คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา จัดงานแถลงผลสัมฤทธิ์โครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพระราโชบาย โชว์ความสำเร็จจากการทำงานในพื้นที่ 7 ชุมชนต้นแบบ จ.สงขลา พัทลุง สตูล พร้อมจับมือ 7 ภาคีเครือข่ายลงนามความร่วมมือเดินหน้าพัฒนาท้องถิ่นต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่าย กิจกรรมที่ 5: จัดงานการประมวลผลสัมฤทธิ์โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพระราโชบาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” ณ ศูนย์การค้าเซนทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา สงขลา โดยมี ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด ภายใต้ความความร่วมมือจากคณะทำงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในการผนึกกำลังสร้างพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง แสดงศักยภาพของนักวิชาการที่สอดรับกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
ดร.นราวดี กล่าวว่า การนำเอาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทและสภาพปัญหาในเชิงลึกที่แท้จริงนั้น นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการรวมตัวของประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงภาคีเครือข่ายพัฒนา ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา เป็นพลังสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินการของภาครัฐในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า
โครงการนี้ถือได้ว่าได้ส่งเสริมพันธกิจของมหาวิทยาลัยทั้งด้านวิชาการและบริการวิชาการ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างฐานความเข้มแข็งของชุนชนอันจะสนับสนุนการพัฒนาประเทศชาติให้มั่นคง ยั่งยืนสืบไป ขอขอบคุณตัวแทนผู้นำชุมชนที่มากด้วยประสบการณ์ทั้ง7 ท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการสร้างชุมชนเข้มแข็งตามโครงการพระราโชบายได้อย่างเข้าใจบริบทของตนเอง ตลอดจนคณาจารย์ทั้ง 7 คณะ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ร่วมกันจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่กิจกรรมประมวลผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานโครงการฯ ในครั้งนี้
ด้าน ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาล คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า การดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายฯ ได้ดำเนินการทั้งสิ้น 4 กิจกรรม โดยทั้ง 4 กิจกรรมทำให้เกิดการรวบรวมฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายเกิดการสร้างองค์ความรู้และทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่าย เกิดแผนการทำงานของชุมชนโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบทั้ง 7 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนต้นแบบเกาะแต้ว ชุมชนต้นแบบทุ่งลาน ชุมชนต้นแบบท่าหิน ชุมชนต้นแบบตะโหมด ชุมชนต้นแบบโคกม่วง ชุมชนต้นแบบเขาขาว และ ชุมชนต้นแบบทุ่งนุ้ย และได้ต้นแบบพื้นที่ที่มีการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย “เขาขาวโมเดล”
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานกิจกรรมที่ 5 จัดงานการประมวลผลสัมฤทธิ์ มีความมุ่งหวังให้เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมของแต่ละชุมชนต้นแบบ เพื่อให้เป็นเวทีในการแสดงศักยภาพ แสดงผลงาน และเป็นการแถลงความสำเร็จของแต่ละพื้นที่จากการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 7 ชุมชนต้นแบบ ใน จ.สงขลา พัทลุง และ สตูล และสามารถขยายขอบเขตความร่วมมือในรูปแบบภาคีเครือข่ายออกไปในพื้นที่อื่นๆ และจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตได้
ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าของดีประจำชุมชน การแสดงพิธีเปิดถ่ายทอดอัตลักษณ์ชุมชนโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา การเดินแบบแฟชั่นโชว์ผ้าพื้นถิ่น การประกวดและนำเสนอผลการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบายฯ ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุมชนต้นแบบท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา ภายใต้การทำงานร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิธีลงนามข้อตกลง (MOU) ภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบาย โดยมีภาคประชาชน 7 ชุมชนต้นแบบทั้ง 7 พื้นที่ในความดูแลของ 7 คณะ เข้าร่วมงาน
งานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้นำชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกระบวนการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่ายกับการพัฒนาท้องถิ่น และการน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้การพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 7 ท่าน ได้แก่ 1. นายรอเซ็ง ไหรเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จ.สงขลา 2. นายประสิทธิ์ แก้วมรกต นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 3. นายทวี มากชูชิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา 4. นายชินโชติ ไชยลึก นายกเทศมนตรีตำบลตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง 5. นายเจริญศักดิ์ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 6. นายวรวุฒิ ปาละสัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว อ.ละงู จ.สตูล และ 7. นายอารีย์ ยูฮันนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา แถลงผลสัมฤทธิ์โครงการพระราโชบายฯ ผนึกภาคีเครือข่าย 7 ชุมชนต้นแบบ สงขลา พัทลุง สตูล ลงนามร่วมพัฒนาท้องถิ่น
คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา จัดงานแถลงผลสัมฤทธิ์โครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพระราโชบาย โชว์ความสำเร็จจากการทำงานในพื้นที่ 7 ชุมชนต้นแบบ จ.สงขลา พัทลุง สตูล พร้อมจับมือ 7 ภาคีเครือข่ายลงนามความร่วมมือเดินหน้าพัฒนาท้องถิ่นต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่าย กิจกรรมที่ 5: จัดงานการประมวลผลสัมฤทธิ์โครงการ “การพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามโครงการพระราโชบาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา” ณ ศูนย์การค้าเซนทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา สงขลา โดยมี ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด ภายใต้ความความร่วมมือจากคณะทำงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในการผนึกกำลังสร้างพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง แสดงศักยภาพของนักวิชาการที่สอดรับกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
ดร.นราวดี กล่าวว่า การนำเอาศักยภาพของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานองค์ความรู้และความเข้าใจในบริบทและสภาพปัญหาในเชิงลึกที่แท้จริงนั้น นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการรวมตัวของประชากรทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงภาคีเครือข่ายพัฒนา ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา เป็นพลังสำคัญในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินการของภาครัฐในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า
โครงการนี้ถือได้ว่าได้ส่งเสริมพันธกิจของมหาวิทยาลัยทั้งด้านวิชาการและบริการวิชาการ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างฐานความเข้มแข็งของชุนชนอันจะสนับสนุนการพัฒนาประเทศชาติให้มั่นคง ยั่งยืนสืบไป ขอขอบคุณตัวแทนผู้นำชุมชนที่มากด้วยประสบการณ์ทั้ง7 ท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการสร้างชุมชนเข้มแข็งตามโครงการพระราโชบายได้อย่างเข้าใจบริบทของตนเอง ตลอดจนคณาจารย์ทั้ง 7 คณะ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ร่วมกันจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่กิจกรรมประมวลผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานโครงการฯ ในครั้งนี้
ด้าน ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาล คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า การดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพกระบวนการทำงานในรูปภาคีเครือข่ายฯ ได้ดำเนินการทั้งสิ้น 4 กิจกรรม โดยทั้ง 4 กิจกรรมทำให้เกิดการรวบรวมฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายเกิดการสร้างองค์ความรู้และทำเนียบคลังสมองภาคีเครือข่าย เกิดแผนการทำงานของชุมชนโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบทั้ง 7 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนต้นแบบเกาะแต้ว ชุมชนต้นแบบทุ่งลาน ชุมชนต้นแบบท่าหิน ชุมชนต้นแบบตะโหมด ชุมชนต้นแบบโคกม่วง ชุมชนต้นแบบเขาขาว และ ชุมชนต้นแบบทุ่งนุ้ย และได้ต้นแบบพื้นที่ที่มีการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย “เขาขาวโมเดล”
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานกิจกรรมที่ 5 จัดงานการประมวลผลสัมฤทธิ์ มีความมุ่งหวังให้เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมของแต่ละชุมชนต้นแบบ เพื่อให้เป็นเวทีในการแสดงศักยภาพ แสดงผลงาน และเป็นการแถลงความสำเร็จของแต่ละพื้นที่จากการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 7 ชุมชนต้นแบบ ใน จ.สงขลา พัทลุง และ สตูล และสามารถขยายขอบเขตความร่วมมือในรูปแบบภาคีเครือข่ายออกไปในพื้นที่อื่นๆ และจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตได้
ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าของดีประจำชุมชน การแสดงพิธีเปิดถ่ายทอดอัตลักษณ์ชุมชนโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา การเดินแบบแฟชั่นโชว์ผ้าพื้นถิ่น การประกวดและนำเสนอผลการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบายฯ ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุมชนต้นแบบท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา ภายใต้การทำงานร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิธีลงนามข้อตกลง (MOU) ภาคีเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นตามโครงการพระราโชบาย โดยมีภาคประชาชน 7 ชุมชนต้นแบบทั้ง 7 พื้นที่ในความดูแลของ 7 คณะ เข้าร่วมงาน
งานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้นำชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกระบวนการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่ายกับการพัฒนาท้องถิ่น และการน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้การพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 7 ท่าน ได้แก่ 1. นายรอเซ็ง ไหรเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จ.สงขลา 2. นายประสิทธิ์ แก้วมรกต นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 3. นายทวี มากชูชิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา 4. นายชินโชติ ไชยลึก นายกเทศมนตรีตำบลตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง 5. นายเจริญศักดิ์ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 6. นายวรวุฒิ ปาละสัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว อ.ละงู จ.สตูล และ 7. นายอารีย์ ยูฮันนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024