คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ทำกิจกรรมปักดำ แปลงนาสาธิต สืบสานวัฒนธรรมข้าวตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 4) พร้อมเป็นแหล่งเก็บรวบรวมและขยายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง พันธุ์พืชเฉพาะถิ่น เปิดให้นักศึกษาใช้เรียนรู้ในการเรียนการสอน
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 (วันรักต้นไม้แห่งชาติ และเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ เหล่าคณาจารย์ของทางคณะฯ นำทีมโดย ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงค์ อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมข้าวตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 4) กิจกรรมปักดำ ทำแปลงนาสาธิต ณ สถานีปฏิบัติการพืชไร่ โดยได้รับความอนุเคราะห์ต้นกล้าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา มาโดยตลอด
ทั้งนี้ ผศ.ดร.ภัทรพร ยังได้สาธิตวิธีการลงปักกล้าข้าว ดำนา และให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่แตกต่างกัน โดยสามารถสังเกตง่าย ๆ ได้จากสีของโคนต้นกล้า หรือลักษณะของการออกรวงและเมล็ดที่มีลักษณะต่างกันนั่นเอง ซึ่งกิจกรรมปักดำนาที่จัดขึ้นนี้สอดคล้องกับพันธกิจของ มรภ.สงขลา และทางคณะฯ ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง การขยายพันธุ์พืชเฉพาะถิ่น และพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ พันธุ์ช่อขิง พันธุ์ขาว และพันธุ์เล็บนก และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาในการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดแปลงดำนาเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“เกษตร” มรภ.สงขลา สืบสานวัฒนธรรมข้าว ปีที่ 4 ปักดำ ทำแปลงนาสาธิต ตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวง ร.10
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ทำกิจกรรมปักดำ แปลงนาสาธิต สืบสานวัฒนธรรมข้าวตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 4) พร้อมเป็นแหล่งเก็บรวบรวมและขยายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง พันธุ์พืชเฉพาะถิ่น เปิดให้นักศึกษาใช้เรียนรู้ในการเรียนการสอน
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 (วันรักต้นไม้แห่งชาติ และเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ เหล่าคณาจารย์ของทางคณะฯ นำทีมโดย ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงค์ อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมข้าวตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 4) กิจกรรมปักดำ ทำแปลงนาสาธิต ณ สถานีปฏิบัติการพืชไร่ โดยได้รับความอนุเคราะห์ต้นกล้าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา มาโดยตลอด
ทั้งนี้ ผศ.ดร.ภัทรพร ยังได้สาธิตวิธีการลงปักกล้าข้าว ดำนา และให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่แตกต่างกัน โดยสามารถสังเกตง่าย ๆ ได้จากสีของโคนต้นกล้า หรือลักษณะของการออกรวงและเมล็ดที่มีลักษณะต่างกันนั่นเอง ซึ่งกิจกรรมปักดำนาที่จัดขึ้นนี้สอดคล้องกับพันธกิจของ มรภ.สงขลา และทางคณะฯ ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง การขยายพันธุ์พืชเฉพาะถิ่น และพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ พันธุ์ช่อขิง พันธุ์ขาว และพันธุ์เล็บนก และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาในการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดแปลงดำนาเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024