วันนี้(26 มิ.ย. 64) นายชยั วฒุ ิธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี เอส) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ลงพื้นเพื่อตรวจเยี่ยมความพร้อมแผนการเปิดประเทศ ไทยสำหรับนักท่องเที่ยวโดยไม่มีการกักตัว(Phuket Sandbox) และการเยี่ยมชมโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต (Phuket Smart City) และตรวจราชการ ณ ท่าเทียบเรือวิสิษฐ์พันวา จังหวัดภูเก็ต ในโอกาสเข้าร่วมประชุมอย่างเป็น ทางการนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2564 ที่จังหวัดภูเก็ต โครงการท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ท่าเทียบเรือวิสิษฐ์พันวา เป็นโครงการที่ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ ดำเนินการนำเสนอพัฒนาจัดการท่าเรือ ณ ท่าเทียบเรือวิสิษฐ์พันวา ตำบลวิชิต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้าง มาตรฐานความปลอดภัยการท่องเที่ยวทางทะเล ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว (Tourism Safety Support And Management System) โดยสามารถทราบข้อมูลและจำนวนผู้โดยสารในเรือแต่ละลำ เก็บ ภาพ VDO ของผู้โดยสารเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวพร้อมการคัดกรองและ ติดตามโรคระบาด ทั้งนี้โครงการท่าเรืออัจฉริยะดังกล่าวประกอบไปด้วย 1. ระบบการลงทะเบียนนักท่องเที่ยวเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเล ประกอบด้วย การซื้อตั๋วหรือทัวร์ผ่าน เอเย่นต์ ทำการลงทะเบียนด้วยบัตรประจำตัว เช่นพาสปอร์ต บัตรประชาชนบันทึกภาพบัตรประจำตัวเพื่อใช้อ้างอิง และนำ booking voucher มาที่ท่าเทียบเรือเพื่อผูกกับ wristband ประจำตัวเพื่อใช้เข้าออกเกท ข้อมูลเก็บขึ้น Cloud NT 2. ระบบ การใช้ Wristband (RFID) หรือ Smart Watch แทนบัตรผ่านทาง เพื่อเข้าออกท่าและขึ้นลงเรือ และ สามารถใช้เป็น กระเป๋าเงินอีเลคทรอนิคส์ได้ในอนาคตเมื่อนักท่องเที่ยวลงทะเบียนแล้ว ทำการแจกริสแบนด์เพื่อใช้ แทนบัตรประจำตัวใช้ประโยชน์ในการผ่านเข้าออกท่าเรือ ตรวจสอบอุณหภูมิผิดปกติ การส่วมใส่หน้ากากใช้บันทึก การขึ้นลงเรือก่อนการเดินทางสามารถตรวจสอบทะเบียนการเดินทางของนักท่องเที่ยวทุกคนได้ 3. ระบบ CCTV บันทึกข้อมูล นทท. ที่เดินทางผ่านเข้าออกท่าเรือ จับภาพมุมกว้างนักท่องเที่ยวที่เดินทางในท่าเรือ เพื่อดูภาพรวมและบันทึกข้อมูลอ้างอิงและวิเคราะห์ 4. ระบบการติดตามเรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางทางทะเล และอุปกรณ์รับส่งสัญญาณนักท่องเที่ยวขอความ ช่วยเหลือฉุกเฉิน Safety (SOS) 5. ระบบศูนย์ควบคุมและสั่งการ Control and Command Center สามารถรู้ตำแหน่งและการ แจ้งเตือนเหตุการณ์ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือได้ทันท่วงทีระบบจอภาพแสดงผล ณ ศูนย์ปฏิบัติ(Network Operation Center NT) ทำหน้าที่ประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อตรวจสอบการออกเรือท่องเที่ยวในแต่วัน ประสานศูนย์ช่วยเหลือในพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และล่ามภาษาต่างๆ ตามจุดประชาสัมพันธ์ ของโรงพยาบาลสำคัญ เพื่อช่วยเหลือและประสานงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ทันท่วงที.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี เอส)ลงพื้นเพื่อตรวจเยี่ยมความพร้อมแผนการเปิดประเทศ ไทยสำหรับนักท่องเที่ยวโดยไม่มีการกักตัว(Phuket Sandbox)
