที่มีอยู่ จะเน้นในเรื่องของการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่การใช้ประโยชน์ รวมทั้ง การใช้แสง สี เสียง เพื่อสร้างสีสันท์และเสน่ห์ ให้เป็นแลนด์มาร์คที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในย่านใจกลางเมืองบนถนนเพชรเกษม และเป็นการต้อนรับในการเดินทางเข้าสู่ย่านเศรษฐกิจของเมืองหาดใหญ่
สำหรับการปรับปรุงถนนเพชรเกษมจะเริ่มจากแยกโรงแรมวีแอลก่อน โดยมีรูปแบบที่ได้ไปดูมาจากประเทศสิงคโปร์ จะมีการลดเกาะกลางถนนให้เล็กลงและอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวจราจร เพื่อการเดินที่มีการออกแบบให้เป็นแบบ Universal Design สำหรับคนทุกช่วงวัย มีพื้นที่จอดรถ มีการปรับภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024