“ผศ.ไพศาล คงเรือง” อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา พัฒนาชุดฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยรังสียูวี-ซี ต้นทุนต่ำ ราคาถูกกว่าท้องตลาด 10 เท่า ใช้ฆ่าเชื้อโรค ส่งมอบให้โรงพยาบาลหาดใหญ่ ใช้ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์
ดร.กันตภณ มะหาหมัด คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล คงเรือง อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ได้พัฒนาชุดชุดฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสียูวี – ซี ต้นทุนต่ำ และมอบให้กับหอผู้ป่วยรวม (COHORT WARD 120) โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำหรับใช้ฆ่าเชื้อโรคในห้อง Ante Room ซึ่งเป็นห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ และเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในห้องพักผู้ป่วย (Isolate Room) โดยชุดฆ่าเชื้อโรคดังกล่าวใช้หลอดยูวี-ซี ขนาด 36 วัตต์จำนวน 2 หลอด พร้อมระบบควบคุมสำหรับตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง ซึ่งรังสียูวีซีเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร มีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation สามารถทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น
ดร.กันตภณ กล่าวว่า เครื่องที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล คงเรือง สร้างขึ้นนี้ มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเครื่องที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป มากกว่า 10 เท่า สามารถนำไปใช้งานทดแทนเครื่องที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งมีราคาสูงและยังมีจำนวนไม่เพียงพอ จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความปลอดภัยรวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา มีแนวทางและนโยบายในการมุ่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาของทางคณะฯ นำองค์ความรู้ทางวิชาการมาใช้ช่วยเหลือชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ โดยนำความรู้มาสร้างเป็นนวัตกรรม นำไปสู่การใช้ประโยชน์ ทั้งในด้านการวิจัยและบริการวิชาการให้เกิดเป็นรูปธรรม.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“ผศ.ไพศาล คงเรือง” อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา พัฒนาชุดฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยรังสียูวี-ซี ต้นทุนต่ำ มอบโรงพยาบาลใช้ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์
“ผศ.ไพศาล คงเรือง” อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา พัฒนาชุดฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยรังสียูวี-ซี ต้นทุนต่ำ ราคาถูกกว่าท้องตลาด 10 เท่า ใช้ฆ่าเชื้อโรค ส่งมอบให้โรงพยาบาลหาดใหญ่ ใช้ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์
ดร.กันตภณ มะหาหมัด คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล คงเรือง อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ได้พัฒนาชุดชุดฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสียูวี – ซี ต้นทุนต่ำ และมอบให้กับหอผู้ป่วยรวม (COHORT WARD 120) โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำหรับใช้ฆ่าเชื้อโรคในห้อง Ante Room ซึ่งเป็นห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ และเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในห้องพักผู้ป่วย (Isolate Room) โดยชุดฆ่าเชื้อโรคดังกล่าวใช้หลอดยูวี-ซี ขนาด 36 วัตต์จำนวน 2 หลอด พร้อมระบบควบคุมสำหรับตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง ซึ่งรังสียูวีซีเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร มีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation สามารถทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น
ดร.กันตภณ กล่าวว่า เครื่องที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล คงเรือง สร้างขึ้นนี้ มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเครื่องที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป มากกว่า 10 เท่า สามารถนำไปใช้งานทดแทนเครื่องที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งมีราคาสูงและยังมีจำนวนไม่เพียงพอ จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความปลอดภัยรวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา มีแนวทางและนโยบายในการมุ่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาของทางคณะฯ นำองค์ความรู้ทางวิชาการมาใช้ช่วยเหลือชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ โดยนำความรู้มาสร้างเป็นนวัตกรรม นำไปสู่การใช้ประโยชน์ ทั้งในด้านการวิจัยและบริการวิชาการให้เกิดเป็นรูปธรรม.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024