วันนี้ (6 เมษายน 2564) ที่หอประชุมจังหวัดสงขลา นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานวางพานพุ่มดอกไม้สักการะหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ร่วมงานรัฐพิธีครั้งนี้ สำหรับงานรัฐพิธีจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ที่ทรงปกครองบ้านเมืองให้ประชาชนได้อยู่ดีมีสุขตลอดมา และได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีปกครองปวงชนชาวไทยให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ของพระบรมราชจักรีได้ทรงเจริญรอยตามพระยุคลบาทสืบต่อกันมาตลอดโดยลำดับ ดังนั้นในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ประชาชนทั้งหลายต่างมีความปรีดาปราโมทย์ที่สามารถตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระสถาพร สืบมาจนถึงปัจจุบัน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ หรือ วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครอง ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ.2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ ต่อมาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มีการย้ายสถานที่ในการประดิษฐานหลายครั้ง เช่น พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ย้ายพระบรมรูปมาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามพร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถ จนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายน ว่า “วันจักรี”.
เยาวเรศ มณีพันธุ์ // ข่าว นิธินันท์ บริสุทธิ์ // ภาพ งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.songkhlacity.go.th และ https://www.facebook.com/SongkhlaMunicipality
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
จังหวัดสงขลา จัดงานรัฐพิธีเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปกครองบ้านเมืองให้ประชาชนได้อยู่ดีมีสุขตลอดมา
วันนี้ (6 เมษายน 2564) ที่หอประชุมจังหวัดสงขลา นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานวางพานพุ่มดอกไม้สักการะหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ร่วมงานรัฐพิธีครั้งนี้ สำหรับงานรัฐพิธีจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ที่ทรงปกครองบ้านเมืองให้ประชาชนได้อยู่ดีมีสุขตลอดมา และได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีปกครองปวงชนชาวไทยให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ของพระบรมราชจักรีได้ทรงเจริญรอยตามพระยุคลบาทสืบต่อกันมาตลอดโดยลำดับ ดังนั้นในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ประชาชนทั้งหลายต่างมีความปรีดาปราโมทย์ที่สามารถตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระสถาพร สืบมาจนถึงปัจจุบัน
วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ หรือ วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครอง ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ.2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ ต่อมาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มีการย้ายสถานที่ในการประดิษฐานหลายครั้ง เช่น พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ย้ายพระบรมรูปมาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามพร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถ จนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายน ว่า “วันจักรี”.
เยาวเรศ มณีพันธุ์ // ข่าว
นิธินันท์ บริสุทธิ์ // ภาพ
งานประชาสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.songkhlacity.go.th และ https://www.facebook.com/SongkhlaMunicipality
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024