วันนี้ (11 ตุลาคม 2565) เวลา 07.00 น. ที่บริเวณเชิงบันไดเขาตังกวน เทศบาลนครสงขลา กำหนดจัดพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ประจำปี 2565 โดยมี นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นางฉลวย พงศ์สุวรรณ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายนิวัฒน์ สุขศิริ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครสงขลา นายสวาท ไชยอ่อนแก้ว ประธานสภาเทศบาลนครสงขลา นายวิศิษฐ์ ประยูรสวัสดิ์เดช รองปลัดเทศบาล นางสาวเยาวลักษณ์ กิมาคม รองปลัดเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล คณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาล และประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา รวมถึงนักท่องเที่ยวร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เทโวเป็นจำนวนมาก โดยปลัดเทศบาลนครสงขลาได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเขาตังกวนลงมาประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่บูชา จากนั้นพระครูวิรัตธรรมโชติ ดร. เจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา ประธานฝ่ายสงฆ์ได้กล่าวสัมโมทนียกถาและพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จำนวน 188 รูป ออกรับบิณฑบาตจากประชาชน ตามพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อไปเทศนาโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษย์โลกทางบันไดทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย ประกอบด้วย บันไดแก้ว บันไดทอง และบันไดเงิน ซึ่งบันไดทั้งสามทอดลงมายังประตูนครสังกัสสะ เมื่อเสด็จถึงประตูเมืองเป็นเวลาเช้าตรู่ ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวต่างมาคอยต้อนรับเสด็จอย่างเนืองแน่น เพื่อจะคอยตักบาตร ถวายภัตตาหาร ดอกไม้ธูปเทียน ซึ่งเป็นที่มาของประเพณี “ตักบาตรเทโว” แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จ มีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่จะต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวาย ส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ ใช้วิธีโยนไปบ้าง ปาบ้าง โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐาน และอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น จึงเกิดประเพณีทำขนมชนิดหนึ่งที่ห่อด้วยใบไม้ เรียก “ขนมต้ม” หรือ ห่อต้ม, ห่อปัดขึ้น ดังนั้น ขนมต้มจึงเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเทศกาล ดังมีคำกล่าวว่า “เข้าษากินตอก ออกษากินต้ม” จึงเป็นที่มาของขนมประจำเทศกาลเข้าพรรษา คือ ข้าวตอก และขนมออกพรรษา คือ ขนมต้ม ที่ถือประชาชนปฏิบัติมาแต่โบราณ ประเพณีตักบาตรเทโว จึงนับว่าเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีคุณค่า เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างชาวบ้านกับวัดอีกด้วย.
#งานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว2565
เยาวเรศ มณีพันธุ์ // ข่าว กรชนก บุญสม / นิธินันท์ บริสุทธิ์ // ภาพ งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.songkhlacity.go.th และ https://www.facebook.com/SongkhlaMunicipality
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ทน.สงขลา จัดพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ประจำปี 2565 ร่วมสืบสานประเพณีทางพุทธศาสนา โดยมีประชาชนชาวสงขลา ร่วมตักบาตรเทโวจากพระสงฆ์ที่ลงจากบันไดเขาตังกวนอย่างเนืองแน่น
วันนี้ (11 ตุลาคม 2565) เวลา 07.00 น. ที่บริเวณเชิงบันไดเขาตังกวน เทศบาลนครสงขลา กำหนดจัดพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ประจำปี 2565 โดยมี นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นางฉลวย พงศ์สุวรรณ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายนิวัฒน์ สุขศิริ ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครสงขลา นายสวาท ไชยอ่อนแก้ว ประธานสภาเทศบาลนครสงขลา นายวิศิษฐ์ ประยูรสวัสดิ์เดช รองปลัดเทศบาล นางสาวเยาวลักษณ์ กิมาคม รองปลัดเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล คณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาล และประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา รวมถึงนักท่องเที่ยวร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เทโวเป็นจำนวนมาก โดยปลัดเทศบาลนครสงขลาได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเขาตังกวนลงมาประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่บูชา จากนั้นพระครูวิรัตธรรมโชติ ดร. เจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา ประธานฝ่ายสงฆ์ได้กล่าวสัมโมทนียกถาและพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จำนวน 188 รูป ออกรับบิณฑบาตจากประชาชน
ตามพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อไปเทศนาโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษย์โลกทางบันไดทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย ประกอบด้วย บันไดแก้ว บันไดทอง และบันไดเงิน ซึ่งบันไดทั้งสามทอดลงมายังประตูนครสังกัสสะ เมื่อเสด็จถึงประตูเมืองเป็นเวลาเช้าตรู่ ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวต่างมาคอยต้อนรับเสด็จอย่างเนืองแน่น เพื่อจะคอยตักบาตร ถวายภัตตาหาร ดอกไม้ธูปเทียน ซึ่งเป็นที่มาของประเพณี “ตักบาตรเทโว” แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จ มีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่จะต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวาย ส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ ใช้วิธีโยนไปบ้าง ปาบ้าง โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐาน และอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น จึงเกิดประเพณีทำขนมชนิดหนึ่งที่ห่อด้วยใบไม้ เรียก “ขนมต้ม” หรือ ห่อต้ม, ห่อปัดขึ้น ดังนั้น ขนมต้มจึงเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเทศกาล ดังมีคำกล่าวว่า “เข้าษากินตอก ออกษากินต้ม” จึงเป็นที่มาของขนมประจำเทศกาลเข้าพรรษา คือ ข้าวตอก และขนมออกพรรษา คือ ขนมต้ม ที่ถือประชาชนปฏิบัติมาแต่โบราณ
ประเพณีตักบาตรเทโว จึงนับว่าเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีคุณค่า เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างชาวบ้านกับวัดอีกด้วย.
#งานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว2565
เยาวเรศ มณีพันธุ์ // ข่าว
กรชนก บุญสม / นิธินันท์ บริสุทธิ์ // ภาพ
งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.songkhlacity.go.th และ
https://www.facebook.com/SongkhlaMunicipality
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024