เมื่อวันที่ (4 พ.ย. 65) ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสาหร่าย (รพ.สต.) หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล นายณัฐพันธุ์ อังโชติพันธุ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย นายชัยชนะ แก้วมณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และนายรอดาษ นาคมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ร่วมเปิดโครงการพระราชดำริ โครงการสืบสานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร สู่วิถีชุมชน ด้วยผลิตภัณฑ์ “ยาหม่องไพล” เพื่อให้ผู้นำหมู่บ้าน ประชาชน อสม. ผู้สูงอายุ คณะกรรมการหมู่บ้านรู้จักสมุนไพร ใช้สมุนไพรได้ สามารถนำมาใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างอาชีพ และเป็นการส่งเสริมอาชีพ ช่วยสานต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยมี นายกุลวัสส์ วิเศษยิ่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย นายธราพงษ์ ทองจรัส ปลัดอำเภอเมืองสตูลประจำเกาะสาหร่าย นายญาณวรุต แสงประดับ นิติกร และชาวบ้านหมู่ที่ 5 เกาะสาหร่าย เข้าร่วม นายชัยชนะ แก้วมณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กล่าวว่า การใช้สมุนไพรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนไทยใช้กันมานานนับพันปี เป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าที่สะสมกันมารุ่นสู่รุ่น คนไทยปรุงสมุนไพรเป็นอาหารรับประทานกับข้าว บางคนใช้สมุนไพรปรุงเป็นยารับประทานรักษาอาการเจ็บป่วย บ้างก็ทำผลิตภัณฑ์เป็นครีมบำรุงผิว เป็นน้ำมันเอ็น เป็นยานวดคลายกล้ามเนื้อ บ้างก็ปรุงเป็นสารเคมี เครื่องสำองค์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย “ปัจจุบันกระบวนการแปรรูปสมุนไพรมีความก้าวหน้า ทันสมัย ประชาชนสามารถศึกษาขั้นตอนวิธีการทำได้ด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ทั่วไปได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของระเบียบกฎหมาย” ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน เจ้าของกิจการ มาประกอบอาชีพทำยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมันไพรต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์เอื้อในการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไปขายต่างประเทศได้โดยผ่านการรับรองจาก อย. หรือ GMP ส่วนการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยาใช้ภายนอก และภายในแบบง่าย ๆ ด้วยวิธีการผลิตที่ชาวบ้านประชาชนสามารถทำได้ และไว้ใช้เองได้ เช่น การผลิตลูกประคบสมุนไพร การผลิตน้ำมันหม่องสำหรับถูนวด การผลิตลูกประคบสมุนไพรแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ฯลฯ ประกอบกับปัจจุบันยาบางอย่างใน รพ.สต. ไม่มีให้ประชาชนได้เบิกใช้ ชาวบ้านจึงสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ และหาสมุนไพรในการผลิตได้ง่าย เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริม ป้องกันสุขภาพได้อย่างดี และยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
รพ.สต.บ้านเกาะสาหร่าย จ.สตูล ขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริ ด้วยสมุนไพรไทย จัดโครงการพระราชดำริ สืบสานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร สู่วิถีชุมชน
เมื่อวันที่ (4 พ.ย. 65) ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสาหร่าย (รพ.สต.) หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล นายณัฐพันธุ์ อังโชติพันธุ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย นายชัยชนะ แก้วมณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และนายรอดาษ นาคมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ร่วมเปิดโครงการพระราชดำริ โครงการสืบสานภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร สู่วิถีชุมชน ด้วยผลิตภัณฑ์ “ยาหม่องไพล” เพื่อให้ผู้นำหมู่บ้าน ประชาชน อสม. ผู้สูงอายุ คณะกรรมการหมู่บ้านรู้จักสมุนไพร ใช้สมุนไพรได้ สามารถนำมาใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างอาชีพ และเป็นการส่งเสริมอาชีพ ช่วยสานต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยมี นายกุลวัสส์ วิเศษยิ่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย นายธราพงษ์ ทองจรัส ปลัดอำเภอเมืองสตูลประจำเกาะสาหร่าย นายญาณวรุต แสงประดับ นิติกร และชาวบ้านหมู่ที่ 5 เกาะสาหร่าย เข้าร่วม
นายชัยชนะ แก้วมณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กล่าวว่า การใช้สมุนไพรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนไทยใช้กันมานานนับพันปี เป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าที่สะสมกันมารุ่นสู่รุ่น คนไทยปรุงสมุนไพรเป็นอาหารรับประทานกับข้าว บางคนใช้สมุนไพรปรุงเป็นยารับประทานรักษาอาการเจ็บป่วย บ้างก็ทำผลิตภัณฑ์เป็นครีมบำรุงผิว เป็นน้ำมันเอ็น เป็นยานวดคลายกล้ามเนื้อ บ้างก็ปรุงเป็นสารเคมี เครื่องสำองค์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย
“ปัจจุบันกระบวนการแปรรูปสมุนไพรมีความก้าวหน้า ทันสมัย ประชาชนสามารถศึกษาขั้นตอนวิธีการทำได้ด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ทั่วไปได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของระเบียบกฎหมาย”
ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลของรัฐ เอกชน เจ้าของกิจการ มาประกอบอาชีพทำยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมันไพรต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์เอื้อในการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไปขายต่างประเทศได้โดยผ่านการรับรองจาก อย. หรือ GMP ส่วนการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยาใช้ภายนอก และภายในแบบง่าย ๆ ด้วยวิธีการผลิตที่ชาวบ้านประชาชนสามารถทำได้ และไว้ใช้เองได้ เช่น การผลิตลูกประคบสมุนไพร การผลิตน้ำมันหม่องสำหรับถูนวด การผลิตลูกประคบสมุนไพรแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ฯลฯ ประกอบกับปัจจุบันยาบางอย่างใน รพ.สต. ไม่มีให้ประชาชนได้เบิกใช้ ชาวบ้านจึงสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ และหาสมุนไพรในการผลิตได้ง่าย เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริม ป้องกันสุขภาพได้อย่างดี และยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024