วันนี้(26 มิ.ย. 64) นายชยั วฒุ ิธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี
เอส) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ลงพื้นเพื่อตรวจเยี่ยมความพร้อมแผนการเปิดประเทศ
ไทยสำหรับนักท่องเที่ยวโดยไม่มีการกักตัว(Phuket Sandbox) และการเยี่ยมชมโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต
(Phuket Smart City) และตรวจราชการ ณ ท่าเทียบเรือวิสิษฐ์พันวา จังหวัดภูเก็ต ในโอกาสเข้าร่วมประชุมอย่างเป็น
ทางการนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2564 ที่จังหวัดภูเก็ต
โครงการท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ท่าเทียบเรือวิสิษฐ์พันวา เป็นโครงการที่ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้
ดำเนินการนำเสนอพัฒนาจัดการท่าเรือ ณ ท่าเทียบเรือวิสิษฐ์พันวา ตำบลวิชิต อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้าง
มาตรฐานความปลอดภัยการท่องเที่ยวทางทะเล ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว (Tourism
Safety Support And Management System) โดยสามารถทราบข้อมูลและจำนวนผู้โดยสารในเรือแต่ละลำ เก็บ
ภาพ VDO ของผู้โดยสารเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวพร้อมการคัดกรองและ
ติดตามโรคระบาด ทั้งนี้โครงการท่าเรืออัจฉริยะดังกล่าวประกอบไปด้วย
1. ระบบการลงทะเบียนนักท่องเที่ยวเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเล ประกอบด้วย การซื้อตั๋วหรือทัวร์ผ่าน
เอเย่นต์ ทำการลงทะเบียนด้วยบัตรประจำตัว เช่นพาสปอร์ต บัตรประชาชนบันทึกภาพบัตรประจำตัวเพื่อใช้อ้างอิง
และนำ booking voucher มาที่ท่าเทียบเรือเพื่อผูกกับ wristband ประจำตัวเพื่อใช้เข้าออกเกท ข้อมูลเก็บขึ้น
Cloud NT
2. ระบบ การใช้ Wristband (RFID) หรือ Smart Watch แทนบัตรผ่านทาง เพื่อเข้าออกท่าและขึ้นลงเรือ และ
สามารถใช้เป็น กระเป๋าเงินอีเลคทรอนิคส์ได้ในอนาคตเมื่อนักท่องเที่ยวลงทะเบียนแล้ว ทำการแจกริสแบนด์เพื่อใช้
แทนบัตรประจำตัวใช้ประโยชน์ในการผ่านเข้าออกท่าเรือ ตรวจสอบอุณหภูมิผิดปกติ การส่วมใส่หน้ากากใช้บันทึก
การขึ้นลงเรือก่อนการเดินทางสามารถตรวจสอบทะเบียนการเดินทางของนักท่องเที่ยวทุกคนได้
3. ระบบ CCTV บันทึกข้อมูล นทท. ที่เดินทางผ่านเข้าออกท่าเรือ จับภาพมุมกว้างนักท่องเที่ยวที่เดินทางในท่าเรือ
เพื่อดูภาพรวมและบันทึกข้อมูลอ้างอิงและวิเคราะห์
4. ระบบการติดตามเรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางทางทะเล และอุปกรณ์รับส่งสัญญาณนักท่องเที่ยวขอความ
ช่วยเหลือฉุกเฉิน Safety (SOS)
5. ระบบศูนย์ควบคุมและสั่งการ Control and Command Center สามารถรู้ตำแหน่งและการ
แจ้งเตือนเหตุการณ์ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือได้ทันท่วงทีระบบจอภาพแสดงผล ณ ศูนย์ปฏิบัติ(Network
Operation Center NT) ทำหน้าที่ประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อตรวจสอบการออกเรือท่องเที่ยวในแต่วัน
ประสานศูนย์ช่วยเหลือในพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และล่ามภาษาต่างๆ ตามจุดประชาสัมพันธ์
ของโรงพยาบาลสำคัญ เพื่อช่วยเหลือและประสานงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ทันท่วงที.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024