อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ส่งเสริมการดำเนินการตามพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้เกษตรกร อ.บางกล่ำ เรียนรู้แนวทางวางแผนธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน
ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนและอาจารย์ปริยากร สุจิตพันธ์ ได้รับเชิญจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดย นายมานิต แก้วพิบูลย์ เกษตรอำเภอบางกล่ำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง แนวทางการเชื่อมโยงเครือข่ายตัวแทนศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตัวแทนโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) แปลงใหญ่ และการวางแผนธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) กิจกรรมจัดเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายตัวแทน ศดปช. ศพก. และแปลงใหญ่ ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
“เกษตรกรให้ความสนใจโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดและปุ๋ยชีวภาพของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา รวมทั้งสนใจเรื่องการผลิตและแปรรูปอาหาร ทั้งด้านการผลิตพืช การผลิตสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยคณาจารย์ได้แนะนำในเรื่องดังกล่าวควบคู่ไปกับการทำการเกษตรผสมผสาน เช่น การปลูกกาแฟร่วมกับยางพารา เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับแปลงปลูกของตนเองในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันได้” ดร.ศุภัครชา กล่าว
ด้าน อาจารย์ปริยากร สุจิตพันธ์ กล่าวว่า ในการร่วมโครงการครั้งนี้ เกษตรกรตัวแทน ศดปช. ตำบลท่าช้าง และเกษตรกรในชุมชนที่เข้าร่วม ให้ความสนใจและซักถามในเรื่องการเขียนแผนธุรกิจและการจัดการวางแผนธุรกิจ เพื่อให้กิจการการผลิตปุ๋ยของชุมชนสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยของชุมชนมีเครื่องผสมปุ๋ยและจัดทำปุ๋ยตามการสั่งผลิตอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในส่วนของการจัดทำแผนธุรกิจ และขั้นตอนต่างๆ ซึ่งตนและอาจารย์ปริยากรได้แนะนำกลยุทธ์ในการเขียนแผนธุรกิจให้ตรงเป้าประสงค์ในการยื่นเสนอขอทุนสนับสนุน ที่สำคัญ การวิเคราะห์วางแผนธุรกิจนั้นตัวเกษตรกรเองต้องเชื่อมั่นและนำปุ๋ยที่ผลิตไปใช้จริง เพื่อเป็นการยืนยันถึงคุณภาพสินค้าของชุมชนเองด้วยอีกทางหนึ่ง
อาจารย์ปริยากร กล่าวอีกว่า การวางแผนธุรกิจให้ได้ผลนั้นจะต้องมีกลุ่มและมีความร่วมมือกัน ดึงความสามารถและความถนัดของแต่ละคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกขั้นตอนของการจัดทำแผนธุรกิจ เช่น ความถนัดในเรื่องการเงิน การลงทุน การคิดต้นทุน ผลกำไร การตลาด การผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ ได้ชี้ช่องทางการจัดจำหน่าย การคิดต้นทุน ทั้งต้นทุนสิ่งของ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายอื่น ในการทำปุ๋ยและการใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกรให้ความสนใจและสอบถามในเรื่องดังกล่าว พร้อมสอบถามข้อมูลเพื่อให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายในการจัดทำแผนธุรกิจและพัฒนาธุรกิจของชุมชน.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
อาจารย์คณะเกษตร มรภ.สงขลา ส่งเสริมการดำเนินงานตามพระราชดำริ ให้ความรู้ชาว อ.บางกล่ำ วางแผนธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน
อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ส่งเสริมการดำเนินการตามพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้เกษตรกร อ.บางกล่ำ เรียนรู้แนวทางวางแผนธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน
ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนและอาจารย์ปริยากร สุจิตพันธ์ ได้รับเชิญจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดย นายมานิต แก้วพิบูลย์ เกษตรอำเภอบางกล่ำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง แนวทางการเชื่อมโยงเครือข่ายตัวแทนศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ตัวแทนโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) แปลงใหญ่ และการวางแผนธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) กิจกรรมจัดเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายตัวแทน ศดปช. ศพก. และแปลงใหญ่ ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
“เกษตรกรให้ความสนใจโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดและปุ๋ยชีวภาพของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา รวมทั้งสนใจเรื่องการผลิตและแปรรูปอาหาร ทั้งด้านการผลิตพืช การผลิตสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยคณาจารย์ได้แนะนำในเรื่องดังกล่าวควบคู่ไปกับการทำการเกษตรผสมผสาน เช่น การปลูกกาแฟร่วมกับยางพารา เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับแปลงปลูกของตนเองในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันได้” ดร.ศุภัครชา กล่าว
ด้าน อาจารย์ปริยากร สุจิตพันธ์ กล่าวว่า ในการร่วมโครงการครั้งนี้ เกษตรกรตัวแทน ศดปช. ตำบลท่าช้าง และเกษตรกรในชุมชนที่เข้าร่วม ให้ความสนใจและซักถามในเรื่องการเขียนแผนธุรกิจและการจัดการวางแผนธุรกิจ เพื่อให้กิจการการผลิตปุ๋ยของชุมชนสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยของชุมชนมีเครื่องผสมปุ๋ยและจัดทำปุ๋ยตามการสั่งผลิตอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในส่วนของการจัดทำแผนธุรกิจ และขั้นตอนต่างๆ ซึ่งตนและอาจารย์ปริยากรได้แนะนำกลยุทธ์ในการเขียนแผนธุรกิจให้ตรงเป้าประสงค์ในการยื่นเสนอขอทุนสนับสนุน ที่สำคัญ การวิเคราะห์วางแผนธุรกิจนั้นตัวเกษตรกรเองต้องเชื่อมั่นและนำปุ๋ยที่ผลิตไปใช้จริง เพื่อเป็นการยืนยันถึงคุณภาพสินค้าของชุมชนเองด้วยอีกทางหนึ่ง
อาจารย์ปริยากร กล่าวอีกว่า การวางแผนธุรกิจให้ได้ผลนั้นจะต้องมีกลุ่มและมีความร่วมมือกัน ดึงความสามารถและความถนัดของแต่ละคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกขั้นตอนของการจัดทำแผนธุรกิจ เช่น ความถนัดในเรื่องการเงิน การลงทุน การคิดต้นทุน ผลกำไร การตลาด การผลิต เป็นต้น ทั้งนี้ ได้ชี้ช่องทางการจัดจำหน่าย การคิดต้นทุน ทั้งต้นทุนสิ่งของ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายอื่น ในการทำปุ๋ยและการใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกรให้ความสนใจและสอบถามในเรื่องดังกล่าว พร้อมสอบถามข้อมูลเพื่อให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายในการจัดทำแผนธุรกิจและพัฒนาธุรกิจของชุมชน.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024